แต่ละวันต้องเหนื่อย หมดแรงกับภาระงานมากมาย บางทีก็ปวดหัวจนรู้สึกสมองตื้อไปหมด แถมยังต้องเจอกับรถติด ปัญหาชีวิตแต่ละวันที่ต้องจัดการไม่ซ้ำ การหาความสุขง่ายๆ จากการดู Reel หมา แมวน่ารักๆ หรือ Challenge TikTok สั้นๆ เพียงไม่กี่วินาทีกำลังทำให้สมองคุณเคยชินกับการสร้างความสุขจำลองในช่วงเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นผลดีที่คุณมองหาความสุขได้ง่ายขึ้น เพียงแค่ใช้นิ้วจิ้มเลือกสำเร็จได้เอง แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนความสุขอย่าง Serotonin
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก Blog นี้ จะชวนคุณผู้อ่านเข้าใจการทำงาน และเหตุผลสำคัญที่ควรสร้างสมดุลของ Serotonin ให้หลั่งอย่างเป็นปกติสุข ไม่สวิง เหวี่ยง ลดซึมเศร้า นอนหลับง่าย และทานอาหารอย่างสบายใจ
Serotonin คืออะไร
Serotonin (เซโรโทนิน) คือ สารสื่อประสาทที่ถูกผลิตขึ้นในสมอง และยังเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากสังเคราะห์ขึ้นของ Tryptophan แต่กลับส่งผลต่อการทำงานไปยังอวัยวะในหลายส่วนของร่างกาย ทั้ง ระบบทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อ การเจริญเติบโตของเซลล์ หลอดเลือด ระบบเผาผลาญพลังงาน Serotonin ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในการทำงานของแต่ละระบบโดยตรง แต่เป็นตัวกลางที่สื่อสารระหว่างสมองว่าในแต่ละระบบต้องการอะไร สมองจะรับรู้และแสดงปฏิกิริยาออกมาภายนอกให้คุณได้รับรู้ เช่น หากกระเพาะต้องการอาหาร ก็จะกระตุ้นให้สมองสั่งการว่าเรากำลังหิวอยู่
เพราะหน้าที่ของ Serotonin สั่งให้เรา…
คิดถึงความสำเร็จ
นึกถึงความทรงจำดีๆ
ความเจ็บปวด
ความสงบสุข
ระงับความโกรธ ระงับความก้าวร้าว
การรู้สึกเป็นคนสำคัญ
อยากกินชาบู หมูกะทะ
เป็น Extrovert
ความต้องการทางเพศ
หิว อิ่ม อยากอาหาร
รู้สึกคลื่นไส้
รู้สึกง่วงนอน
เหงื่อออกที่มือ
“เซโรโทนิน คือ สารสื่อประสาทควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
เมื่อคุณดูคลิปที่ทำให้เกิดความสุขฉับพลัน จึงอาจส่งผลให้การควบคุมนี้ผิดปกติ”
Serotonin กับหน้าที่ในร่างกาย
ระบบทางเดินอาหาร
ทริปโตแฟนจะสร้างเซโรโทนินในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กมากถึง 80-90%
กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
กระตุ้นการเกิดอาการคลื่นไส้ เมื่อลำไส้ได้รับสารปนเปื้อนจากเชื้อโรค หรือสารพิษ
ส่งผลต่อการทำงาน การเคลื่อนไหวภายในกระเพาะอาหารและลำไส้
ลดอาการท้องผูก ขับถ่ายอย่างเป็นปกติ
การทำงานของสมองและระบบประสาท
เกี่ยวข้องทางด้านอารมณ์ต่างๆ คือ ความสุข ความเจ็บปวด อารมณ์ทางเพศ ความอยากอาหาร ความหิว การนอนหลับ และการรับรู้ด้านต่างๆ
การทำงานของกล้ามเนื้อ
สำคัญต่อกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหลอดเลือด
ส่งผลให้กล้ามเนื้อบีบตัว หัวใจบีบตัว หลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิต
ลดภาวะการเสียเลือด เพราะทำให้เกล็ดเลือดหยุดไหลได้เร็วขึ้น
การเจริญเติบโตของเซลล์
ช่วยกระตุ้นการทำงานสร้างเนื้อเยื่อตับ
เสริมสร้างเซลล์มวลกระดูก ช่วยในการดึงแร่ธาตุเข้าสู่กระดูก
ฮอร์โมนความสุข แต่มีมากเกินก็สร้างความทุกข์
Serotonin เป็นสาเหตุหนึ่งให้เกิดโรคซึมเศร้า โรคไมเกรน โรคเครียด โรคสมาธิสั้น โรค PTSD โรค Phobia เพราะร่างกายที่มีเซโรโทนินต่ำกว่าปกติ ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ คุณจะรู้สึก เศร้า กระสับกระส่ายใจ ปวดศีรษะ มือสั่น ยาต้านอาการซึมเศร้าจึงมีส่วนผสมเพื่อเพิ่มระดับเซโรโทนินด้วยค่ะ
