การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงแบบ FIT 132
คุณควรตรวจหรือไม่
การแพ้อาหารแฝงเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา อาจจะเนื่องด้วยหลายปัจจัย อย่างเช่น อาหารแปรรูป ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาที่เพิ่มขึ้น การติดเชื้อ และอีกมากมาย และทั่วไปแล้วปัญหาภูมิแพ้อาหารแฝงมักจะสัมพันธ์กับปัญหาระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝงได้
ในทางกลับกัน อาหารที่แพ้เองก็อาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหารได้โดยตรงจากการอักเสบ นำไปสู่ภาวะที่เรียกว่าลำไส้รั่ว (Leaky gut)
จากภาวะนี้ทำให้เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่ควรจะเกาะติดกันแน่นเปิดออก อาหารที่รับประทานเข้าไปซึ่งโดยปกติควรถูกย่อยโดยสมบูรณ์กลับถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด ผ่านช่องว่างระหว่างผนังเหล่านี้ โมเลกุลของอาหารที่ไม่ผ่านการย่อยโดยสมบูรณ์อาจจะไปกระตุ้นปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันเสมือนว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม
ท้ายที่สุดก็ก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบ ทำให้เกิดอาการของภูมิแพ้อาหารแฝงได้ อย่างเช่น ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย ปวดท้อง หรืออาจจะส่งผลต่อระบบอื่นของร่างกาย เช่น ผื่นคัน ลมพิษ คันจมูก กระตุ้นหอบหืด ปวดศีรษะไมเกรน สมองตื้อ อ่อนเพลีย เป็นต้น
เพราะว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่จำเพาะเจาะจง และอาจไม่ได้เกิดทันทีหลังรับประทานอาหาร ทำให้เป็นการยากที่จะทราบว่ามีภูมิแพ้แฝงต่ออาหารชนิดนั้นๆ โดยไม่ได้อาศัยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง เช่น FIT Test และอาหารบางชนิดอาจมีโปรตีนคล้ายคลึงกัน และกระตุ้นการแพ้อาหารแฝงได้ เรียกว่าการแพ้อาหารข้ามกลุ่ม (cross reactivity)
และนี่ช่วยอธิบายว่าทำไมถึงอาจจะตรวจพบการแพ้อาหารแฝงต่ออาหารบางชนิดได้ แม้ว่าจะไม่เคยได้รับประทานมาก่อนเลยก็ตาม ตัวอย่างเช่นมันฝรั่งขาว กับ มันฝรั่งแดง มักตรวจพบปฏิกิริยาเหมือนกันกลูเตนจากข้าวสาลี กับ กาแฟ มักตรวจพบปฏิกิริยาเหมือนกัน เนื่องจากมีอนุภาคคล้ายกลูเตนในกาแฟ
อาหาร 8 กลุ่ม ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยที่สุด
การแพ้อาหารสามารถเกิดเกิดกับอาหารชนิดใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม 90% ของการแพ้อาหารเกิดจากอาหาร 8 กลุ่มนี้ การแพ้อาหารมักจะเกิดจากส่วนประกอบโปรตีนในอาหารนั้น หรือที่เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergens) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ก่อให้เกิดปัญหาในคนทั่วไป เพราะระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้มีปฏิกิริยาต่อโปรตีนเหล่านี้ แต่สำหรับคนที่มีอาการแพ้อาหาร ระบบภูมิคุ้มกันกลับมีปฏิกิริยาต่ออาหารเหล่านี้ และก่อให้เกิดอาการผิดปกติตามมา
พบว่าอาหารใน 8 กลุ่มนี้ คือ ไข่ นม ถั่วลิสง ถั่วเมล็ดแข็ง ปลา หอย ปู ถั่วเหลือง และข้าวสาลี ก่อให้เกิดการแพ้อาหารบ่อยที่สนุด ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้เฉียบพลัน หรืออาการแพ้แฝง
แนวทางในการรักษา
การเลี่ยงอาหาร (elimination diet) ที่ก่อให้เกิดอาการสักระยะ เป็นหนึ่งในแนวทางในการรักษาภูมิแพ้อาหารแฝงและเมื่ออาการดีขึ้นก็สามารถกลับมารับประทานอาหารชนิดนั้นๆ ได้
