top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ภาวะต่อมหมวกไตล้า Adrenal Fatigue

ต่อมหมวกไตล้า คืออะไร?

ต่อมหมวกไตล้า ภาวะแฝงที่มาพร้อมกับการระบาดโควิด 19 ที่ต้องบอกเช่นนี้เพราะอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า มีผลมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกๆ คน เช่น การต้อง Work From Home ทางเลือกจำเป็นที่ทำให้ใครหลายคนต้องทำงานอยู่แต่ในบ้าน หรือห้องสี่เหลี่ยม หันไปทางไหนก็เจอแต่วิวกำแพง ห่างหายจากการออกไปเดินเล่น ช้อปปิ้งอย่างที่เคยได้ทำเป็นประจำ ดูซีรีส์เพลินจนเวลานอนผิดปกติ สภาพแวดล้อมเดิมๆ ทำให้จิตใจไม่เบิกบาน

คุณกำลังเป็นอย่างที่เราได้กล่าวมาหรือเปล่า ถ้าใช่ คุณเองมีอาการเสี่ยงต่อต่อมหมวกไตล้า แล้วมีวิธีแก้ยังไงบ้างล่ะ? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับอาการและภาวะที่คุณสงสัย

ต่อมหมวกไตล้า1.jpg

Burn Out หรือเราเป็นต่อมหมวกไตล้า?

ภาวะตรงกลางระหว่าง burn out (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Burn out) และต่อมหมวกไตล้า มีอาการใกล้เคียงกันอย่างมาก ที่พูดอย่างนี้เพราะว่าเจ้า ต่อมหมวกไตเนี่ย คือ อวัยวะที่คอยผลิต คอร์ติซอล และดีเอชอีเอ ซึ่งเป็นฮอร์โมนต่อสู้ความเครียด สามารถส่งผลเสียออกมาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่หากสะสมไว้นานๆ คงไม่ดีแน่ หรือนี่อาจเป็นปัญหาในแบบเดียวกัน

‘กายภาพบอกหมดไฟ ชีวภาพบอกเราเป็นต่อมหมวกไตล้า’

สอบถามอาการต่อมหมวกไตล้า คลิกเลย

scan_here-click-me.png
  • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า / ตื่นนอนไม่สดชื่น

  • นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • กลางวันรู้สึกเหนื่อยอยากพัก แต่ตกดึกไม่ง่วง

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 

  • รู้สึกมีแรงตอนได้รับประทานของหวาน

  • อยากเค็มมากกว่าเดิม

  • ลุก นั่ง แล้วหน้ามืด

  • ความรู้สึกทางเพศลดลง

  • หงุดหงิดง่าย โมโหกับเรื่องเล็กน้อย

  • ผิวแห้ง แพ้ง่าย

  • เครียด กังวล ซึมเศร้า ไม่ค่อยสนุกกับสิ่งรอบตัว

  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ

  • ปวดประจำเดือนบ่อย

  • ปวดหลัง ปวดคอ

  • ความจำลดลง ขี้ลืมกับเรื่องที่ไม่ค่อยลืม

  • ผมร่วงไม่มีสาเหตุ

  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย

  • ภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ

ภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue) จะมีความผิดปกติของร่างกายที่มากกว่าอาการ Burn out ซึ่งมีความเครียดเป็นตัวกระตุ้นโดยเกิดได้จากหลายปัจจัย เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความรู้สึก ด้วยอาการที่ไม่รุนแรงและยังใช้ชีวิตต่อไปได้ หลายคนจึงเลือกมองข้ามและไม่รีบแก้ไข ซึ่งหากสะสมภาวะอาการล้านี้ไว้นานเข้าๆ อาจยากต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมและเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ จนร่างกายพัง เราจึงจำเป็นต้องรู้ให้เท่าทัน ตรวจวินิจฉัยภาวะนี้ก่อนที่จะสายเกินแก้

รู้จักฮอร์โมนสำคัญในต่อมหมวกไต

ไตของเราจะมีลักษณะคล้ายกับถั่วแดง ซึ่งเจ้าต่อมหมวกไตนี้จะเป็นอวัยวะสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่หุ้มอยู่ตรงขั้วไตทั้ง 2 ข้างคล้ายกับหมวก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนให้ร่างกายเป็นหลัก คือ

 

  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดความเครียด สร้างบาลานซ์ พลังงานให้ร่างกาย เพื่อรับมือกับปัญหาในแต่ละวัน หากผลิตเยอะเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายด้วยเช่นกัน เพราะจะไปสลายกล้ามเนื้อ คอลลาเจนใต้ผิว จึงต้องมี DHEA คอยต้านเพื่อไม่ให้ผลิตเยอะเกินไป

  • ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า สดชื่น กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไขมัน กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ และตัวตั้งของฮอร์โมนเพศหญิงและชาย

  • ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียมและโปแตสเซียม ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการควบคุมของเหลวในร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม เรื่องการตรวจสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย

อาการต่อมหมวกไตล้า.jpg

วิตามินแก้อาการต่อมหมวกไตล้า

  • Vitamin C ช่วยเสริมภูมิต้านทาน พบมากในผักและผลไม้สด

  • วิตามิน B3 ช่วยเผาผลาญพลังงาน ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารและผลิตฮอร์โมนทางเพศและสุขภาพผิวหนัง พบมากใน ตับ อะโวคาโด ปลา ถั่ว เห็ด บล็อคโคลี เป็นต้น

  • วิตามิน B5 ช่วยเรื่องการทำงานของต่อมหมวกไต สร้างภูมิต้านทาน พบมากใน เนื้อสัตว์ หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว ผักสีเขียว

  • วิตามิน B6 ช่วยเรื่องระบบประสาทในสมอง ควบคุมและปรับสมดุลฮอร์โมน พบมากใน ไข่ไก่ ตับสัตว์ นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ กะหล่ำปลี

IG NOV-20 (1).jpg

การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า 

การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า ให้ฮอร์โมนต่างๆ กลับมาสู่สภาวะสมดุล อาจจะใช้เวลา 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น เพราะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก

 

ในหลายคนจึงไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ เพราะไม่สามารถฝืนพฤติกรรมที่เคยชิน พร้อมด้วยความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ 

จึงสามารถเข้ามาปรึกษาคุณหมอ หรือปรึกษาสุขภาพที่ไธรฟ์ คลินิก เพื่อการรักษาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ให้คุณกลับสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้าและภาวะ burn out ได้อีก

ต่อมหมวกไตล้า รักษาด้วย

ภาวะต่อมหมวกไตล้า และภาวะเบิร์นเอาท์สามารถรักษาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีรักษาง่ายดาย สามารถทำได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม และนอนพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

  • รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ แต่หลัง 10.00 น. ระดับCortisol จะลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย)

  • รับประทานมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนการทานอาหารมื้อหลักๆ เพียง1-2 มื้อ

  • ออกกำลังกายไม่หนักจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น

  • เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น หางานอดิเรกทำ หรือจัดห้องให้น่าอยู่

  • เดินทางไปเที่ยว

  • รับประทานอาหารเสริมที่ต่อมหมวกไตต้องการ

  • หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม

IG NOV-15 (1).jpeg

สำหรับคนที่อ่านจบแล้วยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการภาวะต่อมหมวกไตล้าหรือไม่ คลิกเพื่อลองทำแบบทดสอบสำหรับภาวะต่อมหมวกไตล้า

bottom of page