top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

อินซูลิน (Insulin) ฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยกันให้เราไม่เป็นเบาหวาน



กาแฟหวานๆ ก่อนเริ่มงานช่วยสมองแล่น หรือเสี่ยงเบาหวานมากกว่ากัน


คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

 



ที่น้ำตาลในเลือดสูง เพราะอินซูลินน้อยเกินไป เรียนรู้และเข้าใจให้เราได้กินกาแฟหวานๆ ก่อนเริ่มงานได้ทุกวัน ผ่านฮอร์โมนอินซูลิน



ชวนรู้จักอินซูลิน

อินซูลิน ไม่ใช่ยาที่ผลิตมาเพื่อรักษาโรคเบาหวานเพียงเท่านั้นนะคะ แต่ยังเป็นฮอร์โมนในร่างกายเราด้วยเช่นกัน


อินซูลิน (Insulin) คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นในตับอ่อน ซึ่งวิธีการทำงานของอินซูลินนั้น จะออกฤทธิ์โดยการนำน้ำตาลจากเลือดเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้เซลล์ในร่างกายได้นำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะมีการหลั่งอินซูลินขนาดต่ำๆ หลั่งออกมาจากตับอ่อนสู่กระแสเลือดตลอดเวลาอยู่แล้วค่ะ แต่เมื่อเรารับประทานอาหาร ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินเพิ่มสูงขึ้น



ทำไมเราถึงขาดอินซูลินไม่ได้


เพราะการขาดอินซูลิน หรืออินซูลินไม่เพียงพอต่อการออกฤทธิ์ได้ตามปกติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีคือ เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ เมื่อเกิดการสะสม ขัดข้องเพิ่มขึ้น จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นตาม จนเกิดเป็นโรคเบาหวาน อย่างที่เรารู้จักกัน



โรคเบาหวานกับคนไทย


จำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปีทั่วโลก และยังเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รุนแรงที่สุด ด้วยพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตที่เอื้อต่อการรับประทานของอร่อยง่ายขึ้นเพียงแค่กดสั่งเดลิเวอร์รี่ ปัจจัยเสี่ยงในอาหารต่อเบาหวานก็เกิดขึ้นได้ทันตา



	ปี 2559 มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคเบาหวานราวๆ 76,000 คน หรือเทียบเป็น 200 คน/วัน ข้อมูลปี 2564 ระบุว่ามีผู้ป่วยเบาหวานในไทยประมาณ 3.2 ล้านคน และยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ 


 

ด้วยอากาศที่ร้อนจัด พอเหนื่อยๆ เหงื่อออกเยอะ

ก็ยากจะห้ามใจกับน้ำหวานเย็นๆ สักแก้ว

 


ด้วยอากาศที่ร้อนจัด พอเหนื่อยๆ เหงื่อออกเยอะ ก็ยากจะห้ามใจกับน้ำหวานเย็นๆ สักแก้ว



อินซูลินเกิดจากตับอ่อน แล้วที่นำมาฉีดล่ะมาจากไหน


อินซูลินที่อยู่ในรูปแบบยาฉีด เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวาน ถูกผลิตด้วยวิธีทางพันธุวิศวกรรม ทำให้ได้อินซูลินในปริมาณมาก และเหมือนกับที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเลยค่ะ ซึ่งการผลิตขึ้นนี้จึงสามารถผลิตอินซูลินออกมาได้หลายแบบมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับร่างกายของแต่ละคนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันไป



ใครกันที่ต้องใช้อินซูลิน


  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ หรือไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยมากหรือแทบไม่ผลิตเลย ซึ่งประเภทนี้จะถูกเรียกว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นภาวะต้านอินซูลิน

  • ผู้ป่วยเบาหวานี่มีโรคแทรกซ้อนทางตับ ไต และรักษาโดยยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล



ที่น้ำตาลในเลือดสูง เพราะอินซูลินน้อยเกินไป                              เรียนรู้และเข้าใจให้เราได้กินกาแฟหวานๆ ก่อนเริ่มงานได้ทุกวัน ผ่านฮอร์โมนอินซูลิน


ชนิดของอินซูลิน

  • อินซูลินวัว มาจากตับอ่อนของวัว

  • อินซูลินหมู มาจากตับอ่อนของหมู

  • อินซุลินหมูและวัว มาจากการผสมของตับอ่อนหมูและวัว

  • อินซูลินคน ได้จากกระบวนการชีวเคมีสังเคราะห์ หรือวิธีพันธุวิศวกรรมทางชีวสังเคราะห์ จึงสามารถทำให้เหมือนอินซูลินในร่างกายคนได้มากที่สุด และเกิดอาการแพ้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดอื่น



วิธีสังเกต ร่างกายเราผลิตอินซูลินได้อยู่ไหม

  • ปัสสาวะบ่อย จำนวนมาก

  • กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย

  • หิวบ่อย กินจุ

  • น้ำหนักลด ผอมลง

  • อ่อนเพลีย ซึม

  • เป็นแผลง่าย แต่หายยาก

  • คันตามผิวหนังโดยเฉพาะอวัยวะเพศ รวมทั้งตกขาว

  • ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย

  • ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า



การจะห้ามกินของหวานก็ดูเป็นเรื่องที่ยากจะห้ามได้ เพราะแรงใจในการทำงานถ้าไม่ได้ซื้อกาแฟนม ชาไทย ชาเขียว ชาไข่มุกกิน สมองก็ไม่แล่น แต่ถึงอย่างนั้นการบริโภคหวานแต่พอดีก็ควรใส่ใจ เพราะความเสี่ยงต่อเบาหวานนั้นพรากชีวิตดีๆ คุณไปได้มากกว่าที่คิดค่ะ


ป้องกันเบาหวาน ด้วยการตรวจหาอินซูลิน


ป้องกันเบาหวาน ด้วยการตรวจหาอินซูลิน


อย่าปล่อยให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูง อินซูลินหยุดทำงานแล้วค่อยหาทางแก้ เพราะนั่นอาจจะสายเกินไปค่ะ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ขอแนะนำ แพ็กเกจการตรวจหาฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย ว่าสมดุลมากน้อยแค่ไหน ร่างกายจะยังเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานได้ดีหรือไม่ ผ่าน Thrive Healthy Balance




Thrive Healthy Balance จะทำให้คุณได้ทราบถึง


  • ฮอร์โมนอินซูลิน

  • ตรวจระดับวิตามิน (Vitamin D3)

  • ตรวจระดับฮอร์โมนพื้นฐาน

  • ตรวจเลือด

  • ตรวจวัดระดับการอักเสบภายในร่างกาย

  • การทำงานของเม็ดเลือดแดง

  • การทำงานของปลายประสาท

  • สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย รวมกว่า 10 ชนิด








bottom of page