2 นาที

คุณรู้จัก แร่ธาตุ ดีแค่ไหน? สารอนินทรีย์ที่มอบให้ตั้งแต่เรื่องผิวพรรณ ฟัน ผม เล็บ ไปจนถึงอวัยวะภายใน

อัพเดตเมื่อ: 20 ก.ค. 2022

แร่ธาตุ คือ

แร่ธาตุ มีอะไรบ้าง

อาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุอะไรบ้าง

การมีสุขภาพร่างกายที่ดีแบบองค์รวม ประกอบขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง แร่ธาตุ คือปัจจัยหนึ่งที่สำคัญหากขาดไปเอฟเฟกต์ทางสุขภาพก็จะปรากฏให้คุณเห็นได้อย่างชัดเจน วิธีง่ายๆในการดูแร่ธาตุลองสำรวจบริเวณเล็บมือของคุณว่ามีดอกเล็บเป็นขีดๆ อยู่หรือไม่? ช่วงนี้ผมร่วงเป็นกระจุกเกินไปหรือเปล่า อาการสั่นขาแบบอยู่ไม่สุข ต้องเขย่าอยู่ตลอดเวลา

อาการเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการขาดแร่ธาตุนั่นเองค่ะ แต่หากขาดแร่ธาตุบางชนิดก็อาจไม่มีผลลัพธ์ให้คุณได้รู้ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาคุณสร้างความเข้าใจแบบย่อยง่ายในเรื่องราวของ ‘แร่ธาตุ’ ที่แสนจะจำเป็น พร้อมแนะนำวิธีสำรวจแร่ธาตุในร่างกายแบบง่ายๆ ไม่เจ็บตัว สะดวก รวดเร็วไม่ถึง 3 นาที ก็รู้ผล


การตรวจ Oligoscan

นวัตกรรมใหม่ล่าสุดด้วยเทคโนโลยี Spectrophotometry จากยุโรป

สามารถรู้ผลลัพธ์ของแร่ธาตุในร่างกายของคุณได้อย่างครบถ้วน

เพียงการตรวจด้วยจุด 4 จุดบนฝ่ามือ ง่าย สะดวก พร้อมวางแผนสุขภาพที่ดี

แบบล่วงหน้าโดยไม่ต้องรอให้เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับคุณก่อน


แร่ธาตุ คือ

แร่ธาตุ คือ สารที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสิ่งมีชีวิตค่ะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น สารประกอบอนินทรีย์ ซึ่งสารกลุ่มนี้จะได้รับมาจากการบริโภคพืชและเนื้อสัตว์เท่านั้นค่ะ เรียกง่ายๆ ว่า แร่ธาตุ ก็เป็นสารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้กลไกการทำงานของเซลล์และอวัยวะทำงานได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง

แต่แร่ธาตุก็มีความจำเป็นที่แตกต่างกันด้วยนะคะ ต้องได้รับในสัดส่วนที่พอดีไม่มากเกิน หรือน้อยเกินไปจนทำให้ร่างกายเราพังลง มารู้จักแร่ธาตุกันให้มากขึ้นดีกว่าว่ามีอะไร และแร่ธาตุชนิดไหนช่วยอะไรกันบ้าง

แร่ธาตุ มีอะไรบ้าง

แร่ธาตุหลัก

Calcium (แคลเซียม)

  • จำเป็นในการสร้างกระดูก ฟัน ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การหดตัวของเลือด ระบบประสาท และการหลั่งของฮอร์โมน

  • อายุ 19-70 ปี ควรได้รับ 1000-1200 มก.

  • มีผลงานวิจัยที่แคลเซียมสามารถลดความเสี่ยงต่อการพัฒนาเนื้องอกของมะเร็งต่อมลูกหมาก (Grau MV et al, J Natl Cancer Inst., 2007)

  • แต่การบริโภคแคลเซียมที่มากเกินกว่า 1000 มก./วัน ก็ส่งผลให้เสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งเช่นกัน จากผลการศึกษาที่เชื่อมโยงกับข้อมูลโภชนาการแห่งชาติ NHANES ระหว่างปี 1999 ถึง พ.ศ. 2010 ของคนสหรัฐอเมริกาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป (Chen F et al, พงศาวดารของ Int Med., 2019)

Phosphorous (ฟอสฟอรัส)

  • จำเป็นต่อกระดูก ฟัน DNA RNA

  • สำหรับผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 700-1000 มก.

  • ในการทดลองของหนูที่ได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงพบการเติบโตของเนื้องอกในปอด (Jin H et al, Am J จากการแพทย์ระบบทางเดินหายใจและที่สำคัญ, 2008)

Potassium (โพแทสเซียม)

  • จำเป็นต่อการทำงานของไตและหัวใจให้เป็นปกติ การส่งสัญญาณประสาท และควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ

  • ควรได้รับ 1600-2000 มก

  • หากมีโพแทสเซียมมากเกินไปส่งผลให้เกิดอาการบวมและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

Magnesium (แมกนีเซียม)

  • จำเป็นต่อระบบเผาผลาญ การผลิตพลังงาน การสังเคราะห์ DNA RNA โปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระ การทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ควบคุมน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต

  • ผู้ชาย ควรได้รับ 400-420 มก.

  • ผู้หญิง ควรได้รับ 310-320 มก.

