top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

Mental Health ป่วย นำไปสู่โรคอะไรได้บ้าง?



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...



4 โรคเกี่ยวกับสุขภาวะทางอารมณ์  สุขภาพจิตที่(ไม่)ดี ดูแลอย่างไร?



Mental Health สุขภาพจิตใกล้ตัวที่พาเจ็บป่วยไปพร้อมๆ กับสุขภาพกาย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุข ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ในระหว่างปี 2558-2564 จาก 1.3 ล้านคน เป็น 2.3 ล้านคน โดยสาเหตุอันดับต้นๆ มาจาก โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท และโรควิตกกังวล



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก รวบรวมโรคที่เกิดจากปัญหา Mental Health พร้อมสาเหตุ และเช็กสุขภาพจิตที่ดีเป็นอย่างไร

สับสนวุ่นวายเป็นอะไรไม่รู้ ควบคุมจิตใจตัวเองไม่ได้



Mental Health คืออะไร


Mental Health หรือ สุขภาพจิต คือ ภาวะที่จิตใจเป็นสุข สามารถปรับตัวแก้ไขปัญหา ดำเนินชีวิตประจำวันได้ มีความรู้สึกดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ในสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่รู้สึกอึดอัดใจ (ข้อมูลจาก : World Health Organization. Retrieved 3 February 2013)

ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่คนพูดถึงและให้ความสำคัญกันมากขึ้น ไม่ต่างไปจากการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่ดี และเมื่อชีวิตประจำวันที่ต้องพบเจอกับความเครียด การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร สมาธิไม่จดจ่อ ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนแปรปรวน สารสื่อประสาททำงานบกพร่อง ส่งผลให้เกิดโรคจิตเวช




โรคที่เกิดขึ้นจากปัญหา Mental Health มีอะไรบ้าง



Bipolar Disorder อารมณ์แปรปรวน หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว


1. Bipolar Disorder อารมณ์แปรปรวน หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว


โรคที่ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติทางด้านอารมณ์แปรปรวน คือ จะมีอารมณ์ที่ดีมากจนผิดปกติ ตื่นตัว คิดเร็ว พูดเร็ว อาจเป็นแบบนี้นานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน หลังจากนั้นจะมีอาการที่ตรงกันข้ามคือเข้าสู่ระยะซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหารหรืออยากกินมากกว่าปกติ รู้สึกไร้ค่า อาจถึงขั้นทำร้ายตัวเอง หรืออยู่ในภาวะอยากฆ่าตัวตายได้ จึงมีชื่อเรียกหนึ่งว่า ‘โรคอารมณ์สองขั้ว’

สาเหตุหลักเกิดจาก สารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกหรือการเรียนรู้ทำงานบกพร่อง ทำให้การทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่างๆ ตามไปด้วย

โดยเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทเหล่านี้ Noradrenaline (นอร์อะดรีนาลีน), Serotonin (เซโรโทนิน), Dopamine (สารโดปามีน) ที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกทั้งสิ้น ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลได้แก่ ด้านการใช้ชีวิต ความเครียด ความเสียใจ ความผิดหวังรุนแรง สภาพจิตใจได้รับผลกระทบกระเทือนที่รุนแรง การตกงาน การสูญเสียคนรัก หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น ทำให้จิตใจห่อเหี่ยว และปล่อยทิ้งไว้นาน จนมีอาการไบโพล่าโดยที่คนไข้ก็ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อันตรายมาก เพราะสามารถนำไปสู่การฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่นได้




Anxiety Disorder  โรควิตกกังวล


2. Anxiety Disorder โรควิตกกังวล


โรควิตกกังวล ที่เกิดขึ้นเมื่อเจอสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความรู้สึก ทั้งจากตนเองและภายนอก ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าผู้ป่วยโรควิตกกังวลในไทย อยู่ที่ประมาณ 1.4 แสนคน เป็นโรคหนึ่งที่พบมากที่สุดและสาเหตุอาจมาจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู

เมื่อวิตกกังวลมากผิดปกติจึงส่งผลต่อการทำงานของสมองส่วนหน้า ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้หลากหลายมาก เช่น รู้สึกกลัว ใจสั่น ไม่สบายใจ หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย เหนื่อยหอบ ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ เป็นลม นอนไม่หลับ ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน เหงื่อออกมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภทดังนี้


  1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety) ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู ความวิตกกังวลในชีวิตประจำทั่วไป มักเป็นเรื่องไม่อันตราย แต่ถูกสะสมจนส่งผลเสียให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า พักผ่อนไม่พอ เพราะมัวแต่คิดวกไปวนมา กังวลกับเรื่องต่างๆ

