คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ
...
เพราะฮอร์โมนไม่สมดุล เราจึงมีอาการปวดท้องประจำเดือน และประจำเดือนขาดจนคาดเดาไม่ได้ ทั้งที่มันควรจะมาเป็น 'ประจำ' การตรวจเช็กฮอร์โมนไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัว แถมยังช่วยแก้ปัญหาพร้อมหาสาเหตุได้อีกหลายเรื่องที่มากกว่าเรื่องประจำเดือน
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาทำความเข้าใจอาการประจำเดือนไม่มา ว่ามีอะไรบ้างที่คนส่วนใหญ่เข้าข่าย พร้อมแนะนำแพ็กเกจการตรวจฮอร์โมนที่เหมาะสมกับร่างกายสาวๆ ทุกช่วงวัย
ประจำเดือนไม่มาอันตรายไหม
หากคุณประจำเดือนไม่มาแค่เพียง 1-2 เดือน บ่อยๆ เป็นๆ หายๆ ถือว่ายังอยู่ในช่วงปกติค่ะ ฮอร์โมนของคุณอาจจะมีการปรับที่ยังไม่คงที่ แต่หากขาดเกิน 3 เดือนขึ้นไป อันนี้เริ่มเป็นอันตราย เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สร้างประจำเดือนขึ้นมาก็ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาหตุและทำการรักษาอย่างตรงจุดนะคะ
ประจำเดือนขาด พอมาใหม่ก็ไม่ตรง
หากประจำเดือนขาดไปไม่เกินในช่วง 6 เดือน แล้วกลับมาเป็นอีกครั้งแต่ไม่ตรงกับช่วงที่เป็นก่อนหน้า เช่น ปกติมาทุกวันที่ 1 แต่ตอนนี้กลับมาเป็นทุกช่วงสิ้นเดือน หรือประจำเดือนเลื่อนเข้าออกไม่ค่อยตรงกัน อาการนี้ยังนับว่าเป็นปกติค่ะ แต่ต้องเคลื่อนเข้าหรือออกไม่เกิน 7 วัน และอยู่ในช่วงห่างกัน 21-35 วัน
ประจำเดือนขาดแบบนี้ เราอยู่ในภาวะไหนกัน?
ภาวะขาดประจำเดือนสามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea)
ผู้หญิงที่ไม่เคยมีประจำเดือนเลยจนถึงอายุ 18 ปี เพราะโดยปกติแล้วผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนในช่วงอายุ 12 ปี
2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea)
ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาโดยตลอด แต่ก็ขาดหายไปนาน 3-6 เดือนขึ้นไป
ประจำเดือนไม่มา เกิดจากอะไรได้บ้าง
การตั้งครรภ์
หากโดยปกติแล้วคุณมีเพศสัมพันธ์อยู่เป็นประจำ แล้วเกิดภาวะประจำขาดเดือน ให้ทำการตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเป็นอันดับแรกเลยค่ะ เพราะเป็นสาเหตุที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ แต่ไม่รู้ตัว
เครียด วิตกกังวล
ความเครียดจะส่งผลโดยตรงให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง การหลั่งฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน ที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ
เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน
เป็นปกติหากคุณเพิ่งมีประจำเดือนแล้วหายไปเป็นปีแล้วกลับมาอีกรอบ เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนกำลังปรับและยังไม่คงที่
ออกกำลังกายหนักเกินไป
เพราะการออกกำลังกายหนัก จะเข้าไปรบกวนการทำงานของต่อมใต้สมอง ที่ควบคุมการตกไข่
ยาคุมกำเนิด
ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดจะส่งผลฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรน ซึ่งทำให้ประจำเดือนมาน้อย มามาก มาไม่สม่ำเสมอ หรืออาจไม่มาเลย ยิ่งในผู้หญิงที่ซื้อยาคุมกำเนิดทานเอง ก็อาจทำให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยน เพราะจริงๆ แล้วเรื่องของยาคุมกำเนิดส่งผลเอฟเฟกต์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ควรซื้อรับประทานเอง
