top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png
dna_edited.jpg

Irritable bowel syndrome

ลำไส้แปรปรวน

อย่าปล่อยให้ลำไส้แปรปรวนรบกวนชีวิตคุณ

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) อาการหลัก คือ ปวด อึดอัดท้อง สัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใดๆ เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ มีการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบถึง 10-20 % ของประชากรทั่วไป แต่มีเพียง 15% ของผู้ที่มีปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าปรึกษาแพทย์ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า

อาการ
มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) – ถือเป็นลักษณะพิเศษ ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)

ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation)

ท้องผูก – อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย

อาการลำไส้อื่น ๆ – เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย

อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ – เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

Holistic-Approach.jpg

ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง Food Intolerance Test

วิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยว่าอาหารชนิดไหนส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างตรงจุด เพื่อการหลีกเลี่ยงอย่างตรงจุด

Holistic-Approach.jpg

Holistic-Approach.jpg

Treatment แนวทางการรักษา

Holistic-Approach.jpg

วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด Vitamin IV Drip

วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด Vitamin IV Drip
ด้วยสูตรวิตามินที่หลากหลาย จึงช่วยตอบโจทย์ความต้องการในการฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างตรงจุด

Holistic-Approach.jpg

การวิเคราะห์วิตามินเฉพาะบุคคล Personalized Vitamin

การวิเคราะห์วิตามินเฉพาะบุคคล Personalized Vitamin
การวิเคราะห์สารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายแบบเฉพาะบุคคล ช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Holistic-Approach.jpg

ตรวจสุขภาพลำไส้ Urine Organic Test

ตรวจสุขภาพลำไส้ Urine Organic Test
การที่แบคทีเรียภายในลำไส้ไม่สมดุล อาจก่อให้เกิดโรค หรืออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เพราะลำไส้คือสมองที่สองของคุณ และมีความสำคัญมากกว่าที่คุณคิด

การป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน

ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน – หลีกเลี่ยงกลุ่มอาหาร เช่นอาหารที่ทำให้เกิดลม มันมาก กลุ่มนม อาหารย่อยยาก ผัก หรือ เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลองหยุดอาหารกลุ่มนมดูในช่วงแรก เพราะ พบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนม (lactose intolerance) พบได้บ่อยมาก (กินนมแล้วท้องเสีย กินแล้วอืด หรือ กินนมช่วยระบาย)

เพิ่มอาหารที่มีไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น – โดยเฉพาะในกลุ่มที่ปวดท้องแบบท้องผูก บางรายแม้ปวดแบบท้องเสียการกินไฟเบอร์ กลับทำให้ลำไส้ได้ฝึกบีบตัวดีขึ้นได้ การกินผักผลไม้อาจเกิดข้อเสียดังที่กล่าวแล้วในบางคนที่มีปัญหาการย่อย หรือ ไวต่อลม
ลดความเครียด ความกังวลใจซึ่งอาจทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้ในบางราย รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยในการทำงานของลำไส้ได้ด้วย

dna_edited.jpg

สาเหตุ

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุก่อโรคลำไส้แปรปรวนแน่ชัด แต่ความเครียดกับโรคลำไส้แปรปรวนมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก อารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความโกรธ ความเครียด ความเศร้า ล้วนมีผลโดยตรงต่อระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวผิดปกติ 

นอกจากจะถูกกระตุ้นจากความเครียดได้ง่ายแล้ว ยังมีอาหารเป็นตัวกระตุ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมันสูง เนื้อสัตว์ อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารมาก เช่น กะหล่ำปลี นม หอมหัวใหญ่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาและฮอร์โมนบางชนิดก็เป็นตัวกระตุ้นอาการลำไส้แปรปรวนได้เช่นกัน
ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยาก เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัว อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้

bottom of page