1 นาที

ชวนรู้จักโรคเบาหวาน เพราะอะไรทำไมถึงควรเบา

อัพเดตเมื่อ: 23 ก.พ. 2023

ได้ทานของหวานๆ ทีไรก็มีแรงฮึดสู้ทุกที แถมอร่อยทุกเมนู บิงซู ชาไข่มุก โค้กซ่าๆ เยียวยาจิตใจได้ตลอด จะให้เลิกก็คงยาก แต่หนักหวานเกินไปทั้งวันขนาดนี้ ก็กลัวน้ำตาลในเลือดสูงปรี๊ด! มาทำความรู้จักและแบ่งสัดส่วนอาหาร ให้ทานอย่างไรเราถึง ‘เบา’ ‘หวาน’ ลงได้บ้าง? ที่ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก นำมาฝากกันนะคะ

ชวนรู้จัก เบาหวาน

เบาหวาน คือโรคที่ทั่วโลกให้ความสำคัญค่ะ เพราะมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยเองมีผู้เสียชีวิตทุกๆ 1 ชั่วโมง ถึง 37 รายเลยล่ะค่ะ นั่นก็เพราะโรคเบาหวานเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและด้วยปัจจุบันที่ขนมหวานสามารถหาทานง่ายและหลากหลายขึ้น จึงส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายนั่นเองค่ะ

โรคเบาหวานคืออะไร?

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังแต่สามารถส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมได้ เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ซ้ำยังตับอ่อนทำงานผิดปกติฮอร์โมนอินซูลินบกพร่อง ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงานได้นั่นเอง

เพราะหนักหวานมากไป อินซูลินเลยสู้ไม่ไหว

ฮอร์โมนอินซูลินมีระดับการทำงานขนาดต่ำๆ อยู่แล้วค่ะ ลองเทียบดูว่าหากใน 1 วัน เราทานน้ำตาลน้ำตาลเกินกว่า 4 ช้อนชาต่อวัน หรือเท่ากับ นมเปรี้ยว 1 ขวดเล็ก (สำหรับช่วงวัย 25-60 ปี) จากที่ควรทำงานได้อย่างสมประสิทธิภาพก็ลดลง จนเกิดการสะสมภาวะระดับน้ำตาลมากยิ่งขึ้นเมื่อเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไม่ทันก็ถูกขับออกผ่านปัสสาวะ ซึ่งของเหลวนี้ก็ยังคงมีน้ำตาลคั่งค้างอยู่อย่างที่เราได้รู้จากการมีมดมาตอมนั่นเองค่ะ

7 สัญญาณเตือนเราเสี่ยงเป็นเบาหวาน

  1. อ่อนเพลียง่าย ทั้งที่พักผ่อนเพียงพอ

  2. ผอมลงแบบไม่มีสาเหตุ ทั้งๆ ที่ หิวบ่อย กินเท่าเดิม

  3. สายตาพร่ามัว

  4. แผลหายช้า ไม่แห้งสนิท หรือตกสะเก็ดช้า

  5. ชาปลายมือ ปลายเท้า

  6. มีอาการคันตามตัวหรือที่อวัยวะเพศ มีตกขาวร่วมด้วย

  7. หิวน้ำบ่อยและปัสสาวะเยอะผิดปกติ

ถึงไม่อ้วน ไม่ทานหวานก็เสี่ยงเป็นได้ เพราะโรคเบาหวานมีหลายชนิด

  • ชนิดที่ 1

    • พบในช่วงวัยเด็ก - 30 ปี

    • เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้

    • มักมีรูปร่างซูบผอม

  • ชนิดที่ 2

    • พบมากในผู้ที่มีรูปร่างอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน

    • คนไทยป่วยชนิดนี้มากที่สุด

    • เกิดจากร่างกายดื้ออินซูลิน อินซูลินไม่เพียงพอต่อการทำงาน

  • โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ

    • เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์

    • การติดต่อทางพันธุกรรม

    • ผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ

  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

    • ขณะตั้งครรภ์ร่างกายจะผลิตสารต่อต้านอินซูลินเกิดขึ้น

    • เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด

    • มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเกิดโรคเบาหวาน

แค่ปรับและเปลี่ยนก็ป้องกันโรคเบาหวานได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานเป็นปกติ

  • ทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ โปรตีนจากพืช เช่น ปลา อกไก่ เต้าหู้

  • เน้นทานผัก ธัญพืช ผลไม้ นมจืดไขมันต่ำ

  • จำกัดอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก

  • ลดอาหารแปรรูป สำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน อาหารแช่แข็ง

  • หลีกเลี่ยงน้ำตาลเทียม เพราะทำให้อยากหวานมากขึ้น

ความน่ากลัวของโรคเบาหวานคือมักไม่มีอาการเตือนค่ะ เมื่อรู้สึกร่างกายเริ่มผิดปกตินั่นก็เป็นเพราะได้เข้าใกล้โรคเบาหวานไปเสียแล้ว และเมื่อได้เป็นโรคเบาหวาน ปัจจุบันก็ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจึงควรตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจระดับน้ำตาล เช็กความสมดุลฮอร์โมนตั้งแต่เนิ่นๆ เท่านั้นค่ะ

ป้องกันเบาหวาน ด้วยการตรวจหาอินซูลิน

อย่าปล่อยให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูง อินซูลินหยุดทำงานแล้วค่อยหาทางแก้ เพราะนั่นอาจจะสายเกินไปค่ะ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ขอแนะนำ แพ็กเกจการตรวจหาฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย เช็กสมดุลมากน้อยแค่ไหน ร่างกายจะยังเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานได้ดีอยู่หรือไม่ ผ่าน Thrive Healthy Balance

Thrive Healthy Balance จะทำให้คุณได้ทราบถึง

  • ฮอร์โมนอินซูลิน

  • ตรวจระดับวิตามิน (Vitamin D3)

  • ตรวจระดับฮอร์โมนพื้นฐาน

  • ตรวจเลือด

  • ตรวจวัดระดับการอักเสบภายในร่างกาย

  • การทำงานของเม็ดเลือดแดง

  • การทำงานของปลายประสาท

  • สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย รวมกว่า 10 ชนิด

    0