  2. โรคแพนิค (Panic Disorder) “กลัวมากๆ จนเกิดผลกับร่างกาย” ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ มีความกังวลและไม่สบายใจอย่างมากต่อสิ่งรอบตัวโดยไม่มีสาเหตุ เกิดความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นเอง ทำให้ควบคุมบางอย่างไม่ได้ เช่น กลัวเครื่องบินตก กลัวการพรีเซนต์งาน อาการที่พบ ท้องไส้ปั่นป่วน เกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว ควบคุมไม่ได้ เหงื่อออก มือเย็น เป็นลม ตัวชา

  3. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias Disorder) คือ การกลัวขั้นรุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ อย่างชัดเจน เช่น กลัวเลือด กลัวสัตว์ กลัวรู กลัวสุนัข กลัวที่แคบ ซึ่งเป็นความกลัวเฉพาะอย่าง และสามารถกลัวได้มากกว่า 1 ชนิด อาจเกิดขึ้นจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และบางอย่างอาจดูไม่สมเหตุสมผล แต่เป็นสิ่งเร้าที่ส่งผลกระทบต่อความกลัว ส่งผลให้เกิดโรคเหล่านี้ตามมา

  • โรคกล้วเจ้านาย (Boss Phobia)

  • โรคกลัวการลงโทษ (Peniaphobia)

  • โรคกลัวที่ทำงาน (Workplace Phobia)

  • โรคกลัวความล้มเหลว (Atychiphobia)

  • โรคกลัวการตัดสินใจ (Decidophobia)


แม้จะเป็นโรคที่ไม่ได้ดูน่ากลัวและไม่ได้เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป แต่ภาวะเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการหวาดกลัวรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิต แค่เพียงเอ่ยถึง หรือเห็นสภาพแวดล้อมใกล้เคียงก็ส่งผลต่ออาการของโรคได้

  1. โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder : OCD) คือความวิตกกังวลในความคิดซ้ำๆ และตอบสนองต่อความคิดด้วยการทำในเรื่องนั้นซ้ำๆ จนเกิดความแน่ใจ เช่น คิดว่าลืมล็อคประตูบ้าน คิดว่าลืมปิดแอร์ ลืมให้อาหารสุนัข และวนกลับไปทำสิ่งที่คิดนั้นหลายๆ รอบ เป็นต้น โดยมากพบว่าอาจเกิดจาก ความเครียดสะสม การเลี้ยงดู การขาดความมั่นใจในตนเอง

  2. โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD) คือ อาการที่เกิดจากการผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรง เรื่องราวที่เลวร้ายมากๆ ภาพติดตา ภาพฉายซ้ำ หลอน วิตกกังวลรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการแพนิคได้ด้วย มองโลกในแง่ลบ เช่น ภาวะสงคราม เหตุการณ์สึนามิ อุบัติเหตุรุนแรงต่อหน้า สูญเสียคนรักไปอย่างกระทันหัน เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงจะกลับไปนึกถึงประสบการณ์เดิมซ้ำๆ นำพาไปสู่ซึึมเศร้าได้หากไม่ได้รับการดูแล หรือเยียวยาจิตใจ

Depression โรคซึมเศร้า


3. Depression โรคซึมเศร้า


Depression (โรคซึมเศร้า) คือ โรคที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ โดยเฉพาะสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงสุขภาพทางกาย โดยจะมีความแตกต่างจากอารมณ์เศร้า ความผิดหวัง หรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจที่มากกว่าปกติ

สาเหตุเกิดขึ้นได้จากสารเคมีในสมองที่เกิดความไม่สมดุลกันของการหลั่งสารสื่อประสาท คือ เซโรโทนิน, นอร์เอปิเนฟริน, โดปามีน กรรมพันธุ์ ในผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง มีความเกี่ยวข้องทางกรรมพันธุ์ในโรคซึมเศร้าสูง หรือลักษณะนิสัยเฉพาะ เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง มองโลกในแง่ร้าย มักมีแนวโน้มเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่ายกว่า เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน คับขัน เช่น ตกงาน ถูกทอดทิ้ง หย่าร้าง

หากอยู่ในภาวะ Depression คุณจะรู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดมากกว่าปกติ นอนหลับๆ ตื่นๆ หมดความสนใจต่อโลก เศร้า หม่นหมอง เบื่อไม่อยากทำอะไร มีความคิดทำร้ายตัวเอง หรืออยากตายได้



