1 นาที

ภาวะมีบุตรยาก เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมวิธีการรักษา

อัพเดตเมื่อ: 12 มิ.ย. 2023

คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...

ภาวะแบบไหนถึงเรียกมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

การรักษาภาวะมีบุตรยากทำอย่างไร

🆕ทำแบบสอบถามเพื่อรับส่วนลดพิเศษ

ปัญหาการเกิดใหม่ของเด็กไทยมีภาวะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากคู่สมรสที่อยากมีลูกแต่ไม่สามารถมีได้ อีกทั้งปัจจัยทางสุขภาพต่าง ๆ ทั้งจากไข่ อสุจิ มดลูก อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้นั่นเอง

ภาวะแบบไหนถึงเรียกมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ การที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากการพยายามมีบุตร โดยการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลา 1 ปี และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มักพบได้บ่อยในคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป

ซึ่งการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติร่างกายจะเกิดกระบวนการ คือ ขั้นแรกรังไข่ต้องมีการตกไข่ (Ovulation) และไข่นั้น จะเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่ การปฏิสนธิจะเกิดในท่อนำไข่นี้ โดยที่อสุจิต้องเดินทางผ่านช่องคลอดเข้าไปในมดลูกและเข้าไปผสมกับไข่ในท่อนําไข่ จากนั้นไข่ที่ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนจะฝังตัวในเยื่อบุมดลูกและพัฒนาเป็นทารกต่อไป หากมีปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าจะขั้นตอนใดในกระบวนการนี้จะนําไปสู่ภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

  • เกิดปัญหาที่มดลูกและปากมดลูก เกิดจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น เนื้องอกในโพรงมดลูก (Submucous Myoma) ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Endometrial Polyp) พังผืดในโพรงมดลูก (Intrauterine Adhesion) ซึ่งมักจะทำให้เกิดการรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน และยังเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร

  • ปัจจัยเรื่องการตกไข่ (Ovulation disorder) คือ การที่ไม่มีไข่ตกตามรอบ สังเกตได้จากประจำเดือนไม่มาหรือมาผิดปกติ หากรอบเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือ มากกว่า 36 วัน เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น จำนวนและคุณภาพของไข่ในรังไข่ก็จะลดลง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นจึงทำให้มีบุตรยากขึ้นตามไปด้วย ช่วงเวลาตกไข่ สามารถตรวจได้เองด้วยชุดตรวจการตกไข่ ซึ่งจะสามารถประเมิณระยะเวลาที่ไข่จะตกได้และควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

  • อายุของเพศหญิงที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากจะพบ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนหลายตัว โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ เช่น วัยใกล้หมดประจำเดือน ที่มีผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์ เช่น รังไข่เสื่อม จำนวนไข่ที่ผลิตได้ลดน้อยลง การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือความเสื่อมของร่างกายส่วนอื่น ๆ อีกด้วย

  • ช่องคลอดปิด จากสรีระทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงรังไข่ตีบ หรือได้รับการผ่าตัด ทำให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมได้

  • ปัญหาอสุจิ เป็นอีกปัจจัยที่พบได้บ่อยเช่นกัน คุณผู้ชายสามารถตรวจอสุจิ (Semen Analysis) เพื่อจะช่วยบอกคุณภาพของน้ำเชื้อ ปริมาณตัวอสุจิ การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ รวมไปถึงรูปร่างตัวอสุจิได้

  • โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเรื้อรังที่มีค่าอักเสบในร่างกายสูง ส่งผลกระทบให้เกิดโรคของผู้หญิง เช่น โรค PCOS

  • การรักษาทางการแพทย์ ที่หลังการรักษาส่งผลให้ท่อรังไข่ตีบ ผนังมดลูกไม่สมบูรณ์

การรักษาภาวะมีบุตรยากทำอย่างไร

  1. การรักษาด้วยการปรับสมดุลฮอร์โมนให้หลั่งอย่างปกติ คุณหมอแนะนำให้มีการตรวจร่างกายประจำปี และตรวจระดับฮอร์โมน ตั้งแต่อายุ 30 ปี

  2. การเสริมวิตามิน ที่มีส่วนช่วยให้ไข่ทำงานอย่างปกติ เช่น Vitamin B6, Vitamin B12, Vitamin C, Fish Oil นอกจากจะช่วยเสริมสร้างการทำงานของไข่และรังไข่ ยังช่วยลดค่าการอักเสบ และลดอนุมูลอิสระในร่างกายได้อีกด้วย

  3. วิธีการผ่าตัด เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติภายในมดลูก เกิดก้อนในมดลูก ที่ส่งผลกระทบต่อรอบเดือน การตกไข่ ทำให้ปฏิสนธิได้ยาก

  4. วิธีการช่วยผสมไข่กับอสุจิ เช่น การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI), การปฏิสนธินอกร่างกาย ด้วยวิธี IVF (เก็บไข่ ใช้ฮอร์โมนกระตุ้น ไม่สามารถเลือกโครโมโซมได้), ICSI (สามารถเลือกไข่และอสุจิเพื่อผสมได้)

คลิกเพื่อแบบสอบถามประเมินสุขภาพผู้ที่วางแผนมีบุตร หรือadd Line เพื่อปรึกษากับที่ปรึกษาสุขภาพของเราได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม

    1