top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

คีเลชั่นบำบัด การกำจัดโลหะหนักในร่างกาย



คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร


คีเลชั่นบำบัดคือการขับโลหะหนักออกจากเลือด โดยใช้สารอีดีทีเอในการขับสารพิษโลหะหนักออก จากแถลงการณ์ของสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย วันที่ 20 กันยายน 2560 ได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการมากว่า 16 ครั้งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 และศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ซึ่งแพทยสภาได้ก่อตั้งขึ้น โดยให้แพทย์ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ทางสมาคมขอยืนยันว่า ศาสตร์คีเลชั่นบำบัด ไม่ใช่ศาสตร์เทียม มีประโยชน์จริงและสามารถใช้แก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยได้จริงตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ [1] สารคีเลชั่นมีทั้งจากธรรมชาติ เช่น วิตามินซี กลูต้าไธโอน ซิสเตอีน และสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจับกับโลหะหนักแต่ละชนิด ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ



คีเลชั่นบำบัด ช่วยอะไรบ้าง


สารอีดีทีเอ (EDTA : Ethylene Diamine Tetra-acetic Acid) ซึ่งใช้ในการรักษา ขับโลหะหนักออก ลดการสะสมของแคลเซียม (Reducing Calcium Deposit) ควบคุมกระบวนการสลายไขมัน (Controlling Lipid Peroxidation) ลดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว (Reduction platelet stick-iness in atherosclerosis and related disease) [2] คีเลชั่นบำบัดได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA Approved) ในการใช้เพื่อขับสารพิษตะกั่วออกจากร่างกาย แพทย์ทางเลือกได้ใช้คีเลชั่นบำบัดในการรักษาโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) โรคหลอดเลือดหัวใจโคโลนารี่ตีบ (Coronary Disease) โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน รวมทั้งยังใช้ในการลดอาการปวดของคนไข้กลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Autoimmune Disease) รูมาตอยด์ (Rheumatoid) ข้ออักเสบ (Arthritis) โรคหนังแข็ง (scleroderma) รวมทั้งปกป้องร่างกายและหลอดเลือดจากการอักเสบ [3]





ส่วนในงานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับคีเลชั่นกับโรคหลอดเลือด 41 งานวิจัย เพื่อมาวิเคราะห์ผล โดย 19 งานวิจัยที่รวมรวบมามีคนไข้ทั้งหมด 22,765 คน พบว่า 87% จากคนไข้ทั้งหมด วัดผลของโรคหลอดเลือดอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการวัดผลหลากหลายวิธี เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การวัดระยะทางการเดิน การออกกำลังกาย การอัลตร้าซาวด์การไหลเวียนเลือด (Doppler Ultrasound) เป็นต้น






นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับคีเลชั่นบำบัดกับโรคอื่นๆ นอกเหนือจากการบำบัดพิษจากโลหะอีกมากมาย เช่น การใช้คีเลชั่นบำบัดกับคนไข้โรคหัวใจ ลดอัตราการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง การเข้านอนโรงพยาบาลจากการเจ็บแน่นหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ลดอัตราการเสียชีวิต โดยได้รับการตีพิมพ์การวิจัยนี้ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดัง ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า คีเลชั่น ได้รับการใช้ในการรักษาแพทย์ทางเลือกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคีเลชั่นบำบัดต่อโรคหลอดเลือดจะก่อให้เกิดผลดี หากว่าไม่ระมัดระวังในการรักษา หรือไม่ได้รับการรักษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ก็ย่อมเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ไม่เพียงแต่คีเลชั่นเท่านั้น แต่ยาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาเบาหวาน ยาไขมัน หรือแม้แต่การผ่าตัดอื่นๆ หากทำไม่ได้มาตรฐาน ให้ยาเกินขนาด (Overdose) ก็สามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งสิ้น





ด้วยความปรารถนาดี พญ.ภัทรลดา ฤทธิวงศ์ (หมอไอซ์)

แพทย์เวชศาสตรชะลอวัย instructor of colon hydrotherapy, I-ACT , USA







 

Thrive Wellness The Crystal Park เลียบด่วน-รามอินทรา

เฟส1 ชั้น 2 ห้อง B208-209

เวลาทำการ 10.00-20.00

โทร. 095-934-9640

Line ID: @thrivewellnessth




Reference [1] สมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย , แถลงการณ์สมาคมคีเลชั่นไทย วันที่20 กันยายน 2560 , http://www.cmat.or.th/news_details.php?id=37 [2] Bruce & Theodore , 1997 [3] Chelation therapy article , ByHealthwise Staff Primary Medical ReviewerAdam Husney, MD ,, webmd.com [4] The correlation “between EDTA Chelation Therapy and Improvement in Cardiovascular function, L. Terry Chappell MD, and John Stahl PhD , 1993 Human Sciences Press, Inc. [5] EDTA Chelation treatment for vascular Disease , L. Terry Chappell, MD , Ronald Evans ,MA ,The journal of cardiovascular of nursing/April 1996 [6] Trial to Assess Chelation Therapy (TACT) , Lamas GA, Goertz C, Boineau R, et al. Effect of disodium EDTA chelation regimen on cardiovascular events in patients with previous myocardial infarction: the TACT randomized trial. JAMA. 2013;309(12):1241–1250. [7] Deaths Associated with Hypocalcemia from Chelation Therapy --- Texas, Pennsylvania, and Ore-gon, 2003–2005 , MMWR weekly March 3, 2006 / 55(08);204-207https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm5508a3.htm

Comments


bottom of page