top of page

พาหาสาเหตุอาการปวดท้องประจำเดือน รู้ได้เลย! สำหรับน้องสาวที่ไม่พร้อมตรวจภายใน



ปวดท้องประจำเดือน เกิดจากอะไร?

สีประจำเดือนเข้ม บางเดือนก็แดงสด เกี่ยวไหมกับอาการปวดท้องประจำเดือน

ทำอย่างไรดี ในวันปวดท้องประจำเดือน

แต่ละรอบเดือนปวดท้องทนแทบไม่ไหว แต่ไม่เข้าข่ายโรคในมดลูกสักอย่าง มีวิธีไหนเช็ค รักษา บอกอาการได้อีกบ้าง

มีวิธีป้องกันอย่างไรได้อีกบ้าง กับอาการปวดท้องประจำเดือน



ปวดท้องเมนส์ อาการปวดหน่วง ปวดเกร็งเหมือนถูกบีบตลอดเวลาที่คอยวนเวียนมาทุกเดือน แล้วความปวดรุนแรง มากน้อยก็ต่างกันไปอีกในแต่ละคน หรือแม้แต่ละเดือนเองก็ยังแปรปรวน สับสน ที่ตัวคุณเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ตลอด แล้วไหนจะเอฟเฟกต์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนที่ส่งผลอีก ความคาดเดาที่ไม่เคยจบสิ้นของอาการปวดท้องประจำเดือนนี้



พาหาสาเหตุอาการปวดท้องประจำเดือน รู้ได้เลย! สำหรับน้องสาวที่ไม่พร้อมตรวจภายใน
พาหาสาเหตุอาการปวดท้องประจำเดือน รู้ได้เลย! สำหรับน้องสาวที่ไม่พร้อมตรวจภายใน


ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาหาสาเหตุแบบทีละขั้นตอน ว่าอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยเสี่ยงไปสู่อาการปวดท้อง และสำรวจประจำเดือนว่ายังปกติพ้นเกณฑ์เสี่ยงอยู่หรือไม่? พร้อมวิธีตรวจเช็กอาการผิดปกติของประจำเดือน ที่ละเอียดยิบและชัดเจนมากกว่าแค่สังเกตอาการปวดท้อง


ปวดท้องประจำเดือน เกิดจากอะไร?


  • เกิดจากสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงระหว่างการมีประจำเดือน กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

  • รับประทานอาหารรสจัด และอาหารหมักดอง เพราะจะทำให้เกิดระบบย่อยอาหารรวน ที่เป็นสาเหตุให้เกิดสารโพรสตาแกลนดิน

  • เกิดจากภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เพราะการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ และมักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อได้จากมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ปวดท้องขณะมีประจำเดือน

  • เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แต่ก็ยังทำหน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม สังเกตได้จากการมีประจำเดือนสีแดงคล้ำ ส่งผลให้ปวดท้องน้อยรุนแรง มีบุตรยาก

  • เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญในกล้ามเนื้อมดลูก มักพบผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปที่มีลูกแล้ว สาเหตุนี้จะมีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก เพราะมดลูกอักเสบ สังเกตได้โดยจะมีประจำเดือนที่มากและนานกว่าปกติ

  • เกิดจากปากมดลูกตีบเกินไป ส่งผลให้เลือดไหลช้า ส่งผลให้อาการปวดท้องรุนแรงและเรื้อรังหากไม่รักษา

  • เกิดจากเนื้องอกนอกมดลูก ส่งผลให้ประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ หรือกระปริบกระปรอยนานเป็นอาทิตย์ มีขนาดตั้งแต่เล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ สังเกตได้จากการมีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรังร่วมด้วย



สีประจำเดือนเข้ม บางเดือนก็แดงสด เกี่ยวไหมกับอาการปวดท้องประจำเดือน


กำลังนึกภาพถึงประจำเดือนของตัวเองกันอยู่ไหมคะ พอจะนึกออกไหมว่าคุณเป็นสีไหน โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของแต่ละคนจะแตกต่างกันค่ะเพราะด้วยสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตต่างๆ สีของประจำเดือนก็เช่นกัน ไม่มีสีที่ตายตัวขึ้นอยู่กับแต่ละคนเลยค่ะ



สีแดงคล้ำ สีแดงสด สีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้ม สีเหล่านี้ล้วนเป็นสีที่ปกติค่ะ แต่จะแตกต่างกันในช่วงของระยะเวลาในการเป็นประจำเดือน ซึ่งสีของการเป็นประจำเดือนนั้น หากแปลกแตกต่างไปไม่ส่งผลถึงการผิดปกติหรืออันตรายของโรคค่ะ

ช่วง 1-3 วันแรก

ช่วง 4-7 วันท้ายๆ




ทำอย่างไรดี ในวันปวดท้องประจำเดือน

  • อาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น กล้วยหอม ผักใบเขียว อะโวคาโด น้ำเต้าหู้ ไข่ จะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เกร็งในช่องท้อง

