top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png
dna_edited.jpg

Hair Loss

ผมร่วง

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น นอกจากร่างกายที่เปลี่ยนไปแล้ว เส้นผมบนหนังศีรษะก็ฟ้องว่ากําลังเข้าสู่วัยชราเช่นกัน
ทั้งร่วง บาง และเปลี่ยนสี ผมร่วงผมบางนั้นทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจ เป็นหนึ่งในปัญหาเช่นกัน

Holistic-Approach.jpg

Holistic-Approach.jpg

Holistic-Approach.jpg

Treatment แนวทางการรักษา

Holistic-Approach.jpg

การวิเคราะห์วิตามินเฉพาะบุคคล

การวิเคราะห์สารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายแบบเฉพาะบุคคล ช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Holistic-Approach.jpg

ตรวจระดับฮอร์โมน Hormones Test

ฮอร์โมนที่ไม่สมดุลนั้น ส่งผลต่ออารมณ์ น้ำหนัก ความเหนื่อยล้า ผมร่วง ผมบาง และการนอนหลับ การปรับฮอร์โมนให้กลับมาสมดุล จึงมีส่วนสำคัญต่อการดูแลสุขภาพโดยรวมทั้งหมด

Holistic-Approach.jpg

วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด Vitamin IV Drip

วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด Vitamin IV Drip
ด้วยสูตรวิตามินที่หลากหลาย จึงช่วยตอบโจทย์ความต้องการในการฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างตรงจุด

วงจรชีวิตของเส้นผม HAIR GROWTH CYCLE
วงจรชีวิตของเส้นผมมี 3 ระดับคือ
- เจริญเติบโต (Anagen) โดยในสภาวะนี้จะมีช่วงเวลา ประมาณ 2-8 ปีโดยปรกติ ผมเราจะยาวขึ้นเดือนละ 1 cm 80% ของผมคนเราจะอยูในสภาวะนี้
- ช่วงสภาวะเสื่อมถอย (Catagen) ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์ผมของเราเริ่มเข้าสู่สภาวะเสื่อมสภาพ และพร้อมที่จะหลุดร่วงได้ตลอดเวลา ในระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 1 เดือน โดย 2% ของผมเราจะอยู่ในช่วงเวลานี้
- ช่วงหลุดร่วงและ งอกใหม่ (Telogen) อาจเรียกได้ว่าเป็นระยะพักตัว ในชวงเวลา 3-4 เดือน เมื่อผมที่เสื่อมสภาพหลุดร่วงออกไป เซลล์ที่ทําหน้าที่งอกผมจะมีระยะพักตัว ก่อนที่ผมจะเริ่มงอกใหม่และเข้าสู่ช่วงเจริญเติบโตต่อไป

ผมร่วงแบบศีรษะล้านจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia or female-pattern baldness) ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ชาย แต่ก็พบได้ประปรายในผู้หญิง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน (ซึ่งพบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง) ไปเป็นฮอร์โมน ดีเอชที (DHT – dihydrotestosterone) โดยปกติในผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ในภาวะใดก็ตามที่ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จะทำให้ฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวนี้เด่นขึ้น และทำให้เกิดภาวะผมบางที่บริเวณส่วนบนหรือด้านข้างของศีรษะคล้ายที่พบในผู้ชายได้

ผมร่วงอาจเกิดจากภาวะความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายได้ เช่น การได้รับยาเม็ดคุมกำเนิด ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ ภาวะเหล่านี้จะทำให้เกิดฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักตัวเร็วขึ้นกว่าปกติ ผมจึงหลุดร่วงเร็วขึ้น นอกจากนี้ฮอร์โมนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีก เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน อาจพบภาวะผมร่วงได้ทั้งในผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนไทรอยด์สูงและไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ

การตั้งครรภ์และผมร่วงหลังคลอด ในช่วงตั้งครรภ์ผมที่ควรจะร่วงปกติกลับยังคงอยู่ ความหมายคือช่วงตั้งครรภ์ผมจะร่วงน้อยมากแม้ในคนที่เคยมีประวัติผมร่วงง่ายมาก่อนจะตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดมีระดับที่สูงขึ้น หลังคลอดฮอร์โมนดังกล่าวมีการลดลงสู่ระดับปกติจึงพบว่ามีผมร่วงมากขึ้น บางครั้งร่วงเป็นกระจุก บางครั้งอาจไม่พบทันทีหลังคลอด แต่กลับพบผมร่วงมากหลังคลอดแล้วนานถึง 3 เดือนก็ได้ ผมที่ร่วงมากขึ้นนี้ส่วนใหญ่จะกลับขึ้นปกติได้ภายใน 12-16 เดือน หลังเกิดอาการ

