top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ปวดท้องบ่อย ท้องเสียประจำ อาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นลำไส้อักเสบ






ลำไส้มีความสำคัญไม่แพ้สมอง หัวใจ หรือปอดเลยค่ะ เรียกได้ว่าหากอยากมีสุขภาพที่ดี ทุกอวัยวะในร่างกายก็ต้องดีและสมดุลไปพร้อมกันด้วย ส่วนของลำไส้อาจมองดูไม่น่าจะช่วยเสริมให้สุขภาพเราแข็งแรงหรือเกิดอาการป่วยหนักได้ขนาดนั้น แต่แท้จริงแล้ว ลำไส้ เรียกได้ว่า เป็นสมองลำดับที่ 2 ในร่างกายเลยล่ะค่ะ



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนคุณทำความเข้าใจกับลำไส้ในร่างกาย และโรคลำไส้อักเสบ ที่ทุกคนสามารถเป็นได้ทุกเมื่อ และอาจร้ายแรงถึงขั้นมะเร็ง ถ้าหากปล่อยไว้ไม่ดูแล

ลำไส้สำคัญยังไง?


ลำไส้ มีหน้าที่ในการลำเลียง ดูดซึมและย่อยอาหารเพื่อประโยชน์แก่ร่างกาย สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ลำไส้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเองค่ะ โดยไม่ต้องได้รับการสั่งการจากสมอง และบางทีสารเคมีบางอย่างก็ถูกสร้างจากลำไส้ไปส่งกลไกให้สมองทำงานอีกด้วย ลำไส้จึงถูกขนานนามว่าเป็น ‘สมองลำดับสองของร่างกาย’


เช่น เมื่อมีการรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ถูกลำเลียงเข้าสู่ลำไส้แล้ว ลำไส้จะคัดแยกสารอาหารได้เองทันที และดูดซึมต่อไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่ต้องการพลังงานจากสารอาหารนั้น หรือหากสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็เปรียบได้กับเป็นตำรวจตรวจจับและขับพิษออกจากร่างกายให้ทันทีผ่านอาการท้องเสีย



 

ลองจินตนาการดูว่า...

หากลำไส้ของคุณผิดปกติ เป็นลำไส้อักเสบ

ดูดซึมอาหารหรือขับพิษออกไปไม่ได้ ร่างกายคุณจะดำเนินไปยังไงต่อ?

 


ปวดท้องบ่อย ท้องเสียประจำ อาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นลำไส้อักเสบ
ปวดท้องบ่อย ท้องเสียประจำ อาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นลำไส้อักเสบ


พฤติกรรมเสี่ยง ลำไส้พัง!


ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อลำไส้มากที่สุด เพราะเกี่ยวพันต่อการทำงานโดยตรง แต่ปัจจัยเสริมที่เพิ่มเข้ามาก็เป็นความเครียด การนอนไม่หลับที่ส่งผลเป็นโดมิโน่ต่อไปเรื่อยๆ

สำหรับชาวออฟฟิศ โรคลำไส้อักเสบ นับเป็นอีกโรคยอดฮิตไม่แพ้ ออฟฟิศซินโดรมเลยค่ะ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะการทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา ทานเมนูเดิมๆ ซ้ำๆ ทานอาหารขยะ หรืออาหารสำเร็จรูปบ่อยๆ ทำให้ร่างกายได้สารอาหารที่ไม่ครบถ้วน และส่วนแรกที่ได้รับผลกระทบก็คือลำไส้นั่นเองค่ะ


และจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่ทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปเมื่อมีสารพิษปนเปื้อนในอาหารร่างกายคนเราจะขับออกไปได้ แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำลำไส้จะไม่สามารถกำจัดสารพิษนี้ออกไปได้เลย และเกิดการสะสมคั่งค้างภายในลำไส้จนทำลายเนื้อเยื่อคุณแทน ซึ่งสาเหตุนี้ไม่มีวิธีป้องกันล่วงหน้าใดได้นอกจากการตรวจภูมิคุ้มกันเพื่อให้ทราบความต้านทานของภูมิคุ้มกันตนเองและดูแลรักษาลำไส้ให้ดีค่ะ



ลำไส้อักเสบ เกิดจาก?


ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease: IBD) ที่บริเวณเยื่อบุของลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ทำให้ผนังของลำไส้เกิดแผล มีเลือดออก


เช็คด่วนอาการเหล่านี้ ลำไส้แปรปรวนหรือไม่?
เช็คด่วนอาการเหล่านี้ ลำไส้แปรปรวนหรือไม่?


อาการแบบไหน เรียก ‘ลำไส้อักเสบ’

  • มีอาการลำไส้บีบตัว

  • ปวดท้องเหมือนโดนบีบ

  • ถ่ายอุจจาระเหลว เป็นน้ำ มีลักษณะมูกหรือมูกเลือดร่วมด้วย

  • ขับถ่ายบ่อยจนผิดปกติ ในบางคนมากถึงวันละ 10-20 ครั้ง จนถึงขั้นตื่นกลางดึกเพื่อมาขับถ่าย

  • รู้สึกอ่อนเพลีย

  • มีไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • น้ำหนักลด

  • ดื่มน้ำได้น้อย

  • บางคนมีอาการข้ออักเสบ ตาอักเสบ



วิธีการรักษาเบื้องต้นเมื่อเป็นลำไส้อักเสบ

  • ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ หรือการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ

  • ในช่วงที่มีอาการควรหลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก รสจัด ควรทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ซุป โจ๊ก ข้าวต้ม

  • หากมีอาการปวด เป็นไข้ร่วมด้วย สามารถทานยาพาราเซตามอลได้

  • พากพบว่ามีเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะ

  • ปรึกษาแพทย์



ลำไส้อักเสบ ทานยาก็หาย ไม่ร้ายแรงจริงหรือ?