การแพ้ข้าวสาลีและกลูเตน (Wheat and Gluten)ตรวจภูมิแพ้แฝงต่อโปรตีนที่มีในข้าวสาลีและกลูเต็นที่พบในธัญพืช 4 กลุ่ม ดังนี้
-
โปรตีนในแป้งสาลีทั้งเมล็ด ประกอบด้วย กลูเต็น 10% ที่เหลือ 90% เป็นโปรตีนอื่นๆ ผสมกัน เช่น อัลบูมินและโกลบูลิน
-
กลูเตนอย่างเดียว
-
โปรตีนธัญพืชทั้งเมล็ดที่ประกอบด้วย กลูเตน และโปรตีนอื่น เช่น โอ๊ต ไรย์ บาร์เลย์ ข้าวฟ่าง
-
โปรตีนข้าว ซึ่งไม่มีกลูเตน
บุคคลที่แพ้โฮลวีต (ข้าวสาลีทั้งเมล็ด) หรือธัญพืชชนิดอื่นๆ แต่ตรวจไม่พบการแพ้กลูเตน เป็นไปได้สูงที่จะไม่มีปัญหาการแพ้กลูเตน แต่แพ้โปรตีนชนิดอื่นๆ ในธัญพืช
หากตรวจพบผลบวกต่อกลูเตนอย่างเดียว หรือทั้งกลูเตน โฮลวีต และธัญพืช เป็นไปได้ว่ากลูเตนเป็นสาเหตุหลักของการแพ้ หลายๆคนมีการแพ้ต่อโปรตีนอื่นๆ ในธัญพืชที่มีอยู่กว่า 90% ที่ไม่ใช่กลูเตน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจที่แตกต่างกันทั้ง 4 กลุ่มนี้ และหากพบว่ามีการแพ้ต่อกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของโฮลวีต และธัญพืชที่มีกลุเตน เช่น โอ๊ต ไรย์ บาร์เลย์ และข้าวฟ่าง พบว่าข้าวเป็นอาหารทดแทนที่ดี เนื่องจากไม่มีกลูเตน เว้นเสียแต่ว่าตรวจพบการแพ้ข้าวร่วมด้วยการแพ้แฝงต่อข้าวสาลีโปรตีนในข้าวสาลี หากไม่ถูกย่อยอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่การแพ้กลูเตนได้ และก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ผื่นคันเรื้อรัง อ่อนเพลียนานไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ เป็นต้น
โดยหลายๆครั้งอาการแย่ลงเรื่อย ๆ และนำไปสู่โรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้แปรปรวน แพ้กลูเตนรุนแรง (Coeliac disease) และหากเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตนได้ อาการก็มักจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบของอาหารมากมาย โดยเฉพาะอาหารแปรรูปที่รับประทานกันทุกวัน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะงดข้าวสาลีได้โดยสมบูรณ์
ปัญหาสำคัญที่พบคืออาจมีโปรตีนข้าวสาลีเจือปนจากขั้นตอนการผลิตอาหารแปรรูปได้ ยิ่งทำให้หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้นไปอีกกลูเตนเป็นโปรตีนที่พบในเมล็ดธัญพืชหลายชนิด ใช้ประกอบอาหาร เช่น ขนมปัง ทำให้มีลักษณะเหนียวๆยืดๆ และขึ้นรูป ซึ่งกลูเตนในพืชกลุ่ม Triticeae มีองค์ประกอบหลักเป็นโปรลามินและกลูตินิน (prolamins and glutenins) และกลูเตนในบาร์เลย์ ไรย์ โอ๊ต เป็นฮอร์เดียม เชคาลิน และ อเวนิน(hordeum, secalin และ avenin) ตามลำดับ
แต่ก็ยังมีปริมาณกลูเตนน้อยกว่าในแป้งสาลีมากจะหลีกเลี่ยงกลูเตนหรือข้าวสาลีได้ จำเป็นต้องอ่านฉลากโภชนาการอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะในอาหารแปรรูป ต้องแน่ใจว่ามีสัญลักษณ์ปลอดกลูเตน "Gluten-free" และปลอดข้าวสาลี "Wheat-free" บางครั้งพบว่าอาหารเป็น "Wheat-free" แต่ยังมีส่วนประกอบของกลูเตนจากธัญพืชชนิดอื่น ซึ่งก่อปัญหาการแพ้ได้เช่นกัน
อาหารที่มีกลูเตน
-
ขนมปังและแป้ง: ขนมปังและแป้งสำหรับประกอบอาหารส่วนมากมีส่วนประกอบของข้าวสาลี บุคคลที่แพ้กลูเตนควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากแป้งสาลี บาร์เลย์ สแปลต์ โอ๊ต ไรย์ และอาหารอื่นๆ เช่น คามุท ข้าวทริทิเคลี
-
