1 นาที

ปวดท้องบ่อย ท้องเสียประจำ อาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นลำไส้อักเสบ

อัพเดตเมื่อ: 31 มี.ค. 2022

ลำไส้สำคัญยังไง?

พฤติกรรมเสี่ยง ลำไส้พัง!

ลำไส้อักเสบ เกิดจาก?

อาการแบบไหน เรียก ‘ลำไส้อักเสบ’

วิธีการรักษาเบื้องต้นเมื่อเป็นลำไส้อักเสบ

ลำไส้อักเสบ ทานยาก็หาย ไม่ร้ายแรงจริงหรือ?

สำไส้อักเสบ ห้ามกินอะไร?

ลำไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง?

ตรวจสมดุลลำไส้และการกำจัดสารพิษ Urine Organic Profile Test เหมาะกับใคร?

ประโยชน์ของการตรวจสมดุลลำไส้ Urine Organic Profile Test

ลำไส้มีความสำคัญไม่แพ้สมอง หัวใจ หรือปอดเลยค่ะ เรียกได้ว่าหากอยากมีสุขภาพที่ดี ทุกอวัยวะในร่างกายก็ต้องดีและสมดุลไปพร้อมกันด้วย ส่วนของลำไส้อาจมองดูไม่น่าจะช่วยเสริมให้สุขภาพเราแข็งแรงหรือเกิดอาการป่วยหนักได้ขนาดนั้น แต่แท้จริงแล้ว ลำไส้ เรียกได้ว่า เป็นสมองลำดับที่ 2 ในร่างกายเลยล่ะค่ะ

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก
 
ชวนคุณทำความเข้าใจกับลำไส้ในร่างกาย และโรคลำไส้อักเสบ ที่ทุกคนสามารถเป็นได้ทุกเมื่อ และอาจร้ายแรงถึงขั้นมะเร็ง ถ้าหากปล่อยไว้ไม่ดูแล

ลำไส้สำคัญยังไง?

ลำไส้ มีหน้าที่ในการลำเลียง ดูดซึมและย่อยอาหารเพื่อประโยชน์แก่ร่างกาย สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ลำไส้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเองค่ะ โดยไม่ต้องได้รับการสั่งการจากสมอง และบางทีสารเคมีบางอย่างก็ถูกสร้างจากลำไส้ไปส่งกลไกให้สมองทำงานอีกด้วย ลำไส้จึงถูกขนานนามว่าเป็น ‘สมองลำดับสองของร่างกาย’

เช่น เมื่อมีการรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ถูกลำเลียงเข้าสู่ลำไส้แล้ว ลำไส้จะคัดแยกสารอาหารได้เองทันที และดูดซึมต่อไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่ต้องการพลังงานจากสารอาหารนั้น หรือหากสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็เปรียบได้กับเป็นตำรวจตรวจจับและขับพิษออกจากร่างกายให้ทันทีผ่านอาการท้องเสีย


ลองจินตนาการดูว่า...

หากลำไส้ของคุณผิดปกติ เป็นลำไส้อักเสบ

ดูดซึมอาหารหรือขับพิษออกไปไม่ได้ ร่างกายคุณจะดำเนินไปยังไงต่อ?


ปวดท้องบ่อย ท้องเสียประจำ อาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นลำไส้อักเสบ

พฤติกรรมเสี่ยง ลำไส้พัง!