ภาวะไข้สูงก่อนจะมีผมร่วง 60-120 วันในคนที่มีผมร่วงแบบมากๆ อาจจะลืมไปว่าในอดีตย้อนกลับไป 2-4 เดือนก่อนหน้านี้ มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ทำให้มีไข้สูง 39 -40 °C - องศาเซลเซียส เช่น โรคที่พบบ่อย คือ ไข้เลือดออก, ไข้หวัดใหญ่, ไข้ไทฟอยด์, ไข้จากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ อาการผมร่วงจากภาวะนี้เองอาจจะเป็นผลโดยตรงจากโรคเหล่านี้หรือเป็นจากยาที่ใช้รักษาโรคเหล่านี้ตอนที่เป็น ทั้งยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยาต้านไวรัส หรือยาอื่นๆที่ได้รับช่วงเจ็บป่วย

ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจหรือหลังการการผ่าตัด ภาวะความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัดสามารถที่จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัว การปรับตัวของร่างกายให้ต่อสู้กับความเครียดที่เกิดขึ้น ร่างกายอาจหยุดการทำงานที่ไม่จำเป็นเช่น การสร้างผมก็หยุดไว้ก่อน ผมร่วงที่เกิดจากภาวะนี้จะกลับเจริญขึ้นใหม่ได้เองหลังจากนี้ 6 เดือน นอกจากนี้โรคบางโรคอาจทำให้เกิดผมร่วงได้ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDs) โรคเอสแอลอี (SLE) หรือ โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

การขาดอาหาร การลดน้ำหนัก อดอาหาร หรือในผู้ป่วยโรคจิตบางชนิด เช่น อนอเรกเซีย, บูลีเมีย (anorexia, bulimia) อาจทำให้รากผมเกิดภาวะช็อค และหยุดการเจริญชั่วคราวได้ สารอาหารที่ร่างกายได้รับไม่พอเพียง ทั้งโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ จะถูกนำไปใช้กับร่างกายในส่วนที่สำคัญก่อน ดังนั้นผมอาจจะหยุดการเจริญชั่วคราว เมื่อได้รับสารอาหารที่เพียงพออีกครั้งผมจะเจริญขึ้นใหม่ได้อีก ส่วนเรื่องน้ำหนักที่ลดลงจะเป็นด้วยความตั้งใจควบคุมหรือจากความเจ็บป่วย ไม่ว่าจะจากการออกกำลังกายหรือควบคุมอาหาร หากลดลงอย่างมากและรวดเร็วเกิน 1.5 กก./เดือน มีโอกาสที่จะเกิดผมร่วงได้อย่างมากๆแทบทั้งสิ้น

การใช้ยาบางประเภท ยาบางประเภทมีผลข้างเคียงทำให้เกิดผมร่วงเช่น ยาเคมีบำบัด ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคเก๊าฑ์ วิตามิน A ขนาดสูงที่ใช้ในการรักษาสิว ดังนั้นหากต้องใช้ยาอะไรเป็นประจำแล้วมีภาวะผมร่วงเกิดขึ้น ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์และเปลี่ยนชนิดของยา ส่วนใหญ่ผมที่ร่วงไปจะกลับขึ้นใหม่ได้

ผมร่วงเป็นวง (Alopecia areata) ความจริงผมร่วงชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชาย มีสาเหตุหลักๆมาจากความเครียด ความวิตกกังวลทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน ทำให้เกิดความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ออกมาทำลายรากผมตัวเองหรืออาจจะทำลายรากขนในตำแหน่งต่างๆทั่วร่างกายได้

dna_edited.jpg

สาเหตุ

มีหลายๆสาเหตุ ไมวาจะเปนทางดานอาหารการกิน และการใชชีวิตของเราซึ่งลวนมีผลทําใหเรามีสุขภาพ
ภาวะผมร่วง ผมบางมีหลายๆสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร การใช้ชีวิตของเรา อายุ การขาดสารอาหาร การสูบบุหรี่ และอาจมีสาเหตุมาความเครียด การใช้ยาหรือทรีทเมนท์เคมีที่รุนแรงมากเกินไป หรือเกิดจากฮอร์โมนและพันธุกรรม ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุประมาณ 35-50 ปี แตก็สามารถพบได้ในวัยรุ่นเช่นกัน เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนเพศชายเป็นหลัก ส่วนเพศหญิงมักจะเกิดมากในช่วงใกล้หมดประจําเดือนเพราะการลดลงของฮอรโมนเพศหญิงนั่นเอง

bottom of page