  • น้ำอุ่นๆ หรือ น้ำผึ้งผสมมะนาว ก็เป็นอีกทางเลือก เพราะการได้รับสัมผัสความร้อน จะช่วยปรับให้ร่างกายอุ่นขึ้น ลดอาการปวดประจำเดือนลงได้ (งดชาหรือกาแฟที่มีคาเฟอีน เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เลือดสูบฉีดมากเกินไป เพิ่มอาการให้รุนแรงขึ้นได้)

  • ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เพราะมีกรด EPA และ DHA ช่วยลดอาการบวมน้ำ และการบีบตัวของมดลูก แถมยังย่อยง่าย ให้โปรตีนสูง

  • ดาร์กช็อคโกแลต นอกจากจะมีแมกนีเซียมแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดอาการเหวี่ยง วีน และบรรเทาอาการปวดท้อง

  • การนอนตะแคงซ้าย เพราะจะช่วยลดการปวดบริเวณหน้าท้องได้ดีกว่าตะแคงขวา

  • นอนด้วยการยกขาสูงกว่าลำตัวหรือหมอน ท่านี้จะเป็นการเอาหมอนมารองบริเวณน่องขาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัวลงได้



ภาพประกอบประจำเดือน และยาคุมกำเนิด
ภาพประกอบประจำเดือน และยาคุมกำเนิด


แต่ละรอบเดือนปวดท้องทนแทบไม่ไหว แต่ไม่เข้าข่ายโรคในมดลูกสักอย่าง มีวิธีไหนเช็ค รักษา บอกอาการได้อีกบ้าง


ในปัจจุบันวิธีการรักษาอาการปวดท้องประจำเดือนมีมากมาย แต่การรักษาในแต่ละแบบนั้นก็ขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวคุณเองด้วย หากปวดรุนแรงมาก ควรเข้ารับการตรวจภายใน ซึ่งแม้แต่ในผู้หญิงบางคนที่ไม่พบอาการผิดปกติเลย ก็อาจเกิดโรคภายในมดลูกได้เช่นกัน ดังนั้น เรื่องประจำเดือนจึงกลายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและควรใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะมันขึ้นอยู่กับระบบอวัยวะและฮอร์โมนที่เป็นกลไกสำคัญต่อร่างกายหลายๆ อย่าง

แต่หากในผู้หญิงที่ปวดท้องไม่รุนแรงมากนัก การออกกำลังกาย ประคบร้อน ก็เป็นส่วนช่วยให้ลดอาการได้ หรืออีกวิธีคือการฝังเข็ม วิธีนี้จะช่วยปรับการทำงานของฮอร์โมนเพศภายในร่างกาย ปรับสมดุล ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดในบริเวณอุ้งเชิงกราน ลดการคั่งของเลือด ช่วยให้กล้ามเนื้อผนังมดลูกและรังไข่คลายตัว



นอนตะแคงซ้าย เพราะจะช่วยลดการปวดบริเวณหน้าท้องได้ดีกว่าตะแคงขวา
นอนตะแคงซ้าย เพราะจะช่วยลดการปวดบริเวณหน้าท้องได้ดีกว่าตะแคงขวา


มีวิธีป้องกันอย่างไรได้อีกบ้าง กับอาการปวดท้องประจำเดือน

การเข้ารับการตรวจฮอร์โมนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้คุณได้ทราบถึงต้นตอของอาการปวดท้อง หรือความผิดปกติของประจำเดือน หรือในผู้หญิงที่เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการที่ผิดปกติ ปวดท้องรุนแรง ประจำเดือนเลื่อนต่างจากเดิม ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้เช่นกัน ทั้งยังไม่เสียเวลา ไม่เจ็บตัวและรู้ผลเร็ว


 
Thrive Hormone Check up
แพ็กเกจการตรวจเพื่อหาความสมดุลฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป
โดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ สุขภาพผิว คุณภาพการนอน
รวมทั้งประจำเดือนที่มาไม่ตรง เพราะการมีฮอร์โมนที่สมดุลไม่ใช่แค่ปรับอารมณ์เท่านั้น
แต่สำคัญมากพอๆ กับเรื่องสมองที่ส่งผลไปยังการทำงานในอวัยวะต่างๆ
 


ทำให้คุณได้ทราบถึง

  • ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

  • ระดับฮอร์โมนควบคุมการตกไข่

  • ระดับโปรตีนขนส่งฮอร์โมนเพศ

  • และอีกกว่า 10 รายการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย


การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมน

  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

  • ตรวจช่วงวันที่ 18-25 นับจากวันที่มีรอบเดือน

  • รอผลตรวจ 5-7 วัน

  • นัดหมายเข้าฟังผล พร้อมรับคำปรึกษาจากคุณหมอ 1 ชั่วโมง



bottom of page