top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี (Vitamin D insufficiency or deficiency) 

 

คือ ภาวะที่ระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำกว่าค่าปกติ พบในคนทั่วไป ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลงส่งผลให้มวลกระดูกลดลงจนนำไปสู่ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนั้นแล้วยังอาจส่งผลต่ออาการอักเสบเรื้อรัง ระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะซึมเศร้า อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง อารมณ์แปรปรวน หรือแม้แต่อาการ Burn out Syndrome

สอบถามการตรวจระดับวิตามินดี คลิกเลย

scan_here-click-me.png
QR-L-Vitamin D check.png

หากขาดวิตามินดีควรทำอย่างไร?

 

แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้วิตามินดีเสริม โดยประเภทของวิตามินดีจะขึ้นอยู่กับสภาวะและความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

 

ตรวจติดตามระดับวิตามินดีในเลือดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามการตรวจระดับวิตามินดี คลิกเลย

scan_here-click-me.png
QR-L-Vitamin D check.png

Vitamin D3 Level ตรวจระดับวิตามินดี

girl-with-arms-stretched-sun.jpg

คุณมี วิตามินดี พอหรือยัง?

จากข้อมูล พบว่าคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าคนไทยในภูมิภาคอื่น ๆ โดยกว่าร้อยละ 60 ของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเกือบร้อยละ 50 ของคนในตัวเมืองแต่ละจังหวัดต่าง ๆ มีภาวะพร่องวิตามินดีมากกว่าคนในพื้นที่ชนบท ทั้ง ๆ ที่ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากผิวหนังเมื่อโดนแสงแดด แต่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่อยู่ในห้องหรืออาคาร และออกมาสัมผัสแสงแดดลดลง จึงทำให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า ภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี

วิตามินดีมีความสำคัญอย่างไร?

วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย คือช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร และรักษาระดับแร่ธาตุดังกล่าวในเลือดให้เป็นปกติ ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์อันเป็นสาเหตุให้เกิดการสลายกระดูก ซึ่งหากขาดวิตามินดีจะส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหารลดลง มวลกระดูกลดลง เมื่อลื่น ตก หกล้ม อาจเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้มากขึ้น นอกจากนี้ ภาวะขาดวิตามินดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Ricket disease) และโรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ (Osteomalacia) เป็นต้น

ระดับวิตามินดี3ที่เหมาะสม
bottom of page