  • การศึกษาผู้ชายและผู้หญิง ในอายุ 50-76 ปี การเพิ่มขึ้นและลดปริมาณของแมกนีเซียม อาจเป็นประโยชน์ต่อการลดมะเร็งตับอ่อนได้ในอนาคต (Dibaba D et al, Br J Cancer, 2015)

Sodium (โซเดียม)

  • จำเป็นต่อทุกระบบในร่างกาย สร้างสมดุลของน้ำในร่างกาย ดูดซึมสารอาหารไปยังเซลล์ ควบคุมการทำงานของหัวใจให้เป็นปกติ ส่งผ่านสัญญาณประสาทความรู้สึก

  • ควรได้รับไม่เกิน 2300 มก

  • หากได้รับมากเกินไปจะเกิดอาการบวมน้ำ ก่อให้เกิดไตเสื่อม ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

Sulphor (กำมะถัน)

  • จำเป็นต่อสุขภาพผม ผิวพรรณ และเล็บ รักษาสมดุลออกซิเจน ช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรีย ช่วยการทำงานของข้อต่อ

  • หากได้รับไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดผิวแห้ง ผมแห้ง แสบคัน เล็บไม่แข็งแรง

Chloride (คลอไรด์)

  • จำเป็นต่อการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายและภายนอกเซลล์ รักษาความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร

  • หากได้รับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

แร่ธาตุมีในอาหารอะไรบ้าง

แร่ธาตุรอง

Trace mineral คือแร่ธาตุที่ต้องการไม่เกิน 100 มก./วัน

  • Iron เหล็ก : ช่วยสร้างออกซิเจนในเซลล์ และช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

  • Zinc สังกะสี : ส่วนช่วยในการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ ปรับสมดุลฮอร์โมน

  • Selenium ซีลีเนียม : เสริมสร้างภูมิต้านทาน สารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • Manganese แมงกานิส : สำคัญต่อกระดูก ตับ หัวใจ ต่อมพิทูอิตารี ช่วยผลิตพลังงานที่จำเป็นต่อกระดูกและฟัน

  • Copper ทองแดง : ส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ในระบบหายใจ การเจริญเติบโตของกระดูก

  • Iodine ไอโอดีน : สำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ควบคุมระบบเผาผลาญในร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก ช่วยพัฒนาสมอง

  • Chromium โครเมียม : สำคัญต่อการเผาผลาญน้ำตาล ลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคเบาหวาน กระดูกเปราะ คามดันโลหิตสูง

  • Cobalt โคบอลท์ : กระตุ้นการสร้างน้ำย่อย สร้างเม็ดเลือดแดง

  • Fluoride ฟลูออไรด์ : ช่วยป้องกันฟันผุ และความแข็งแรงของฟัน

  • Molybdenum โมลิบดินัม : สำคัญต่อการสร้าง DNA RNA ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน

  • Vanadium วานาเดียม : จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้สารอาหารเข้าสู่เซลล์ได้ดี ป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

ธัญพืชแหล่งรวมแร่ธาตุ

กราโนล่า มื้อเช้าง่ายๆ เพิ่มแร่ธาตุ

แร่ธาตุ จึงเป็นสารที่สำคัญและเราไม่ควรให้ร่างกายปล่อยผ่านไปได้ แต่การจะต้องมานั่งคำนวณ หรือเช็กลิสต์ว่าอะไรบ้างในแต่ละเดือนที่เราขาดแร่ธาตุชนิดไหนไป มันก็คงจะยากและไม่สามารถทราบได้ง่ายๆ นอกจากร่างกายคุณจะแสดงออกมาให้เห็น แต่นั่นก็คงต้องใช้เวลาฟื้นฟูอยู่นานพอควรเลยล่ะค่ะ

อาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ

  • ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี มีแมกนีเซียม สังกะสี แมกนีเซียม ทองแดง ซีลีเนียม ฟอสฟอรัสมากที่สุด

  • หอย เช่น หอยนางรม หอยกาบ หอยแมลงภู่ มีซีลิเนียม สังกะสี ทองแดง และธาตุเหล็กพบมากที่สุด

  • ผักตระกูลกะหล่ำ มีซัลเฟอร์ แมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส แคลเซียมมากที่สุด

  • เครื่องในสัตว์ มีซีลีเนียม สังกะสี ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส มากที่สุด

  • ไข่ มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส สังกะสี ซีลีเนียม มากที่สุด

  • โกโก้ มีแมกนีเซียม และทองแดง

  • อะโวคาโด มีแมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง โพแทสเซียมมากที่สุด

  • ตระกูลเบอร์รี่ เป็นแหล่งรวมโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแมงกานีส

  • โยเกิร์ตและชีส มีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ซีลีเนียม

  • ปลาซาดีน มีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซีลีเนียมมากที่สุด

  • มันหวาน มันฝรั่ง มีไฟเบอร์ สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ เป็นต้น

  • กล้วย มะม่วง เสาวรส ฝรั่ง ขนุน สับปะรด มีโพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง และแมกนีเซียมมากที่สุด

  • ผักใบเขียว มีแมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็กมากที่สุด

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีโปรแกรมการตรวจ Oligoscan ให้คุณได้ทราบถึง

แร่ธาตุในร่างกายของคุณได้อย่างครบถ้วน เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่คาดว่าขาดสารอาหารแต่ไม่แน่ใจว่าเป็นแร่ธาตุชนิดใด หรือต้องการวางแผนทางด้านสุขภาพที่ดีให้แก่ตนเอง

ได้รับทั้งการตรวจและคำปรึกษาจากหมอผู้เชี่ยวชาญ


    0