สำหรับการเป็นลำไส้อักเสบขั้นต้นที่ไม่รุนแรง หรือไม่บ่อยมากนักสามารถหายได้ด้วยการทานยาค่ะ ร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กี่วันอาการคุณก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในบางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้นด้วยสภาพร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน คุณจึงจะเห็นได้ว่าสำหรับบางคนแค่การทานยาก็ไม่พอ



หากปล่อยอาการลำไส้อักเสบไว้บ่อยเข้า ไม่ทำการรักษาอย่างถูกต้องและป้องกันให้ดี ยังนำคุณไปสู่อาการป่วยถึงขั้นชีวิตได้ เช่น

  • ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน

  • ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

  • ลำไส้เล็กอักเสบ หรือ โรคโครห์น

  • โรคลำไส้แปรปรวน

  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ

  • โรคลำไส้ตรงอักเสบ

  • โรคลำไส้ส่วนปลายอักเสบ


สำไส้อักเสบ ห้ามกินอะไร?

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คุณเกิดอาการแพ้

  2. ไม่รับประทานผักดิบ เนื้อสัตว์ดิบ อาหารย่อยยากทั้งหลาย

  3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ

  4. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม เพราะจะทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหาร

  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

  6. ไม่ทานอาหารที่มีรสจัด



ลำไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง?

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด

  • ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มให้สะอาด

  • เน้นทานอาหารย่อยง่าย เช่น ไก่ (ไม่มีหนัง) ปลา ไข่

  • เน้นให้ร่างกายได้รับวิตามิน A และเบต้าแคโรทีน เช่น ฟักทอง แครอทต้มสุก

  • ผลไม้สุกเนื้อนิ่ม เช่น กล้วย มะละกอ

  • ผักใบเขียวต้มสุก เช่น คะน้า กวางตุ้ง

  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น กุ้ง หอย ผักกูด ผักโขม

  • ควรเลือกทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ


อาการลำไส้อักเสบนั้นมักไม่ค่อยเป็นในทันที แต่มักเกิดจากการสะสมบ่อยครั้ง เพราะร่างกายเราที่แข็งแรง และมีกลไกซึ่งสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่หากหลายครั้งเข้า ผนังลำไส้ได้รับความเสียหายหนักขึ้นเรื่อยๆ การดูดซึมอาหารที่ไม่เพียงพอไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ แล้วสุดท้ายเอฟเฟกต์ก็จะกลับมาให้ลำไส้ไม่สามารถซ่อมแซมได้อย่างที่ควรจะเป็น ในที่สุดก็ป่วยและทรุดหนักทันทีโดยไม่มีสัญญาณเตือน


ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีแนวทางการรักษา พร้อมตรวจวิเคราะห์กรดอินทรีย์ในปัสสาวะ มากกว่า 50 ชนิด ที่ช่วยป้องกันการเสียหายของลำไส้แบบล่วงหน้าและทันท่วงทีด้วยการตรวจ Urine Organic Profile Test

ตรวจสมดุลลำไส้และการกำจัดสารพิษ Urine Organic Profile Test เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการเผาผลาญ

  • ผู้ที่ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษได้

  • กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง หรือ Adrenal fatigue

  • ผ้ที่น้ำหนักขึ้น ลง แบบไม่มีสาเหตุ

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่ายเป็นประจำ

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ป่วยง่าย หรือ ป่วยบ่อย

  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ รวมถึงอาการทางจิต ระบบประสาทต่างๆ


ประโยชน์ของการตรวจสมดุลลำไส้ Urine Organic Profile Test

  • กระบวนการเผาผลาญไขมัน (Fatty Acid Metabolism) : บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบการเผาผลาญไขมันและกรดไขมัน ที่ส่งผลให้ควบคุมน้ำหนักได้ยาก

  • กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต : ตรวจการทำงานของวงจรคีโตซิส หรือ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาเป็นแหล่งพลังงานหลักได้

  • การเสียสมดุลของลำไส้ : การตรวจหาแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา ในลำไส้ที่มากเกินกว่าปกติ จนทำให้ลำไส้เสียสมดุล

  • การทำงานของ Vitamin B : การตรวจดูการทำงานของวิตามินบีนั้นปกติ และทำงานเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ในระดับเซลล์

  • ตรวจสมดุลการสร้างสื่อประสาท (Neuro Transmitter) : ตรวจการสร้างฮอร์โมนจำพวกโดปามีน เซโรโทนีน ที่เป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน ที่มีส่วนสำคัญในการการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และระบบภูมิคุ้มกัน

  • เตาผลิตพลังงานเสื่อมสภาพ (Mitochondria Dysfunction) : ตรวจไมโตคอนเดรียในร่างกาย ที่เปรียบเหมือนเตาผลิตพลังงานของเซลล์

  • ภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) : บ่งบอกภาวะการไม่สมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระ หากร่างกายบริโภคไขมันมากเกินไปจนเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น ภาวะการไม่สมดุลนี้จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย

  • ความสามารถในการขจัดสารพิษ (Detoxification) : ตรวจดูประสิทธิภาพของตับและสำไส้ในการกำจัดสารพิษและดูดซึมอาหาร












bottom of page