ตรวจระดับสารพิษตกค้างและการกำจัดสารพิษ Heavy Metal Test
สมองล้า เซลล์เสื่อมสภาพ และการอักเสบ อาจเกิดจาก โลหะหนักที่เราเผชิญในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว และก่อให้เกิดภาวะสุขภาพต่างๆ จึงจำเป็นต้องกำจัดสารพิษอย่างเหมาะสม
ตรวจสุขภาพลำไส้ Urine Organic Test
การที่แบคทีเรียภายในลำไส้ไม่สมดุล อาจก่อให้เกิดโรค หรืออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เพราะลำไส้คือสมองที่สองของคุณ และมีความสำคัญมากกว่าที่คุณคิด
Treatment แนวทางการรักษา
สาเหตุ
อาการของอารมณ์แปรปรวนที่เห็นได้ชัด คือความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็วจนผิดปกติ มีหลากหลายอารมณ์ใน 1 วัน รู้สึกเศร้า มีความสุข หรืออาจร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ ถ้าหากอาการรุนแรงขึ้นจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างรุนแรงและตรงข้ามกัน และอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย โรคสมาธิสั้นก็อาจพบอาการของอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน
อารมณ์แปรปรวนถือเป็นอาการที่มักพบในโรคทางจิตเวช เช่น
- โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ก่อให้เกิดอารมณ์แปรปรวนแบบสุดขั้ว ระหว่างอารมณ์ครื้นเครงและอารมณ์ซึมเศร้า
- โรคไบโพลาร์แบบไม่รุนแรง (Cyclothymic Disorder) ผู้ป่วยมักจะมีอารมณ์แปรปรวน ระหว่างอารมณ์ครื้นเครงและอารมณ์ซึมเศร้าที่ไม่รุนแรง แต่ก็มากกว่าคนปกติทั่วไป
- โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าที่มากผิดปกติ บางรายอาจมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายร่วมด้วย
- โรคประสาทซึมเศร้า (Dysthymia) ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าเรื้อรัง
- โรคความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ (Disruptive Mood Dysregulation Disorder) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในเด็ก ทำให้เด็กมีอารมณ์ที่แปรปรวนผิดปกติ
ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่สามารถทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนแบบถาวร โดยมักจะรุนแรงและแปรปรวนและสามารถอยู่ได้นาน เช่น หุนหันพลันแล่น ปฏิกิริยาสุดขีด รู้สึกว่างเปล่าหรือกระสับกระส่าย ทำร้ายตนเองข่มขู่หรือพยายามฆ่าตัวตาย ความสัมพันธ์ทางอารมณ์และรุนแรงกับผู้อื่น ปัญหาความโกรธ
อารมณ์แปรปรวนเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมีปัจจัยบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น
1.การเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บเฉียบพลัน การเกิดอุบัติเหตุ จนถูกกระทบกระแทกทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สมอง
2.พัฒนาการในเด็ก การเกิดอารมณ์แปรปรวนในเด็กอาจเป็นสัญญาณของโรคทางจิตพื้นฐาน ความพิการทางการเรียนรู้ หรือแม้แต่โรคทางกาย เช่น เด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งอาจกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์ เมื่อเด็กโตขึ้นอารมณ์แปรปรวนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสูงสุดในช่วงวัยรุ่นและค่อยๆ ทรงตัวขณะย่างเข้าวัยหนุ่ม
3.ความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เนื่องจากฮอร์โมนต่างๆส่งผลกับการทำงานของสมอง อาการอารมณ์แปรปรวนที่เกิดจากความผิดปกตินั้นสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการปรับระดับฮอร์โมน
4. การติดสารเสพติด สารเสพติดไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง จนนำไปสู่ปัญหาทางจิตต่างๆ และสารพิษก็อาจทำลายสมองได้ด้วยเช่นกัน
ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาท เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์แปรปรวน ทว่าอาการป่วยบางชนิด เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคของต่อมไทรอยด์ และโรคที่ส่งผลกระทบต่อปอด ก็ทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวนได้
นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง ความเครียด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิต พฤติกรรมการนอนหลับ การใช้ยาในการรักษาโรคหรืออาการบางชนิด