top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

โรคที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม


คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




เบื่องาน  ไม่มีความสุข ภาวะเครียดสะสมนาน ๆ รคซึมเศร้า (Depressive disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety disorder)


อาการเครียด (Stress) ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาทางอารมณ์แล้วเท่านั้น แต่ปัจจุบันความเครียดที่สะสมยังส่งผลให้เกิดโรค ถือเป็นภัยเงียบในตอนนี้ ความเครียดสะสมที่ไม่รู้ตัว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ไม่ดี กระทบชีวิตประจำวัน จนเกิดโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) และอีกหลายโรคร้ายตามมา



Thrive Wellness Clinic พาคุณเช็กความเสี่ยงโรค หากมีภาวะเครียดสะสมจะส่งผลอย่างไร เมื่อความเครียดอยู่ใกล้ตัวเพียงไถฟีด Social Media



เครียดสะสมเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง ทำงานอยู่ในสภาวะกดดัน บีบคั้น การเงิน สุขภาพ ความรัก ดูซีรีส์สืบสวน เสพดราม่า


รู้จักภาวะเครียดสะสม เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง?

  • มีความรู้สึกกดดัน ภาวะเร่งรีบ ความรับผิดชอบสูงในงานที่ทำ

  • มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ ทั้งครอบครัว ที่ทำงาน เพื่อน หรือสังคมที่อยู่

  • มีความคาดหวังในชีวิตสูง วางเป้าหมายสูง

  • มีปัญหาส่วนตัว เช่น ครอบครัว สุขภาพ การเงิน

  • เกิดจาก Lifestyle เช่น ติดซีรีส์ ติดเสพข่าว ติด Social

  • ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะอ้วน โรคประจำตัว ฮอร์โมนไม่สมดุล



9 สัญญาณของภาวะเครียดสะสม


9 สัญญาณของภาวะเครียดสะสม


  1. นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ตื่นเร็วกว่าปกติ หรือตื่นกลางดึก เพราะสภาวะความเครียด

  2. อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายง่าย ขี้หงุดหงิด เหวี่ยงวีน อารมณ์เสียแม้ในเรื่องเล็กๆ ใบหน้าเศร้าหมอง รู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข

  3. เบื่องาน เบื่อชีวิตประจำวันที่ทำอยู่ ไม่มีแรงจูงใจหรือมีความสุขกับสิ่งที่ทำ

  4. ปวดท้องบ่อยคล้ายโรคกระเพาะอาหาร หรือท้องผูกสลับท้องเสีย เพราะเครียดลงกระเพาะ

  5. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ เพราะเกิดจากการเกร็งหน้าเนื้อขณะเครียด และนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมนานๆ

  6. มีอาการหายใจถี่ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว หรือปวดหัว เมื่อเจอสภาวะกดดัน บีบคั้น

  7. ในบางคนอาจมีผื่นขึ้นตามตัวคล้ายลมพิษ เพราะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

  8. เครียดได้ง่าย ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน

  9. ความต้องการทางเพศลดลง


ภาวะเครียดสะสม เพิ่มความเสี่ยง โรคเรื้อรัง 14 โรค มากเป็น คูณ 2


โรคที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม


เมื่อคุณมีภาวะเครียดสะสม จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะสูบฉีดเลือดมีปัญหา เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ และยังส่งผลต่อการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ จะมีความเสี่ยงโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า

1. โรควิตกกังวล

2. โรคแพนิค

3. โรคกลัว (โฟเบีย)

4. โรคเครียดที่ส่งผลต่ออาการทางกาย

5. โรคย้ำคิดย้ำทำ

6. โรคซึมเศร้า

7. โรคความดันโลหิตสูง

8. โรคหัวใจ

9. โรคเครียดลงกระเพาะ

10. โรคนอนไม่หลับ

11. โรคไมเกรน

12. โรคอ้วน

13. โรคออฟฟิศซินโดรม

14. โรคหลอดเลือดสมอง

ทางด้านฮอร์โมน อาจเกิดการหลั่งที่ไม่สมดุล ฮอร์โมนคอร์ติซอล ถูกผลิตออกมาเพื่อกำจัดความเครียดไม่เพียงพอ จนส่งผลให้ร่างกายต้องการน้ำตาลมากกว่าปกติ ทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง ส่วนสาร “Serotonin” ในสมองเมื่อเกิดความบกพร่อง จะส่งผลต่อการขยายและหดตัวในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และการบีบตัวของกล้ามเนื้อให้หดเกร็ง กล้ามเนื้ออักเสบ กระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เกิดปัญหาด้านอารมณ์ ความเจ็บปวด ความหิว และการนอนหลับ



แนะนำวิธีดูแลตัวเองเมื่อคุณรู้สึกเครียดสะสม


  • เปลี่ยนบบรยากาศรอบตัว เช่น ออกไปเที่ยวพักผ่อน จัดบ้านใหม่

  • บำบัดตัวเองด้วยกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย

  • ลดเวลาการทำงาน หากคุณทำงานหนักเกินไป

  • ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป ไม่เปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับผู้อื่น

  • Social Detox บ้าง หากคุณโฟกัสกับสังคมมากเกินจำเป็น

  • ปรับเปลี่ยนมุมมองและความคิด มองโลกแห่งความเป็นจริง และมองโลกแง่บวก

  • ทำกิจกรรมใช้เวลากับครอบครัว พูดคุยสังสรรค์กับเพื่อน ปรึกษาปัญหาและรับฟังมุมมองใหม่ๆ จากคนรอบข้าง

  • ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเรื้อรัง



ไม่แน่ใจ เครียดสะสมหรือไม่ ป้องกันตัวเองด้วยการเช็กสุขภาพ


Thrive Wellness Clinic พร้อมให้คำแนะนำและการรักษาโดยไม่ใช้ยา เพราะภาวะเครียดสะสมเกี่ยวข้องกับสุขภาพในทุก ๆ วัย รับคำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ










bottom of page