top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

อันตราย 12 ประการ หากมีความเครียดสะสม (Stress) เป็นระยะเวลานาน



คุณเองก็อาจมีความเครียดสะสมไม่รู้ตัว
คุณเองก็อาจมีความเครียดสะสมไม่รู้ตัว
เมื่อเราเข้าสู่ภาวะความเครียด ร่างกายของเราก็จะเกิดความผิดปกติในการทำงาน ยิ่งความเครียดสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งส่งผลต่อร่างกายมากขึ้นเท่านั้น และอาจทำให้เราเป็นโรคต่างๆ ดังนี้




  1. โรคหัวใจขาดเลือด ความเครียดทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ส่งผลทำให้หัวใจขาดเลือดและเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดงเร็วมากยิ่งขึ้น

  2. ความดันโลหิตสูง จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีความวิตกกังวลอยู่เป็นประจำมีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า ผู้ที่มีภาวะความเครียดจากงาน อาจทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายโตผิดปกติ

  3. ไมเกรน ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการไมเกรนได้

  4. อาการปวดกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ หากเกิดความเครียดเรื้อรังก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหัว ไหล่แข็งและปวดคอ มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติอย่างเรื้อรังของกล้ามเนื้อได้ รวมไปถึงกระตุ้นวงจรการนอนหลับให้ผิดปกติอีกด้วย

  5. โรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย หรือภาวะเครียดลงกระเพาะ อาการเหล่านี้เป็นผลกระทบมาจากความเครียด เป็นสาเหตุภาวะลำไส้แปรปรวน และสุดท้ายก็ทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล

  6. ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ความเครียดฉับพลันมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ก่อนแล้วมีโอกาสหัวใจวายสูงกว่าคนอื่น

  7. โรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่า ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล ความเครียดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได

  8. โรคหอบหืด ความวิตกกังวลจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการหอบหืดทรุดหนักไปอีก เกิดความเครียดวิตกกังวลว่าจะหายใจไม่ออกจึงเป็นการกระตุ้นอาการโรคขึ้นมาอีก

  9. โรคผิวหนังอักเสบ ความเครียดทำให้เราเหงื่อออกได้แม้จะอยู่ในอากาศที่เย็นก็ตาม เกิดจากระบบไหลเวียนของเลือดที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เลือดถูกผลักดันไปที่กล้ามเนื้อมากจนเกินไป ความเครียดเรื้อรัง ส่งผลทำให้ผิวพรรณหมองคล้ำและแก่ก่อนวัยได้ การศึกษาของศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ยังพบอีกว่า ความเครียดและความวิตกกังวลอาจนำมาสู่โรคผิวหนังอักเสบได้อีกด้วย

  10. ภูมิแพ้ ความเครียดจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันโดยผ่านฮอร์โมนชนิดหนึ่ง และยังไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ มีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และอาจจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

  11. โรคมะเร็ง จากการศึกษาหนึ่งพบว่า หนูที่มีสารก่อมะเร็งเมื่อถูกกดดันให้เครียด จะมีอัตราการลุกลามของมะเร็งเร็วกว่าหนูที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เครียด จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญในการลุกลามของโรค

  12. ข้ออักเสบรูมาทอยด์ พบว่าบุคลิกภาพของผู้ป่วยโรคนี้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับความเครียดอยู่มากทีเดียว เช่น การเก็บกด ชอบความสมบูรณ์แบบ ชอบความโดดเดี่ยว ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ชอบความเจ็บปวด และมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดมีแนวโน้มกระตุ้นให้เกิดโรคได้



ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ แบ่งเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว ลดึวามเครียดสะสม
ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ แบ่งเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว ลดึวามเครียดสะสม

การป้องกันความเครียดเริ่มต้นที่ตัวเรานะคะ หากรู้ว่าเริ่มเครียด ให้ลองหยุดพัก ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ แบ่งเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวเพื่อให้ได้พักจากเรื่องงานบ้างค่ะ








 

Thrive Wellness The Crystal Park เลียบด่วน-รามอินทรา

เฟส1 ชั้น 2 ห้อง B208-209

เวลาทำการ 10.00-20.00 (วันจันทร์หยุดค่ะ)

โทร. 095-934-9640

Line ID: @thrivewellnessth


bottom of page