แต่ไม่ใช่แค่เพียงเซโรโทนินต่ำเท่านั้นถึงเกิดปัญหา การมีมากเกินไปก็ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขเพิ่มมากขึ้นนะคะ แต่กลับทุกข์และนอนไม่หลับ เพราะจะทำให้เกิดความดันในเลือดสูง อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว เกิดภาวะ Serotonin Syndrome
อันตรายของ Serotonin Syndrome
เกิดขึ้นได้จากการใช้อาหารเสริมสมุนไพร การรับประทานยาเองจนเพิ่มระดับเซโรโทนินไม่รู้ตัว
มักมีอาการมึนงง กระวนกระวายใจ รูม่านตาขยาย ปวดศีรษะ ความดันหรืออุณหภูมิเลือดเปลี่ยนแปลง คลื่นไส้หรืออาเจียน ท้องร่วง หัวใจเต้นเร็ว มีอาการสั่น กล้ามเนื้อกระตุก มีเหงื่อออกมาก อาจรุนแรงถึงชีวิตหากมีไข้สูง อาการชัก ไม่รู้สึกตัวร่วมด้วย
Serotonin ไม่ได้อยู่แค่ในสมอง แต่ยังพบได้ในผัก ผลไม้
โดยปกติร่างกายควรได้รับอาหารให้ครบ 5 ต่อวัน ดังนั้นการได้รับสารอาหารจากเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ที่นอกจากจะเพิ่มเซโรโทนิน ให้คุณมีสภาวะทางอารมณ์ที่ดีแล้ว ยังอุดมด้วย แร่ธาตุและวิตามินที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ต่อวันเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
แต่เซโรโทนินที่พบในสารอาหาร ก็ไม่สามารถดูดซึมออกมาเป็นเซโรโทนินได้โดยตรง แต่จะเป็นการเพิ่มระดับทริปโตเฟนแทนค่ะ ซึ่งจะช่วยในการผลิตเซโรโทนินต่อไป มักพบใน
นม
ถั่ว
เนื้อไก่
วิตามิน C
ไข่
รับแสงแดด
ออกกำลังกาย
ดาร์กช็อกโกแลต
ปลาแซลม่อน
ปลาทูน่า
ขนมปังโฮลวีท
Serotonin ช่วยการนอนหลับ
นอนไถฟีด Tiktok หรือติดตามข่าวดึกๆ ตี 2 แล้วยังนอนไม่หลับ เพราะสภาวะทางอารมณ์ของคุณไม่มั่นคง เกิดอารมณ์ร่วมทั้งความสุขและความทุกข์ทันทีไม่มีวิ จนส่งผลทำให้คุณจิตใจไม่นิ่ง อ่อนไหวง่าย ความจำสั้น เพราะเกิดจากการสับเปลี่ยนอารมณ์ที่เร็วเกินไป อาจเพราะแนวโน้มของการหลั่งเซโรโทนินมีปัญหาก็เป็นได้นะคะ ยิ่งทำซ้ำๆ แบบนี้ ทุกวันจนร่างกายคุ้นชินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปโดยไม่รู้ตัวส่งผลให้การนอนหลับ หรืออยากอาหารเริ่มส่งสัญญาณเตือน
อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัญหาเรื่องการนอนหลับส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่ร่างกาย ทั้งเซโรโทนิน เมลาโทนิน ทริปโตเฟน เกิดรวนขึ้นมาร่างกายคงสู้ไม่ไหว
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และพร้อมหาสาเหตุฮอร์โมนไม่สมดุลผ่าน Thrive Hormone Check up แพ็กเกจที่จะทำให้คุณได้ทราบถึงค่าความสมดุลของทุกอณูในร่างกายที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม
Thrive Hormone Check up เหมาะกับใคร?
ผู้ที่ต้องการทราบค่าฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนเพื่อทำการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัย
ผู้ที่ต้องการวางแผนเทคฮอร์โมนข้ามเพศ
ผู้หญิงที่กำลังเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
ผู้ชายที่ต้องการทราบว่าเข้าสู่ภาวะชายวัยทองหรือยัง
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
ผู้ที่มีความต้องการทางเพศลดลง
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพผิวแก้ไม่หาย
ผู้ที่ไม่มีมวลกล้ามเนื้อ เพราะฮอร์โมนชายขาดหาย
Comentarios