ผลิตภัณฑ์จากนม: ผลิตภัณฑ์จากนมหลายอย่างมีส่วนประกอบของกลูเตนจากข้าวสาลี และกระตุ้นให้เกิดการแพ้ได้ ตัวอย่างอาหาร เช่น นมช็อคโกแลต ไอศกรีม โยเกิร์ต ชีส พุดดิ้ง เครื่องดื่มมอลต์
-
อาหารแปรรูป: เนื้อสัตว์แปรรูปส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของกลูเตน ผ่านกระบวนการแปรรูป อาหารแปรรูปอื่นๆ เช่น เบียร์ มอลต์ อาหารหมักดอง กาแฟสำเร็จรูป ลูกอม หรือแม้แต่เครื่องเทศบางชนิดก็อาจมีข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบ
-
สารเพิ่มความข้นหนืด: อาหารที่มีเจลาติน หรือสารเพิ่มความข้นหนืดเป็นส่วนประกอบมักจะมีกลูเตน เช่น เยลลี่ แยม ผงปรุงรส น้ำเชื่อม ซอสสเต็ก ซุปผง ซุปก้อน น้ำพริก
-
ธัญพืชบางชนิด: บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพ้กลูเตนรุนแรง (celiac disease) จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงทั้งข้าวสาลี ไรย์ และบาร์เลย์ เพราะมีกลูเตน ธัญพืชที่ไม่มีกลูเตนหาได้ยาก จึงทำให้การหลีกเลี่ยงอย่างเหมาะสมยากขึ้นไม่อีกอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป หรือผ่านขั้นตอนการแปรรูปไม่มาก เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้ ผัก นม และไข่ โดยปกติแล้วค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากเป็นอาหารที่ไม่มีกลูเตนอยู่แล้ว การเลือกอาหารที่ผ่านการแปรรูปไม่มากทำให้การหลีกเลี่ยงกลูเตนง่ายขึ้นมาก เพราะโอกาสที่เจือปนกลูเตนน้อยอาหารทดแทนข้าวสาลี หรือกลูเตน
-
ข้าวและแป้งข้าว
-
แป้งจากถั่ว แป้งมันสำปะหลัง แป้งมันฝรั่ง
-
ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป
-
อาหารที่มีสัญลักษณ์ ปลอดกลูเตน "gluten-free"
วิธีการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงแบบ FIT
ใช้การตรวจวิธี ELISA ที่ถาดตรวจจะมีแอนติเจนของอาหารที่แตกต่างกันในแต่ละหลุม จากนั้นนำซีรั่มของผู้ตรวจหยดลงในถาดเพื่อทำการทดสอบปฏิกิริยาที่แอนติบอดี้ชนิด IgG และสารเชิงซ้อนทางอิมมูน เข้าจับกับแอนติบอดี้จากอาหาร หลังจากขั้นตอนนี้ ส่วนของแอนติบอดี้ที่ไม่จับกับแอนติเจนของอาหารจะถูกล้างออก ขั้นตอนถัดไป เพื่อการวัดปริมาณการเกิดปฏิกิริยา สารคอนจูเกตจะถูกเติมลงไปในถาดและทำการอ่านสัญญาณที่ได้ โดยเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อความถูกต้อง โดยให้ผลเป็นบวกหรือลบต่ออาหารแต่ละชนิดผลสีแดง แสดงค่า 4+ จนถึงสีเขียวอ่อน แสดงค่า 1+ และสีเขียวเข้มบ่งบอกค่าเป็นลบ หรือปกติ
ความเป็นมาของการตรวจภูมิแพ้อาหารแบบ FIT
การตรวจ FIT Test วัดการแพ้แฝงต่ออาหาร สีผสมอาหาร และสารปรุงแต่งในอาหารรวม 132 ชนิด โดยใช้เทคนิคการตรวจพิเศษที่ตรวจปฏิกิริยาที่เกิดกับทั้งแอนติบอดีชนิด IgG และสารเชิงซ้อนทางอิมมูน เพื่อชี้วัดปฏิกิริยาต่ออาหารเหล่านี้ การตรวจวัดร่วมกันเช่นนี้จะให้สัญญาณคู่ซึ่งช่วยเพิ่มความเที่ยงตรง เมื่อเทียบกับการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงเทคนิคอื่นๆ ซึ่งมักจะวัดเฉพาะระดับแอนติบอดีชนิด IgG
แพคเกจการตรวจรวมอะไรบ้าง
-
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
-
Report รูปเล่ม
-
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
-
แนะนำด้านโภชนาการ / การออกกำลังกาย
-
การตรวจวัด Body Composition
-
ส่วนลดค่ายา 5%
ระยะเวลาในการทราบผล
ระยะเวลาในการดำเนินการทางห้องปฎิบัติการ 10 วัน
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
สามารถตรวจโดยไม่ต้องอดอาหารและน้ำก่อนมาตรวจ