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อลำไส้มากที่สุด เพราะเกี่ยวพันต่อการทำงานโดยตรง แต่ปัจจัยเสริมที่เพิ่มเข้ามาก็เป็นความเครียด การนอนไม่หลับที่ส่งผลเป็นโดมิโน่ต่อไปเรื่อยๆ

สำหรับชาวออฟฟิศ โรคลำไส้อักเสบ นับเป็นอีกโรคยอดฮิตไม่แพ้ ออฟฟิศซินโดรมเลยค่ะ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะการทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา ทานเมนูเดิมๆ ซ้ำๆ ทานอาหารขยะ หรืออาหารสำเร็จรูปบ่อยๆ ทำให้ร่างกายได้สารอาหารที่ไม่ครบถ้วน และส่วนแรกที่ได้รับผลกระทบก็คือลำไส้นั่นเองค่ะ

และจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่ทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปเมื่อมีสารพิษปนเปื้อนในอาหารร่างกายคนเราจะขับออกไปได้ แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำลำไส้จะไม่สามารถกำจัดสารพิษนี้ออกไปได้เลย และเกิดการสะสมคั่งค้างภายในลำไส้จนทำลายเนื้อเยื่อคุณแทน ซึ่งสาเหตุนี้ไม่มีวิธีป้องกันล่วงหน้าใดได้นอกจากการตรวจภูมิคุ้มกันเพื่อให้ทราบความต้านทานของภูมิคุ้มกันตนเองและดูแลรักษาลำไส้ให้ดีค่ะ

ลำไส้อักเสบ เกิดจาก?

ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease: IBD) ที่บริเวณเยื่อบุของลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ทำให้ผนังของลำไส้เกิดแผล มีเลือดออก

เช็คด่วนอาการเหล่านี้ ลำไส้แปรปรวนหรือไม่?

อาการแบบไหน เรียก ‘ลำไส้อักเสบ’

  • มีอาการลำไส้บีบตัว

  • ปวดท้องเหมือนโดนบีบ

  • ถ่ายอุจจาระเหลว เป็นน้ำ มีลักษณะมูกหรือมูกเลือดร่วมด้วย

  • ขับถ่ายบ่อยจนผิดปกติ ในบางคนมากถึงวันละ 10-20 ครั้ง จนถึงขั้นตื่นกลางดึกเพื่อมาขับถ่าย

  • รู้สึกอ่อนเพลีย

  • มีไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • น้ำหนักลด

  • ดื่มน้ำได้น้อย

  • บางคนมีอาการข้ออักเสบ ตาอักเสบ

วิธีการรักษาเบื้องต้นเมื่อเป็นลำไส้อักเสบ

  • ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ หรือการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ

  • ในช่วงที่มีอาการควรหลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก รสจัด ควรทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ซุป โจ๊ก ข้าวต้ม

  • หากมีอาการปวด เป็นไข้ร่วมด้วย สามารถทานยาพาราเซตามอลได้

  • พากพบว่ามีเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะ

  • ปรึกษาแพทย์

ลำไส้อักเสบ ทานยาก็หาย ไม่ร้ายแรงจริงหรือ?

สำหรับการเป็นลำไส้อักเสบขั้นต้นที่ไม่รุนแรง หรือไม่บ่อยมากนักสามารถหายได้ด้วยการทานยาค่ะ ร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กี่วันอาการคุณก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในบางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้นด้วยสภาพร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน คุณจึงจะเห็นได้ว่าสำหรับบางคนแค่การทานยาก็ไม่พอ

หากปล่อยอาการลำไส้อักเสบไว้บ่อยเข้า ไม่ทำการรักษาอย่างถูกต้องและป้องกันให้ดี ยังนำคุณไปสู่อาการป่วยถึงขั้นชีวิตได้ เช่น

  • ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน

  • ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

  • ลำไส้เล็กอักเสบ หรือ โรคโครห์น

  • โรคลำไส้แปรปรวน

  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ

  • โรคลำไส้ตรงอักเสบ

  • โรคลำไส้ส่วนปลายอักเสบ

สำไส้อักเสบ ห้ามกินอะไร?

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คุณเกิดอาการแพ้

  2. ไม่รับประทานผักดิบ เนื้อสัตว์ดิบ อาหารย่อยยากทั้งหลาย

  3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ

  4. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม เพราะจะทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหาร

  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

  6. ไม่ทานอาหารที่มีรสจัด

ลำไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง?

