ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ฮอร์โมน เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ระบบฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานในทุกระบบของร่างกาย ฮอร์โมนในตัวเรานั้นมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างยิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างในกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวัน ล้วนแล้วแต่มีฮอร์โมนเป็นส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนได้ลดลงจนอาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนหรือฮอร์โมนไม่สมดุลและทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้
ระดับของความสมดุลฮอร์โมนในร่างกายเราเป็นสิ่งจำเป็น เพราะฮอร์โมนแต่ละตัวล้วนพึ่งพากันและกัน ทำให้ร่างกายของเราทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพียงแค่ 1-2 ตัวนั้น ก็อาจก่อให้เกิดภาวะหรือเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเช่น ระบบการเผาผลาญในร่างกายลดลง ปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น
นอนหลับยากขึ้น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ผิวแห้งกร้านหมองคล้ำ ไม่สดใส ความต้องการทางเพศลดลง ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กระดับฮอร์โมนที่สำคัญและปรับระดับฮอร์โมนให้เข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง
เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลอาจก่อให้เกิดภาวะอื่นตามมาได้...
อาการที่เกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล
อาการอ่อนเพลีย การเผาผลาญในร่างกายลดลง ทำให้อ้วนง่ายขึ้น ผิวพรรณเปลี่ยนแปลงไป แห้งกร้าน รอยเหี่ยวย่นเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น เป็นต้น คืออาการของฮอร์โมนบกพร่อง ไธรฟ์มี แบบทดสอบเบื้องต้น ด้านล่างมาให้ลองทำกันว่าคุณอาจจะมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลหรือไม่
"การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของความไม่ปกติของร่างกายได้ เช่น นอนไม่หลับ, อ้วนง่าย, ผิวแห้ง, หงุดหงิด, ซึมเศร้า
ทั้งนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยก็จะสามารถช่วยปรับสมดุลด้วยวิธีต่างๆ เช่น เติมวิตามินหรืออาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายกลับมาสมดุลอีกครั้ง
"สุขภาพคือสิ่งสำคัญ หลังจากอุ้มให้นมน้องไอออนมาตลอด 1 ปีครึ่ง
ฮอร์โมนผิดเพี้ยนไปหมดเลยค่ะ ยิ่งเข้าวัยเลข 3 แล้ว ยิ่งต้องหันกลับมา
ดูแลตัวเองมากๆ อุ้มมา Check up ตรวจร่างกาย และเลือกแพ็กเกจฮอร์โมน คุณหมอปรับสมดุลฮอร์โมนด้วย Personalized Vitamin
เลยได้หันมาใส่ใจสุขภาพตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ"
คุณโอบอุ้ม ชุมสาย ณ อยุธยา และ พ.ต.ท.อรรถพล อิทธโยภาสกุล
ใครที่ควรตรวจฮอร์โมน?
ระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป ดังนั้นการตรวจเช็กระดับฮอร์โมนสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 25 ปี นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการลดลงของฮอร์โมนในร่างกายได้เร็วกว่าปกติ คือ บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม, ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือพร่องวิตามิน ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งในบุคคลที่มีการพักผ่อนน้อย นอนหลับไม่เพียงพอ ล้วนส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ภายในร่างกายสมดุลของฮอร์โมนเสียไป
วิธีการตรวจและรักษาอย่างไร
เพื่อดูความสมดุลของฮอร์โมน ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หรือผู้ที่มีปัญหาด้านนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท หลับยาก ปัญหาวัยทอง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ความรู้สึกทางเพศลดลง
หากมีความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการของวัยทองเร็วหรือรุนแรงมากกว่าที่ควร ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
เมื่อเห็นสาเหตุของปัญหาแล้ว แพทย์ให้คำแนะนำในส่วนที่ควรได้รับการแก้ไข เช่น กิจวัตรประจำวัน สารอาหารที่ควรบริโภคให้มากขึ้น หรือควรได้รับเป็นวิตามินเสริม อาหารบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงอาจพิจารณาว่าการใช้ฮอร์โมนเสริมในแต่ละราย
ระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป
ระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป
คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจตรวจฮอร์โมน
▪️ สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
▪️ สำหรับคุณผู้หญิง แนะนำให้เข้ามาตรวจหลังจากประจำเดือนครั้งล่าสุด นับไปอีก 21 วัน หรือก่อนมีประจำเดือน 7 วัน
▪️ หากท่านมีโรคประจำตัวและใช้ยาเป็นประจำ
กรุณาแจ้งพยาบาลหรือที่ปรึกษาสุขภาพก่อนนัดหมาย
อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ได้แก่
-
ระดับพลังงานในร่างกายลดลง
-
ระบบเผาผลาญในร่างกายลดลง
-
สุขภาพผิวเปลี่ยนแปลง ผิวแห้ง มีริ้วรอย
-
มวลกล้ามเนื้อลดลง
-
ปริมาณไขมันสะสมเพิ่มขึ้น
-
กระดูกบาง กระดูกเปราะ
-
ความจำลดลง ภาวะสมองเสื่อม
-
คุณภาพการนอนหลับผิดปกติ
-
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
-
ซึมเศร้า
-
ความต้องการทางเพศลดลง
-
มีความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง
-
มีความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด
รวม Complementary Vitamin 2,000 บาท
การทำงานของต่อมไทรอยด์ Free T3
การทำงานของต่อมไทรอยด์ Free T4
การทำงาน Thyroid Stimulating Hormone
ตรวจแอนติบอดีต่อต่อมไทรอยด์
ตรวจระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล
ตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
ตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอิสระ
ตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
ตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน
ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน
ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงควบคุมการตกไข่
ตรวจระดับฮอร์โมนการเจริญพันธ์ุ
ตรวจระดับโปรตีนขนส่งฮอร์โมนเพศ
ตรวจระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์
ตรวจระดับการทำงานโกรทฮอร์โมน
ตรวจระดับโปรตีนขนส่งโกรทฮอร์โมน
IGF-BP3
Free T3
Free T4
TSH
Anti TPO, TG ab
Serum Cortisol
DHEAs
Free Testosterone
Testosterone
Progesterone
Estradiol (E2)
FSH
LH
SHBG
PTH
IGF-1