4. Schizophrenia โรคจิตเภท


โรคจิตเภท คือ โรคที่เกิดความผิดปกติด้านการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง รวมไปถึงกระบวนการทางความคิด โดยจะมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว มีภาพหลอน หัวเราะคนเดียว พูดคนเดียว พูดน้อย มีความคิดหลงผิด หน้าตาเฉยเมย ไม่สบตา ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการเข้าสังคม ละเลยการดูแลสุขอนามัยตนเอง

พบมากในผู้ที่อายุระหว่าง 15-16 ปี หรือช่วงวัยรุ่นตอนปลาย จนถึงอายุ 30 ปี และพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร อาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรม หรือความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น Dopamine ที่ส่งผลต่อการทำงานของอารมณ์ ความจำ สมาธิ ร่างกายเกิดการอักเสบ หรือภูมิต้านทานบกพร่อง ความเครียดสะสม หรือขณะอยู่ในครรภ์ได้รับเชื้อไวรัส สารพิษ ขาดสารอาหาร หรือออกซิเจน การใช้สารเสพติดที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทบกพร่อง หากอยู่ในภาวะที่เข้าข่ายโรคจิตเภท แนะนำพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา




ตรวจเช็ก Mental Health เสริมสร้างสุขภาพจิตดีทำอย่างไร


  • ฝึกตนเองให้มองโลกในความเป็นจริง มีเหตุผล และฝึกคิดในแง่บวก ประโยชน์มากกว่าแง่ลบ ช่วยให้คุณไม่เกิดความวิตกกังวลมากจนเกินไป

  • ไม่ตั้งความหวังมากจนเกินไป ซ้อมรับมือกับความผิดหวัง หากตนเองต้องเผชิญในสถานการณ์จำเป็น

  • สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์เช่นไร

  • มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี

  • มีความตั้งใจ สมาธิจดจ่อ อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ เช่น การทำงาน การเรียนหนังสือ

  • รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น พร้อมทั้งไม่หวาดระแวง

  • ใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข ไม่เกิดความเครียดจนเกินไป

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 วัน/สัปดาห์ ครั้งละ 30-60 นาที เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทไม่ให้บกพร่อง

  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ไม่ให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง เช่น Magnesium, Vitamin B, เสริมโพรไบโอติกส์ที่ดีต่อลำไส้ จากนมเปรี้ยว โยเกิร์ต ช่วยปรับสมดุลลำไส้ จากเชื้อรา ยีสต์ แบคทีเรีย ที่หากสะสมมากๆ เชื้อเหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายเครียด, ไม่นอนดึก นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ

  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน เพื่อช่วยเสริมสร้างกระบวนการฟื้นฟูขณะนอนหลับ ลดภาวะการทำงานของฮอร์โมนบกพร่อง


วิธีรักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคจิตเภท โดยไม่ใช้ยา


ทำอย่างไร เมื่อคุณควบคุม Mental Health ไม่ได้


สารสื่อประสาทก็เหมือนกับกลไกการทำงานของอวัยวะ แต่ส่งผลทางด้านสภาวะอารมณ์ สุขภาพจิตใจเป็นหลัก ผู้ป่วยโรคจิตเวชต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เท่านั้น และต้องไม่มีปัญหาโรคทางกาย ซึ่งการที่สารสื่อประสาทบกพร่องอาจนำไปสู่โรคทางจิตเวท โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตันได้ในที่สุด

สามารถรับคำปรึกษาพร้อมการรักษาแพทย์ทางเลือกด้าน Anti-Aging ได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก สามารถรักษาร่วมยาแผนปัจจุบันได้ค่ะ โดยการรักษาที่ ไธรฟ์ เวลเนส จะเน้นการฟื้นฟู เสริมสร้างกระบวนการทางร่างกายด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ใช้ยา เนื่องจากยาจะเป็นการทำงานที่เข้าไปบล็อกกลไกของร่างกาย ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาทให้ลดลง

การรักษาลักษณะนี้จึงเป็นการเข้าไปช่วยการทำงานของระบบประสาท ลำไส้ ระดับฮอร์โมน พร้อมหาสาเหตุผ่านการตรวจเชิงลึกในระดับ Cell ที่ได้รับจาก IV Drip Vitamin หรือ Amino Acid เช่น Kidmin เหมาะสำหรับผู้ที่ดูดซึมสารอาหารไม่ได้ ร่างกายอ่อนแอผิดปกติ



Bach Flower Remedies ช่วยรักษาสุขภาพจิตใจให้แข็งแรง ด้วนสารสกัดจากดอกไม้





 




bottom of page