นอกจากนี้การได้รับยาต้านซึมเศร้า ยารักษาความดันโลหิตสูง สารเสพติดอื่นๆ การทำเคมีบำบัดก็ส่งผลด้วยเช่นกัน
คนผอม หรืออ้วนเกินไป
อาจดูเหมือนไม่เกี่ยว แต่การมีน้ำหนักตัวเยอะ หรือเป็นโรคอ้วน จะทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติ ส่วนน้ำหนักน้อย หรือโรคคลั่งผอมนั้น ทำให้ร่างกายไม่มีไขมัน ไม่มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่ามารถผลิตฮอร์โมนขึ้นได้
ฮอร์โมนไม่สมดุล
แน่นอนว่าเมื่อฮอร์โมนไม่สามารถผลิตได้อย่างปกติ จึงส่งผลให้การทำงานในส่วนของการตกไข่ การทำงานมดลูกรวน ซึ่งอาจเป็นต่อเนื่องที่เกิดจากเนื้องอกในต่อมใต้สมองหรือต่อมไทรอยด์
ภาวะโลหิตจาง
ผู้ที่ป่วยเป็นเป็นโลหิตจางมากๆ จะส่งผลให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือมีประจำเดือนออกน้อยกว่าปกติ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
เพราะโรคต่อไปนี้เป็นโรคที่ส่งผลต่อการทำงาน หรือเกี่ยวข้องที่จะมีเอฟเฟกต์ในการทำงานของฮอร์โมนทั้งสิ้น ทั้งโรคไตวายเรื้อรัง โรคชีแฮน โรคคุชชิง โรคตับแข็ง
เข้าสู่วัยทอง
ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่อายุระหว่าง 45-55 ปี จะเริ่มขาดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ภาวะนี้เกิดได้จากรังไข่ที่มีเป็นจำนวนมาก โดยถุงน้ำเหล่านี้ก็จะไม่ปล่อยให้ไข่ตกออกมา
Check for sure อาการประจำเดือนไม่มา
หากคุณกำลังอยู่ในช่วงที่ประจำเดือนไม่มา ขาดๆ หายๆ แล้วเกิดความกังวลแต่ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าเกิดจากอะไร แม้แต่ปัจจัยที่บอกไปนั้นก็ยังไม่เข้าข่ายในพฤติกรรมที่คุณเป็น แต่จะให้ไปตรวจกับคุณหมอที่โรงพยาบาลก็ยังไม่มีความกล้าพอที่จะตรวจภายใน การเข้ารับการตรวจฮอร์โมน ก็สามารถบ่งบอกได้ว่า ฮอร์โมนคุณไม่สมดุลอยู่หรือไม่? อ่านเพิ่มเติมเรื่องการตรวจฮอร์โมนได้ที่นี่
อยากตรวจฮอร์โมน ทำอย่างไร อันตรายไหม รักษาได้จริงหรือ?
Thrive Hormone Check up แพ็กเกจการตรวจเพื่อหาความสมดุลฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปโดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ สุขภาพผิว คุณภาพการนอน รวมทั้งประจำเดือนที่มาไม่ตรง เพราะการมีฮอร์โมนที่สมดุลไม่ใช่แค่ปรับด้านอารมณ์เท่านั้นแต่สำคัญมากพอๆ กับเรื่องสมองที่ส่งผลไปยังการทำงานในอวัยวะต่างๆ
เหมาะกับใคร
ประจำเดือนไม่มา
ปวดท้องประจำเดือน
ผู้ที่ต้องการทราบว่าฮอร์โมนในร่างกายสมดุลหรือไม่
ผู้ที่ต้องการตรวจเช็คสุขภาพก่อนมีปัญหา
ทำให้คุณได้ทราบถึง
ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ระดับฮอร์โมนควบคุมการตกไข่
ระดับโปรตีนขนส่งฮอร์โมนเพศ
ตรวจระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์)
ตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
และอีกกว่า 10 รายการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย
การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมน
ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
ตรวจช่วงวันที่ 18-25 นับจากวันที่มีรอบเดือน
รอผลตรวจ 5-7 วัน
นัดหมายเข้าฟังผล พร้อมรับคำปรึกษาจากคุณหมอ 1 ชั่วโมง
แนวทางการรักษาที่ดีต่อสุขภาพ
Comentarios