1 นาที

Triglyceride ค่าที่ไม่ควรมองข้าม เช็กให้ชัวร์!ระบบ Metabolism เบิร์นไม่ได้?

คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...

Triglyceride (ไตรกลีเซอไรด์) คืออะไร

ไตรกลีเซอรไรด์สูง! มีอาการอย่างไร

สาเหตุไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจากอะไร

ไตรกลีเซอไรด์สูง สัญญาณเตือนโรคร้าย

วิธีรักษาเมื่อไตรกลีเซอไรด์สูง ทำอย่างไร

ทำความเข้าใจกับ ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันตัวร้ายที่เกิดจากการทานอาหารมื้ออร่อย แล้วไม่ถูกเผาผลาญจึงย้ายไปสะสมที่พุง แขน ขา ตับ และอันตรายถึงขั้นไตรกลีเซอไรด์อุดตันในหลอดเลือดหัวใจ

Triglyceride คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร่างกาย

Triglyceride (ไตรกลีเซอไรด์) คือ ไขมันภายในร่างกายที่ตับ สังเคราะห์ขึ้น จากน้ำตาล ข้าว แป้ง เพื่อสำหรับใช้เป็นพลังงานสำรองเมื่อร่างกายขาดกลูโคส และยังเกิดขึ้นได้จากไขมันในอาหาร เช่น หมูสามชั้น น้ำมัน เนย กะทิ โดยเมื่อถูกเปลี่ยนเป็น Triglyceride แล้วจะถูกสะสมเพื่อรอใช้งาน ที่บริเวณเนื้อเยื่อไขมัน และตับ

ปัญหา คือ หากคุณรับประทานอาหารไขมันมากเกินจำเป็นที่ร่างกายต้องการ จะเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง การสะสมที่เนื้อเยื่อและตับ จะทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็งเต้านม ซึ่งระดับปกติของ Triglyceride จะอยู่ที่ 50-150 mg/dL

ไตรกลีเซอรไรด์สูง! มีอาการอย่างไร

เมื่อมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง (High Triglycerides) ซึ่งเป็นภาวะที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 mg/dL ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตไม่สะดวก เสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน หัวใจขาดเลือด ทำให้คุณเกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย หน้ามืด

สาเหตุไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจากอะไร

  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงในปริมาณมาก

  • ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน

  • ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ไขมันไม่ถูกนำมาใช้เป็นพลังงาน

  • ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่

  • ได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์, เอสโตรเจน, ยาคุมกำเนิด

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม

ไตรกลีเซอไรด์สูง สัญญาณเตือนโรคร้าย

  • โรคเบาหวาน หรือ โรคเบาหวานประเภท 2

  • ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ (Metabolic Syndrome) ที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง อ้วนลงพุง น้ำหนักตัวเกิน เกิดขึ้นพร้อมกัน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ ( Hypothyroidism )

วิธีรักษาเมื่อไตรกลีเซอไรด์สูง ทำอย่างไร

  • ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาที

  • ควบคุมอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง อย่างพอดี ไม่ควรมากกว่าที่พลังงานได้รับต่อวัน คือ 1,600-1,800 กิโลแคลอรี่

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก ผลไม้ และรับประทานอาหารประเภทไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก ปลาที่อุดมไปด้วย โอเมก้า 3 หรือน้ำมันปลาก็ช่วยให้ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันระดับไตรกลีเซอไรด์สูง

Thrive Wellness Clinic พร้อมให้บริการตรวจระดับ Triglyceride เป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันโรคที่มาพร้อมไขมันสูง และรักษาได้ทันหากร่างกายเกิดผิดปกติ ด้วยแพ็กเกจการตรวจค่าเคมีเลือด ที่บ่งบอกถึงระดับไขมัน Triglyceride, HDL, LDL, ระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับการทำงานของตับและไต, ระดับฮอร์โมนพื้นฐานที่สำคัญ

Young Balance Package ราคา 9,900.-

    0