1 นาที

งูสวัด โรคที่อาจแฝงอยู่และเป็นได้ไม่รู้ตัว

อัพเดตเมื่อ: 7 ธ.ค. 2022

คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...

โรคงูสวัด คืออะไร?

เคยเป็นอีสุกอีใส จะเสี่ยงเป็นงูสวัด จริงหรือไม่?

เช็ก! อาการโรคงูสวัด

โรคงูสวัด อันตรายไหม งูสวัดพันรอบตัวแล้วถึงตายหรือเปล่า?

โรคงูสวัด ป้องกันและรักษาได้

กำลังรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเปล่า? หรือเกิดผื่นแดงเป็นปื้นที่ผิว ร่วมกับมีตุ่มน้ำใส เรียงกันเป็นกลุ่มและรู้สึกแสบร้อน อาการที่มาพร้อมกับปวดตามตัว 2-3 วันก่อนหน้า อาจเป็น ‘โรคงูสวัด’ โดยไม่ทันตั้งตัว

โรคงูสวัด นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ดูแลตนเองเบื้องต้นอย่างไรบ้าง เป็นแล้วหายขาดได้ไหม ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนเรียนรู้สาเหตุอีกหนึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัส

โรคงูสวัด คืออะไร?

โรคงูสวัด (Herpes zoster) คือ โรคทางผิวหนัง มีอาการคัน ผื่นแดง เป็นตุ่มใส ปวดแสบปวดร้อน เพราะเกิดจากการรับเชื้อไวรัส Varicella Zoster (VZV) ที่แฝงอยู่ตามแนวเส้นประสาท มักไม่แสดงอาการทันทีแต่เมื่อภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ก็จะเกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ มักเป็นบริเวณรอบเอว แนวชายโครง แขน ขา ใบหน้า ที่มีเส้นประสาทอยู่

เคยเป็นอีสุกอีใส จะเสี่ยงเป็นงูสวัด จริงหรือไม่?

งูสวัด สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เพราะมีเชื้อไวรัสตัวเดิมแฝงอยู่แล้วภายในร่างกาย คือเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ หรือ เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรค HIV โรค SLE จึงมักมีอาการแทรกซ้อนของงูสวัดได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

แต่ในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสก็ต้องระวัง เพราะสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มพองของโรคได้ หากร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำก็อาจเสี่ยงเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัดนี้ได้ทันที

เช็ก! อาการโรคงูสวัด

  • มีอาการปวดตามตัว เกิดผื่นแดงโดยไม่ทราบสาเหตุ ประมาณ 2-3 วัน

  • อาจมีไข้ หรือไข้ต่ำๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ

  • เกิดปวดแสบปวดร้อน มีตุ่มใสเรียงกันเป็นกลุ่มเป็นแนวยาว ตามแขน ขา รอบเอว ใบหน้า และแตกออกเป็นแผลจนตกสะเก็ด

โรคงูสวัด อันตรายไหม งูสวัดพันรอบตัวแล้วถึงตายหรือเปล่า?

โรคงูสวัด ไม่อันตรายร้ายแรงและส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วสามารถหายเองได้ แต่อาจมีเอฟเฟกต์หลังจากหาย คือมีอาการปวดตามเส้นประสาทที่อาจเกิดนานเป็นเดือน หรือเป็นปี ดังนั้นหากเกิดงูสวัดขึ้นรอบตัวจึงไม่เสียชีวิต แต่หากมีอาการป่วยร่วมกับภูมิต้านทานต่ำมากอาจต้องระวัง

โรคงูสวัด ป้องกันและรักษาได้

ปัจจุบัน ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัดได้ โดยจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากติดเชื้อก็สามารถลดความรุนแรงของอาการ รวมถึงอาการปวดเส้นประสาทหลังการติดเชื้อได้

แนะนำเสริมภูมิคุ้มกัน ด้วยวิตามินและแร่ธาตุ จากผักผลไม้ที่อุดมไปด้วย Vitamin C, Vitamin B, Vitamin D, Zinc ที่มีส่วนช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาว ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หากมีอาการอักเสบหรือปวดตามเส้นประสาทบริเวณหลัง บ่า ไหล่ หรือส่วนอื่นๆ แนะนำ Detox สารพิษที่อาจเกิดจากการตกค้างของเชื้อไวรัสภายในร่างกาย คุณหมอแนะนำสาร Glutathione ที่ดีต่อการช่วยเสริมประสิทธิภาพของตับ ขับสารพิษ เชื้อไวรัสออกจากร่างกาย หรือจากกรดไขมันอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic Acid) หรือ ALA ที่ดีต่อการช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวดเมื่อย ช่วยอาการหมอนรองกระดูก เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และยังสนับสนุนการทำงานของ Glutathione, Vitamin C, Vitamin E, CoQ10 ให้เซลล์ดึงไปใช้งานในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณหมอแนะนำรักษาด้วยวิธีการ IV Drip ลักษณะคล้ายการให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุโดยตรงผ่านทางหลอดเลือดดำ ทำให้ร่างกายดูดซึม ดึงสารอาหารไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างมีปะสิทธิภาพ

    0