top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

Heat Stroke อันตรายจากอากาศความร้อนและการขาดน้ำ


Heat Stroke หรือ ภาวะฉุกเฉินจากความร้อน นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มากับสภาพอากาศร้อนจัดที่อาจส่งผลกระทบถึงชีวิตโดยไม่รู้ตัว





Heat Stroke คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่สูงขึ้นมากได้อย่างเหมาะสม เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะทุกส่วน และระบบการทำงานของร่างกายอย่างกว้างขวางและรุนแรงสูง ผู้ที่มีความเสียงคือ ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศร้อนจัด กลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง (Out door) นักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อม และแข่งขันกลางแจ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องรู้จักการป้องกันตัวจากภาวะ Heat Stroke มากที่สุด อย่างไรก็ตามจริงๆแล้วเราทุกคนมีความเสี่ยง เพราะจำต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนแดดในตอนกลางวัน หากปราศจากการเตรียมตัวที่เหมาะสมก็จะอาจมีความเสี่ยงเช่นกันค่ะ



Hatstroke มักมาด้วยอาการ 3 อย่าง คือ

1. มีไข้สูง (อุณหภูมิสูงกว่า 40.5oC) และอาการทางกายภาพ ผิวแดงร้อนและแห้ง

2. ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ และไร้เหงื่อ (ไม่มีเหงื่อออกแม้จะร้อนมาก)

3. การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ เช่น เวียนหัว, เป็นลม, กระวนกระวาย, พฤติกรรมผิดปกติ, ก้าวร้าว, ประสาทหลอน หรือหมดสติ Cerebellum เป็นสมองส่วนที่ไวมากต่อความร้อน จึงอาจพบอาการโซเซ (ataxia) ได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ความผิดปกติทางระบบประสาทที่อาจพบได้ ได้แก่ plantar responses, decorticate และ decerebrate posturing, hemiplegia, status epilepticus และหมดสติอาจส่งผลรุนแรงถึงทำให้เสียชีวิตได้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องรีบรักษาอย่างทันที อีกทั้งยาที่รับประทานก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด Heatstroke ได้แก่ amphetamine, cocaine และยาที่ออกฤทธิ์ anticholinergic ได้แก่ tricyclic antidepressant, antihistamine เป็นต้น


โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากได้รับความร้อน จะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำ หรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้


การรักษา Heat Stroke ต้องรีบให้รักษาทันที ต้องรับคนไข้ไว้ติดตามอาการต่างๆ ในโรงพยาบาล อย่างน้อย 48 ชั่วโมง โดยรักษาดังนี้


  • ค่อยๆ ลดอุณหภูมิร่างกายลง อย่างน้อยที่ 39 องศาเซลเซียส

  • ไม่ต้องการลดให้ลดเร็วเกินไป โดยพ่นละอองน้ำ ใช้น้ำอุ่น ร่วมกับเปิดพัดลมเป่า จะช่วยระบายความร้อนได้ดีทีสุด ปลอดภัยกว่าการจุ่มลงในน้ำผสมน้ำแข็ง ซึ่งทำให้เกิดการหนาวสั่น เส้นเลือดหดตัวทำให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น สามารถใช้วิธีการวางห่อน้ำแข็งไว้ ณ บริเวณซอกง่ามขาและรักแร้ได้

  • การลดความร้อนวิธีอื่นๆ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนแต่ยังสามารถทำได้ เช่น การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหาร ช่องท้อง และทวารหนัก แล้วทำการล้างด้วยน้ำเย็น การใช้ออกซิเจนเย็น ซึ่งต้องคำนึงถึงสภาะวะของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เช่น ตั้งครรภ์, โรคประจำตัว

  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือด การให้สารน้ำอย่างพอดี ถ้าพบว่ามีการสลายกล้ามเนื้อ มีเลือดออกในปัสสาวะ อาจต้องให้สารน้ำมากขึ้น และต้องเฝ้าระวังการ จดบันทึกการขับถ่ายปัสสาวะ

  • แก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือด หากพบว่ามีภาวะน้ำตาลต่ำ

  • เฝ้าระวังการผิดปกติของระบบต่างๆ และรีบแก้ไขทันที



การป้องกันตัวจากภาวะ

Heat Stroke


  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตร /วัน

  • หลีกเลี่ยงอากาศร้อน ถ่ายเท ไม่สะดวก หากร้อนมากควรพยายามลดความร้อน โดยอาบน้ำ เปิดแอร์ เปิดพัดลม

  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หากรู้สึกเหนื่อยมากควรรีบพัก ทันที ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี

  • หากต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมหมวกป้องกัน หรือเตรียมตัวออกกำลังกายกลางแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่เพิ่มความร้อนให้ร่างกาย



แอดมินได้แนะนำเทคนิกการป้องกันอันตรายจาก Heat Stroke แล้ว อย่าลืมพกน้ำติดตัว และดื่มน้ำสะอาดใหเพียงพอในหน้าร้อนนี้กันด้วยนะคะ ป้องกันไว้ดีกว่าค่ะ
bottom of page