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด

  • ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มให้สะอาด

  • เน้นทานอาหารย่อยง่าย เช่น ไก่ (ไม่มีหนัง) ปลา ไข่

  • เน้นให้ร่างกายได้รับวิตามิน A และเบต้าแคโรทีน เช่น ฟักทอง แครอทต้มสุก

  • ผลไม้สุกเนื้อนิ่ม เช่น กล้วย มะละกอ

  • ผักใบเขียวต้มสุก เช่น คะน้า กวางตุ้ง

  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น กุ้ง หอย ผักกูด ผักโขม

  • ควรเลือกทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ

อาการลำไส้อักเสบนั้นมักไม่ค่อยเป็นในทันที แต่มักเกิดจากการสะสมบ่อยครั้ง เพราะร่างกายเราที่แข็งแรง และมีกลไกซึ่งสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่หากหลายครั้งเข้า ผนังลำไส้ได้รับความเสียหายหนักขึ้นเรื่อยๆ การดูดซึมอาหารที่ไม่เพียงพอไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ แล้วสุดท้ายเอฟเฟกต์ก็จะกลับมาให้ลำไส้ไม่สามารถซ่อมแซมได้อย่างที่ควรจะเป็น ในที่สุดก็ป่วยและทรุดหนักทันทีโดยไม่มีสัญญาณเตือน

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีแนวทางการรักษา พร้อมตรวจวิเคราะห์กรดอินทรีย์ในปัสสาวะ มากกว่า 50 ชนิด ที่ช่วยป้องกันการเสียหายของลำไส้แบบล่วงหน้าและทันท่วงทีด้วยการตรวจ Urine Organic Profile Test

ตรวจสมดุลลำไส้และการกำจัดสารพิษ Urine Organic Profile Test เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการเผาผลาญ

  • ผู้ที่ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษได้

  • กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง หรือ Adrenal fatigue

  • ผ้ที่น้ำหนักขึ้น ลง แบบไม่มีสาเหตุ

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่ายเป็นประจำ

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ป่วยง่าย หรือ ป่วยบ่อย

  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ รวมถึงอาการทางจิต ระบบประสาทต่างๆ

ประโยชน์ของการตรวจสมดุลลำไส้ Urine Organic Profile Test

  • กระบวนการเผาผลาญไขมัน (Fatty Acid Metabolism) : บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบการเผาผลาญไขมันและกรดไขมัน ที่ส่งผลให้ควบคุมน้ำหนักได้ยาก

  • กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต : ตรวจการทำงานของวงจรคีโตซิส หรือ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาเป็นแหล่งพลังงานหลักได้

  • การเสียสมดุลของลำไส้ : การตรวจหาแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา ในลำไส้ที่มากเกินกว่าปกติ จนทำให้ลำไส้เสียสมดุล

  • การทำงานของ Vitamin B : การตรวจดูการทำงานของวิตามินบีนั้นปกติ และทำงานเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ในระดับเซลล์

  • ตรวจสมดุลการสร้างสื่อประสาท (Neuro Transmitter) : ตรวจการสร้างฮอร์โมนจำพวกโดปามีน เซโรโทนีน ที่เป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน ที่มีส่วนสำคัญในการการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และระบบภูมิคุ้มกัน

  • เตาผลิตพลังงานเสื่อมสภาพ (Mitochondria Dysfunction) : ตรวจไมโตคอนเดรียในร่างกาย ที่เปรียบเหมือนเตาผลิตพลังงานของเซลล์

  • ภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) : บ่งบอกภาวะการไม่สมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระ หากร่างกายบริโภคไขมันมากเกินไปจนเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น ภาวะการไม่สมดุลนี้จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย

  • ความสามารถในการขจัดสารพิษ (Detoxification) : ตรวจดูประสิทธิภาพของตับและสำไส้ในการกำจัดสารพิษและดูดซึมอาหาร

    0