top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอันตรายกว่าน้ำตาล



สิ่งที่ทุกคนควรรู้ ก่อนคิดจะพึ่งพาสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะมีการถกเถียงกันมากค่ะเรื่องผลข้างเคียงหรืออันตรายของสารเหล่านี้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก จึงนำมาสรุปให้ฟังกันค่ะ



“Sweeteners Disrupt Blood Glucose Via Effects on Gut Bacteria”



สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอันตรายกว่าน้ำตาล
สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอันตรายกว่าน้ำตาล


ในยุคที่คนเริ่มหันใส่ใจกับสุขภาพ ดูแลตัวเอง และเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น การควบคุมปริมาณน้ำตาลเป็นหัวข้อหลักๆ เลยนะคะ เพราะการบริโภคหวานมากเกินไปมีผลต่อสุขภาพมากทีเดียว คนที่เริ่มตระหนักรู้ถึงอันตรายของน้ำตาล หลายๆ คนหันมาใช้พึ่งพาสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำตาล ซึ่งก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดี เนื่องจากยังให้ความหวานอยู่ แต่มีแคลอรี่ต่ำ ยิ่งเทรนด์การตื่นตัวในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ทางอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานที่ให้พลังงานต่ำนั้นก็ยิ่งเติบโตขึ้นตามไปด้วย



 
ฟังดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดี
แต่ความจริงกลับไม่เป็นอย่างที่ทุกคนคิด
 



หลายๆ คนคงคิดว่า สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่ไม่มีแคลอรี่ ก็ไม่ควรจะทำให้เราอ้วนขึ้น แต่ความเป็นจริง จากการทดลองในคนสุขภาพดีปกติ กลับพบว่า สารให้ความหวานกลุ่มนี้ แม้จะไม่มีแคลอรี่ แต่ก็สามารถกระตุ้นให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ โดยเพิ่มการดูดซึมน้ำตาลขึ้นได้ถึง 20% (glucose absorption) และยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ถึง 24% (plasma blood glucose) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (control group) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า กลับกลายเป็นส่งผลเสียต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดซะอีก (glycemic response to glucose) แต่ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ??



Sweeteners Decrease "Good" Bacteria, Increase "Bad" Ones


ทีมนักวิจัยชาวออสเตรเลียพบว่า สารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำ (เช่น ซูคราโลส แอสพาแตม อะซิซัลเฟม-เค ) ส่งผลต่อการควบคุมและดูดซึมกลูโคส โดยไปขัดขวางจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ (good bacteria) และไปช่วยเหลือแบคทีเรียก่อโรค (bad bacteria) เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก (placebo) การที่สารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำ เข้าไปส่งผลเสียโดยการเปลี่ยนระบบนิเวศน์ในลำไส้นั้น ส่งผลไปถึงการทำงานของลำไส้ และการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินครีตินจากกระเพาะอาหาร (34% reduction in GLP-1 level versus placebo) ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่อการควบคุมน้ำตาลมากขึ้นไปอีก





การทดลองในคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน 40 คน ครึ่งนึงให้ซูคราโลส 92 mg และ อะซิซัลเฟม 52 mg ต่อวัน (เทียบเท่าน้ำหวาน 1.2 ลิตร) อีกครึ่งนึงให้เป็นเม็ดยาหลอก และให้ทานอาหารปกติเหมือนกัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และตรวจอุจจาระเพื่อดูเชื้อแบคทีเรียจากลำไส้ (gut microbiomes) เปรียบเทียบกัน พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีการลดลงของจำนวน good bacteria ที่ช่วยกระบวนการดูดซึมน้ำตาล (bifidobacterium, lactobacillus, and bacteroides population) และการหลั่งฮอร์โมนอินครีติน (Butyvibrio population) และในทางตรงกันข้าม ยังพบการเพิ่มขึ้นของจำนวน bad bacteria ที่สามารถฉวยโอกาสก่อโรคได้ (opportunistic bacteria) 11 ชนิด เช่น Klebsiella, Porphyromonas, และ Finegoldia ซึ่งโดยปกติจะไม่พบในอุจจาระคนสุขภาพดีทั่วไป


แปลว่าการได้รับสารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำในคนสุขภาพดีปกติ แค่เพียง 2 อาทิตย์ก็ สามารถทำลายความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ ในระบบทางเดินอาหาร นอกจากจะไปขัดขวางการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ แล้วยังไปลดจำนวนแบคทีเรียที่ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงาน ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกทอดหนึ่งด้วย



หากต้องการเช็กสมดุลลำไส้ของคุณ ที่ไธรฟ์ คลินิก มีตรวจสมดุลลำไส้ หรือ Urine Organic Acid Test




 


โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page