1 นาที

ฮอร์โมนเพศหญิง ที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้จัก

อัพเดตเมื่อ: 25 ม.ค. 2023

คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...

FSH ฮอร์โมนที่ส่งผลให้ไข่สมบูรณ์

LH ฮอร์โมนที่ส่งผลให้ไข่ตก

Estrogen Hormone ฮอร์โมนที่ส่งผลอารมณ์เหวี่ยงวีน

Progesterone Hormone ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อสรีระความเป็นหญิง

กลไกการทำงานของร่างกายเพศหญิง ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ที่เป็นส่วนช่วยในการเจริญเติบโต ความอยากอาหาร การนอนหลับ การเป็นประจำเดือน การตกไข่ วัยทอง อารมณ์ ผิวพรรณ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพที่สำคัญ

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พามาทำความรู้จัก 4 ฮอร์โมนที่สำคัญต่อเพศหญิง
 
ว่ามีการทำงานที่ส่งผลต่อกันอย่างไรบ้าง ถึงจะทำให้ร่างกายคุณสุขภาพดี

Follicular stimulating hormone (FSH) ฮอร์โมนที่ส่งผลให้ไข่สมบูรณ์

ฮอร์โมน FSH ถูกสร้างมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่เรียกว่า Anterior Pituitary โดยทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ ส่งผลต่อการเป็นประจำเดือน และการตั้งครรภ์

ระดับค่า FSH โดยปกติจะไม่เกิน 10 mIU/ml ซึ่งหากอยู่ในเกณฑ์ปกติจะส่งผลให้มีบุตรง่าย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อกระตุ้นการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกต่อไป หากร่างกายมีระดับ FSH ที่ต่ำหรือสูงเกินไป เป็นไปได้ว่าอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค PCOS (ถุงน้ำรังไข่), ภาวะวัยทอง, ภาวะมีบุตรยากได้ สังเกตได้จากมีอาการประจำเดือนมาผิดปกตินั่นเอง

Luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมนที่ส่งผลให้ไข่ตก

ฮอร์โมน LH ถูกสร้างขึ้นที่ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มีหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกในทุก ๆ รอบเดือน โดยฮอร์โมน LH จะหลั่งออกมาในช่วงที่ไข่สมบูรณ์แล้ว (หลังการหลั่งของฮอร์โมน FSH) ฮอร์โมน LH จะทำให้ไข่สุกเพื่อรอการปฏิสนธิจากอสุจิ และยังมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน Estrogen, Progesterone ที่ส่งผลให้เกิดประจำเดือนอีกด้วย

โดยฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดการไข่ตกภายใน 12-36 ชม. ดังนั้นหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ หรือภายใน 48 ชม. จะเพิ่มมีโอกาสในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง

ดังนั้น ฮอร์โมน FSH และ ฮอร์โมน LH หากมีการหลั่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงกลางรอบเดือน จะกระตุ้นการเจริญของไข่ทำให้ไข่เจริญเติบโตมากขึ้น เมื่อขนาดของไข่ใหญ่ขึ้นก็จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง Estrogen, Progesterone มากขึ้นเช่นกัน การทำงานของทั้งสองฮอร์โมนจะไปสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัวขึ้น เพื่อรอโอบอุ้มไข่ที่พร้อมจะปฏิสนธิกับอสุจิ หากไม่ได้มีการปฏิสนธิเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะค่อย ๆ ลอก และหลุดออกมาเป็นประจำเดือน

Estrogen Hormone ฮอร์โมนที่ส่งผลอารมณ์เหวี่ยงวีน

Estrogen Hormone ถูกสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตและรังไข่ จึงมีหน้าที่ในการผลิตไข่, การตกไข่, การสร้างตกขาว, การสร้างเยื่อบุมดลูกเพื่อรองรับการปฏิสนธิ ส่งผลทางร่างกายให้หลายส่วนในเพศหญิง

  • ควบคุมการมีประจำเดือนและการหมดประจำเดือน

  • รักษาสภาวะทางอารมณ์ให้คงที่

  • ควบคุมน้ำหนักและความสมส่วนของรูปร่าง

  • ช่วยเสริมสร้างกระดูก กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว

  • ช่วยให้ผิวของผู้หญิงมีความเนียนนุ่ม ละเอียดต่างจากเพศชาย

  • ช่วยลดระดับไขมัน LDL ที่ไม่ดี และเพิ่มระดับไขมันดี HDL

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

Estrogen Hormone จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นหากคุณเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุ 48-51 ปี ซึ่งเป็นวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย จากการที่ Estrogen Hormone เลิกผลิต โดยเริ่มสังเกตได้จากผิวหนังที่เริ่มเหี่ยวย่น, ริ้วรอยบนใบหน้า, อาการร้อนวูบวาบ, อารมณ์เหวี่ยงวีนไม่มีสาเหตุ

และช่องคลอดแห้งเป็นต้น

Progesterone Hormone ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อสรีระความเป็นหญิง

Progesterone Hormone ถูกสร้างขึ้นสร้างจากต่อมหมวกไตและรังไข่ เหมือนกันกับ Estrogen Hormone โดยจะมีหน้าที่ที่คล้ายกันในการควบคุมการตกไข่และมีประจำเดือน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งผลในด้านสรีระมากกว่าเช่น ผิวเนียนนุ่ม, มีหน้าอก, เอวคอด และในด้านของอารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเรียบร้อย อ่อนหวาน อ่อนไหวง่าย ตามสไตล์ผู้หญิง

ในส่วนของร่างกายฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะช่วยให้กลไกการตกไข่เป็นปกติ ประจำเดือนมาไม่ขาด ช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกง่ายขึ้นหากไม่เกิดการปฏิสนธิ หรือในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวจนเกินไป ช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น และในผู้หญิงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนช่วยให้มดลูกคลายตัว และจะช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้นเพราะช่วยให้มดลูกบีบตัวในช่วงใกล้คลอด

เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิด ที่เป็นฮอร์โมน Estrogen และ Progesterone สังเคราะห์ จะส่งผลให้ร่างกายไม่เกิดการสร้างฮอร์โมน FSH และ LH หากรับประทานอย่างเป็นประจำ ร่างกายจะเกิดความเคยชินทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา หรือเกิดความผิดปกติได้


Thrive Wellness Clinic พร้อมให้บริการตรวจระดับฮอร์โมน Estrogen, Progesterone โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดในระยะยาวจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในผู้หญิง พร้อมตรวจเช็กระดับฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานพื้นฐานในร่างกาย เช่น Metabolism และฮอร์โมนเพศ ที่มักเปลี่ยนแปลงไปในช่วงอายุ 30-40 ปี

⚠️ รู้หรือไม่? ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญต่อการมีประจำเดือน มีบุตร ผิวพรรณเต่งตึง อารมณ์คงที่ จะเริ่มเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ช่วงอายุ 30-40 ปี ยิ่งมีความเครียดเรื้อรัง ทำงานหนัก อาจทำให้คุณเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนกำหนด

    0