top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

Smiling Depression รอยยิ้มที่เป็นหน้ากากของความเศร้า


Smiling Depression รอยยิ้มที่เป็นหน้ากากของความเศร้า

คนที่มีภาวะซึมเศร้า อาจมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม จนคนรอบตัวอาจจะคาดเดาได้ว่าเขากำลังป่วยเป็นภาวะซึมเศร้าอยู่ แต่ใครจะไปรู้ว่ายังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เวลาพบเจอมักจะเห็นแต่รอยยิ้มที่ดูสดใส ร่าเริง ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ลึกในใจมีแต่ความเศร้าหมองเก็บฝังไว้ข้างใน ไม่แสดงออก หรือแสดงออกในทางตรงข้าม เราจะเรียกผู้ที่มีอาการซึมเศร้าแฝงแบบนี้ว่า Smiling Depression เป็นรอยยิ้มที่เป็นหน้ากากของความเศร้า ซึ่งในปัจจุบันคนที่ป่วยเป็นภาวะซึมเศร้าในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 ล้านคนต่อปี


Smiling Depression คืออะไร


Smiling Depression ได้ถูกตีความหมายเป็น high-funtioning depression หรืออาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดูเป็นคนที่มีบุคลิกภายนอกสดใส ร่าเริง ยิ้มง่ายหัวเราะง่าย และยังเป็นคนที่คอยสร้างเสียงหัวเราะให้กับคนอื่นอีกด้วย แต่ถึงเวลาที่อยู่กับตัวเองจะจมดิ่ง รู้สึกเศร้า นำทุกเรื่องที่เก็บไว้มาคิดอยู่คนเดียว ไม่เปิดเผย บอกเล่าให้กับใคร


ใครที่เสี่ยงเป็น Smiling Depression


  • คนที่เป็น introvert ไม่แสดงออกทางอารมณ์ ไม่กล้าที่จะระบายเรื่องราวให้ใครฟัง หรือสื่อสารให้ใครเข้าใจ จะเก็บเรื่องแย่ๆไว้กับตัวเองคนเดียว

  • คนที่เป็น perfectionnist คือ อะไรก็ต้องเนี๊ยบ เป็นไปตามมาตราฐานสูงที่ตนเองตั้งไว้ โดยเฉพาะการบอกตัวเองต้องทำให้ดีให้ได้ เมื่อไม่ได้ก็ลงโทษตนเองด้วยความรู้สึกที่แย่ และโทษแต่ตัวเอง

  • คนที่มีความรับผิดชอบสูงมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัว ไปจนถึงการงาน หรือสังคม


สัญญาณเตือน Smiling Depression

  • นอนไม่หลับ

  • เหนื่อยง่าย

  • รู้สึกกระวนกระวายใจง่ายหรือบ่อย

  • กังวลกับทุกๆเรื่อง

  • ตัดสินใจอะไรลำบาก

  • หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย

  • น้อยใจกับเรื่องเล็กน้อย

  • รู้สึกไร้ค่า

  • รู้สึกสิ้นหวัง


อาการของคนที่เป็น Smiling Depression จะเหมือนกับอาการของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่คนที่เป็น Smiling Depression จะไม่แสดงอาการหรือความรู้สึกเหล่านี้ออกมา แต่จะใช้รอยยิ้มกับความร่าเริงออกมากลบเกลื่อนความรู้สึกข้างในของตนเอง บางคนอาจเป็นคนที่คอยสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ด้วยด้วยซ้ำ แต่จะคอยกดกดความรู้สึกของตัวเองเก็บไว้ด้านใน


ทั้งนี้หากไม่แน่ใจหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น 4-5 ข้อ สามารถลองทำแบบทดสอบ Smiling Depression Test เพื่อดูว่าเราเข้าข่ายมีภาวะนี้หรือไม่



Smiling Depression Test English : https://calmerry.com/blog/tests/depression-test/


Smiling Depression Test Thai จากโรงพยาบาลรามาธิบดี : https://www.rama.mahidol.ac.th/th/depression_risk


วิธีดูแลตนเองเมื่อตกอยู่ในสภาวะ Smiling Depression


  • หาที่ปรึกษาหรือคนที่เรารู้สึกไว้วางใจ ควรเลือกผู้ที่มีวุฒิภาวะทางความคิดสูง เป็นผู้ฟังที่ดี นั่งฟังโดยไม่แสดงความคิดใดใด จะสามารถช่วยลดอาการ Smiling Depression เบื้องต้นได้ และที่สำคัญยังทำให้รู้สึกสบายใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำเมื่อรู้สึกว่าง อยู่กับสิ่งที่ทำให้มีความสุข

  • ปรึกษาจิตแพทย์หรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ตรงจุด และวินิจฉัยที่เหมาะสม


อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วย Smiling Depression ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะเครียดสะสม หรือ Mood Swing จากภาวะวัยทอง 💐Bach Flower ศาสตร์แห่งการปรับสมดุลทางจิต ช่วยเสริมสร้าง Mental Health ให้คืนความสมดุล เหมาะสําหรับผู้ที่มีภาวะความเครียดสะสม โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าแอบแฝง โรควิตกกังวล โรคแพนิค ผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรงในอดีตจนเป็นแผลฝังใจ ทั้งยังช่วยลดอาการฉุนเฉียวโมโห อารมณ์ไม่นิ่งได้อีกด้วย


หากท่านใดมีความสนใจสามารถเข้ามาปรึกษากับนักบําบัด คุณจันทร์ ชิดจันทร์ นวลแพง

Bach Flower Registered Practitioner จากสถาบัน Bach Flower Centre ประเทศอังกฤษ

ได้ทุกวันศุกร์ เวลา 10:00-15:00 น. ที่ Thrive Wellness Clinic


จองคิวตอนนี้ Line : @thrivewellnessth หรือโทร : 095-934-9640


โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page