top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

PM 2.5 ตัวการเกิดสารพิษโลหะหนักในหลอดเลือด


PM 2.5 ตัวการเกิดสารพิษโลหะหนักในหลอดเลือด

ฝุ่น PM 2.5 นอกจากจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังเป็นตัวการสำคัญที่นำพาสารพิษโลหะหนักเข้าสู้ร่างกายเราแบบไม่รู้ตัวอีกด้วย วันนี้เราจะมาพูดถึงสารพิษโลหะหนักที่มาจากฝุ่น PM 2.5 ว่ามีตัวไหนบ้างรวมไปถึงวิธีการกำจัดสารพิษเหล่านี้ว่าควรทำอย่างไร



ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร


ฝุ่น PM2.5 เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถึงจะเป็นเพียงฝุ่นละอองขนาดเล็ก แต่เมื่ออยู่รวมกันจะกินพื้นที่ในอากาศมหาศาล ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณสูง เกิดเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกัน


ฝุ่น PM 2.5 กับสารพิษโลหะหนัก


ผุ่นละอองนี้จะมีสารพิษโลหะหนักปะปนอยู่ด้วย เช่น ซีลีเนียม แคดเมี่ยน สารหนู เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเล็ดลอดเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังเล็ดลอดเข้าไปถึงปอดเข้าสู่เส้นเลือดได้โดยตรง และแทรกซึมเข้าไปในกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคมะเร็งปอด โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจ เป็นต้น


วิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5


  • สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเวลาออกจากบ้าน และควรเลือกหน้ากาอนามัยที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ได้ เช่น หน้ากาก N95

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดโอกาศการหายใจและนำฝุ่นเข้าร่างกาย หากเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้

  • ปิดประตูหน้าต่าง และใช้เครื่องฟอกอากาศ เพื่อลดฝุ่นละอองและมลพิษภายในบ้าน

  • ดื่นน้ำสะอาดเพื่อช่วยขับสารพิษ


PM 2.5 ตัวการเกิดสารพิษโลหะหนักในหลอดเลือด

ด้วยปัจจัยทางการดำเนินชีวิต หรือ ปัจจัยภายนอกที่คุณเองไม่สามารถควบคุมไม่ให้เจอกับฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ จึงส่งผลให้ในร่างกายของคุณมีการสะสมสารพิษโลหะหนัก ซึงสามารถกำจัดออกได้ด้วย Chelation


Chelation คือ การล้างสารพิษโลหะหนักในหลอดเลือดผ่านการ Detox รูปแบบหนึ่ง เพื่อดึงเอาสารพิษชนิดโลหะหนักออกจากร่างกาย แต่จะเติมสารดักจับโลหะหนัก EDTA โดยผ่านวิธี IV Drip เพื่อทำการจับโมเลกุลของสารพิษที่เป็นโลหะหนักสะสมภายในหลอดเลือด และช่วยให้หลอดเลือดกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง


สำหรับคนที่สนใจเข้ารับบริการ IV Drip Chelation Therapy ข้อควรทราบคือ


  1. ตรวจ CBC, BUN, Creatinine เพื่อประเมินเม็ดเลือดและความสมบูรณ์ของไต

  2. อ่านผลพร้อมกันกับคุณหมอ

  3. คุณหมอจะประเมินจากผลที่ได้ว่าคุณควรเข้ารับ Chelation จำนวนกี่ครั้ง


bottom of page