1 นาที

ไม่ตรวจก็ไม่รู้ กับโรคความดันสูง ที่เราทุกคนมีความเสี่ยง

อัพเดตเมื่อ: 23 ก.พ. 2023

คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...

ความดันโลหิต คืออะไร

เพราะความดันโลหิตมีปัญหา เกิดเป็นโรคความดันสูง

สถานกาณ์โรคความดันโลหิตสูงในไทย

ความดันสูง ประเมินเสี่ยงก่อนสาย เพราะหากรู้ตัวอาจรุนแรงระยะสุดท้าย

ป้องกันความดันโลหิตสูงง่ายๆ แค่ลด ละ เลิก

ปัญหาสุขภาพจากโรคร้ายแรงทั้ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคเบาหวาน ล้วนมาจากระบบการทำงานในร่างกายมีภาวะไม่สมดุลต่อการทำงาน หนึ่งในสาเหตุที่ส่งผล นั่นคือระบบการไหลเวียนโลหิตที่ผิดปกติและทำงานหนักจนเกิดเป็น ‘โรคความดัน’

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก
 
ชวนสร้างความเข้าใจถึงโรคความดันที่คนไทยป่วยและเสี่ยงสูง

อาหารไทยที่เน้นปรุงจัด เช่น ปลาร้า เมนูผัด แกงต่างๆ

ส่งผลให้คนไทยเสี่ยงความดันสูง

ความดันโลหิต คืออะไร

ความดันโลหิต (Blood Pressure) คือ ค่าของแรงดันเลือดที่ถูกสูบฉีดอยู่ภายในหลอดเลือด ซึ่งเกิดได้จากการบีบตัวของหัวใจ เพื่อสูบฉีดเลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยความดันเลือดจะเกิดขึ้นทั้งขณะที่หัวใจบีบตัวและหัวใจคลายตัว เพราะเลือดต้องมีการไหลเวียนตลอดเวลาทั่วร่างกาย ดังนั้น ความดันเลือดจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นเดียวกัน

ค่าความดันโลหิตที่เราวัดกันนั้นจะสามารถวัดได้เป็น 2 ค่า คือ

  1. ความดันช่วงบนจากการบีบตัวของหัวใจ (Systolic) ระดับปกติจะอยู่ที่ ต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท

  2. ความดันช่วงล่างจากการคลายตัวของหัวใจ (Diatolic) ระดับปกติจะอยู่ที่ ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท

ลองสังเกตกันดูนะคะ วัดความดันโลหิตครั้งหน้า

ระดับความดันทั้ง 2 ค่าคุณปกติอยู่หรือเปล่า?

เพราะความดันโลหิตมีปัญหา เกิดเป็นโรคความดันสูง

เมื่อค่าความดันโลหิตไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป คือความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และนำไปสู่ภาวะที่ความดันทำให้เส้นเลือดเกิดการแข็งตัว เลือดค้างนานเส้นเลือดที่อวัยวะเสื่อม หัวใจขาดเลือด

โรคความดันสูง (Hypertension) มักไม่เกิดปัญหาโดยตรงและตรวจไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มักแฝงไปด้วยภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคไต เบาหวาน หลอดเลือดแดงตีบ หลอดเลือดไตตีบ เสี่ยงเกิดเนื้องอกบบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เส้นเลือดในสมองอุดตัน ไตวายเรื้อรัง

สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในไทย

โรคความดันโลหิตสูง ถูกจัดให้เป็นโรคที่มีปัญหาทางสุขภาพต่อประชากรโลก เพราะมีอัตราการเสียชีวิตสูงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีผู้ป่วยทั่วโลกราว 1.56 พันล้านคน

ในประเทศไทยเอง ก็เป็นไปตามแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นในอัตราผู้ป่วยโลกเช่นเดียวกัน จากการสำรวจผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนในปี 2552 เป็น 13 ล้านคน ในปี 2557 และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูงประมาณ 10 ล้าน ความน่ากังวลคือ กว่า 70% ไม่รู้ตัวว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจาก โรคนี้ไม่ได้มีอาการที่สามารถบอกได้ชัดเจนจนกว่าจะได้รับการวัดค่าความดันเลือด

โรคความดันสูง ไม่มีสัญญาณเตือนและเกิดได้กับทุกคน

แต่ในวัยผู้ใหญ่พบสูงถึง 25-30% และพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง

อันตรายจากความดันโลหิตสูง

ความดันสูง ประเมินเสี่ยงก่อนสาย เพราะหากรู้ตัวอาจรุนแรงระยะสุดท้าย

  • มีอาการเวียนศีรษะ ตึงช่วงต้นคอ มักมีอาการช่วงตื่นนอน

  • หากมีภาวะความดันสูงเป็นเวลานนานจะมีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว เลือดกำเดาไหล

  • สาเหตุอาจเกิดได้จาก ภาวะทางอารมณ์ (ความเครียด), การออกกำลังกาย, ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ คาเฟอีน, พันธุกรรม, น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน, รับประทานอาหารเค็มจัด, รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคไข้หวัด ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด

ดื่มน้ำน้อย ส่งผลให้ระบบไหลเวียนทำงานหนัก

เลือดมีความข้น หนืด ส่งผลให้ความดันเลือดสูง

สาเหตุหัวใจขาดเลือกจากความดันโลหิตสูง

ป้องกันความดันโลหิตสูงง่ายๆ แค่ลด ละ เลิก

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยโรคแทรกซ้อน

  • จำกัดปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา ลดการทานอาหารที่มีกุ้งแห้ง ผักกาดดอง ปลาหมึกแห้ง ปลาร้า หอยดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมซอง เพราะมีปริมาณโซเดียมสูง

  • ดูแล Mental Health ให้ไม่เครียดเกินไป สุขภาพจิตดี ผ่อนคลายช่วยลดความเสี่ยงได้

  • รับประทานที่ดี เช่น อะโวคาโด กล้วยหอม ปลาแซลมอน ช่วยให้ร่างกายขับโซเดียมทางปัสสาวะได้มากขึ้น

  • รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช นมไขมันต่ำ

  • รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะการตรวจสุขภาพจะสามารถป้องกัน และทราบได้อย่างแน่ชัดว่าคุณมีภาวะความดันสูงหรือไม่

ทานส้มตำมากเกินไป ส่งผลให้มีปริมาณโซเดียมมาก ทำให้ความดันโลหิตสูง

ทานยามากเกินไป ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง

แนะนำการตรวจสุขภาพที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ได้รับบริการตรวจที่ครอบคลุมในทุกเรื่องของสุขภาพ พร้อมได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงระบบการทำงานในร่างกาย พฤติกรรมที่สามารถส่งผลถึงโรคแทรกซ้อน และยังเสริมด้วยวิธีการรักษาที่ไม่พึ่งยาเพื่อลดภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมา

พร้อมเข้ารับบริการได้อย่างสะดวก ไม่ต้องรอนาน
 
บรรยากาศที่คลินิกผ่อนคลาย เป็นกันเอง

---------

สนใจเข้ารับการตรวจสุขภาพติดต่อ

Thrive Wellness Clinic 🌿 ไธรฟ์ คลินิก

โครงการ The Crystal

เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เฟส 1 ชั้น 2

📱โทร. 0959349640

💬Line @thrivewellnessth

📺instagram.com/thrivewellnessth

🕙เปิดทุกวัน 10:00-20:00

    0