1 นาที

เรื่องใกล้ตัวที่น่ากลัวของสารปรอท

อัพเดตเมื่อ: 6 ก.ค. 2022

เรื่องใกล้ตัวที่น่ากลัวของสารปรอท

คลิกเลือกเนื้อหาที่สนใจ

......

ปรอท คืออะไร เป็นแบบไหน

อันตรายจากปรอทพบได้ในไหนบ้าง

อาการแสดงออกเมื่อรับสารปรอท

‘ปรอท’ ไม่ได้พบแค่ในผู้ที่อุดฟันอมัลกัม หรือทำงานใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่อยู่รอบตัวคุณมากกว่าที่คิด ทั้งอยู่ในปลาที่คุณทาน เครื่องสำอางที่คุณแต่ง หรือเวลาที่คุณเป็นไข้

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พารู้จักอันตราย และการรู้เท่าทันเรื่องรอบตัวที่มีปรอท
 
ให้คุณสำรวจร่างกายก่อนจะทรุดหนัก

ปรอท คืออะไร เป็นแบบไหน

เคยสังเกตแท่งปรอทวัดไข้กันไหมคะ ว่าตรงกลางบอกอุณหภูมิจะมีเป็นไส้ของเหลวสีเทาๆ ขาวๆ เงินๆ อยู่ ตรงส่วนนี้เองคือ ปรอทค่ะ ด้วยคุณสมบัติของปรอทเป็นของเหลวและสามารถเป็นของแข็งได้เมื่อแข็งตัวคล้ายกับโลหะทั่วๆ ไป และไม่เกาะติดกับวัสดุ ปรอทจึงถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตคุณในหลายๆ ด้าน แต่ก็แฝงอันตรายมาพร้อมด้วยเหมือนกันค่ะ

และเคยสังเกตกันไหมคะว่าปรอทจะต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทเสมอๆ นั่นเพราะว่าปรอทสามารถถูกดูดซึมได้ง่ายมากๆ ผ่านการหายใจ และเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็สามารถดูดซึมเข้าสู่ระบบสมองและระบบประสาทได้อย่างรวดเร็ว หากตกค้างนานๆ ก็จะกลายเป็นพิษกับร่างกายของคุณค่ะ

อันตรายจากปรอทพบได้ในไหนบ้าง

  • ยาขับปัสสาวะ และยาถ่าย

  • อาหารทะเล แต่ในปลาทะเลชนิดใหญ่จะพบมากกว่า เช่น ฉลาม ปลากระโทงดาบ ปลาอินทรี ปลาไทล์ เป็นต้น

  • ปรอทผสมกับโลหะเพื่อใช้สำหรับการอุดฟัน (ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มยกเลิกการใช้งานแล้ว)

  • ส่วนผสมของสีใช้ทาภายในบ้าน

  • ใช้ทาไม้กันมอดและเพื่อให้ของใช้แวววาว

  • เป็นส่วนประกอบกับขี้ผึ้งสำหรับขัดพื้นบ้าน ขัดเฟอร์นิเจอร์ ทาเครื่องหนังสัตว์ ขัดทารองเท้าหนัง ป้องกันเชื้อรา และกลิ่นอับ

  • เป็นส่วนผสมในยาฆ่าแมลง และฆ่าเชื้อรา

  • ถ่านไฟฉาย

  • อุตสาหกรรมผลิตทองคำ

  • ปรอทอัลคิล ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราในเมล็ดธัญพืช

  • พลาสติก

  • หลอดไฟ

  • เครื่องวัดความดันโลหิต

  • กระจกเงา

  • ในอุตสาหกรรมผลิตหมวกสักหลาด

  • ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น สวิตช์อัตโนมัติในตู้เย็นและกระแสไฟฟ้าตรง

  • ใช้ทำสีแดงในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

  • สารประกอบของปรอท ถูกนำมาผลิตยารักษาโรค

สารปรอทในถ่านไฟฉาย

อาการแสดงออกเมื่อรับสารปรอท

ผลกระทบระยะสั้น

  • ปอดถูกทำลาย

  • ไอ เจ็บคอ

  • หายใจไม่ทั่วท้อง

  • เจ็บหน้าอก

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

  • ระดับความดันโลหิต หรืออัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น

  • ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน

  • รู้สึกถึงรสโลหะในปาก

  • ปวดศีรษะ

  • ชาตามร่างกาย

  • มีผื่นแดง

  • ผิวหน้าดำ

  • ผิวบาง

  • เป็นฝ้า

  • ระคายเคืองตา

  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น การได้ยิน

ผลกระทบในระยะยาว

  • ตับและไตอักเสบ

  • สมองและไตถูกทำลาย

  • โลหิตจาง

  • ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • วิตกกังวล รู้สึกประหม่า หงุดหงิด

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย สั่น ชา

  • การมองเห็น การได้ยินเปลี่ยน

  • นอนไม่หลับ

  • หากหนักมากอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

สารปรอท เรียกได้ว่าแทรกซึมอยู่ในทุกอณูของของใช้หรือแม้แต่อาหารที่เราชอบทานเลยล่ะค่ะ ซึ่งก็ไม่สามารถบ่งบอกได้แน่ชัดเลยว่าเราจะได้รับปรอทมาตั้งแต่เด็กมากขนาดไหน นอกจากผ่านการตรวจ Oligoscan ที่สามารถแสดงค่าการสะสมย้อนหลังไป 10 ปีได้ หรือแม้แต่การใช้ถ่ายไฟฉายหรือปรอทวัดไข้ใกล้ตัวที่ก็ไม่รู้ว่าสารปรอทข้างในแอบรั่วตอนไหน กระจายภายในห้องที่เก็บไว้หรือเปล่า คุณจึงจำเป็นต้องหาสาเหตุที่แน่ชัด หลังจากเช็กแล้วสามารถทำคีเลชั่นเพื่อขจัดปรอทออกจากเลือดได้ที่ ไธรฟ์ คลินิก (อ่านเพิ่มเติมเรื่องคีเลชั่นได้ที่นี่)

    0