สารพิษตัวร้ายจากภาชนะใกล้ตัว!!
- Supawimon Charoensuk
- 13 พ.ย. 2566
- ยาว 1 นาที

ในปัจจุบันคนเรานิยมที่จะสั่งอาหารแบบ Delivery กันมาก และยังอาหารกล่องที่ซื้อทานหิ้วกลับบ้านกันอีก คุณอาจไม่ทันระวังว่าในภาชนะที่ใช้ใส่อาหารนั่นล้วนมีสารพิษอันรายแฝงอยู่ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาชนะโฟม ภาชนะพลาสติก ภาชนะอลูมิเนียม มีสารพิษโลหะหนักตกค้างอยู่ เมื่อความร้อนจากอาหารไปสัมผัสเสี่ยงปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณมากๆเข้าก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้อีกด้วย
ภาชนะใกล้ตัวที่มีสารพิษ สารโลหะหนัก เจือปน
ภาชนะพลาสติก ไม่ว่าจะกล่องข้าว จาน ถ้วย พลาสติก โดยเฉพาะที่มีสีต่างๆ สีผสมที่มีสารของโลหะหนัก ได้จากการใช้สารเมลามีนที่ผลิตได้จากยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ เมื่อสารเหล่านี้ถูกนำมาใช้ผลิตภาชนะ จึงทำให้มีโอกาสเกิดสารพิษตกค้างเจือปนอยู่ในอาหารได้สูง ภาชนะพลาสติกไม่สามารถทนความร้อนได้ เมื่อพลาสติกละลายก็ทำให้เกิดสารเคมีสะสม อย่าง สารไฮโดรคาร์บอน และ สาร BPA ไว้ในร่างกาย นอกจากนี้การใช้พลาสติกที่มีสีสันสวยงาม แต่ไม่ได้ใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพนั้นทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มต่อการบริโภคสารเคมีจากสีที่ใช้เคลือบเข้าไปโดยไม่รู้ตัว
ภาชนะถ้วยโฟม ถ้วยโฟมเมื่อโดนความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร อย่าง สารเบนซีน (Benzene) ที่หากดื่มหรือกินอาหารที่มีสารเบนซีนปนเปื้อนสูง จะทำให้เกิดอาการ ปวดท้อง (เนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน) เวียนหัว คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และ สารสไตรีน (Styrene) ที่มีพิษทำลายไขกระดูก ตับ และไต ทำให้ความจำเสื่อม มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และเป็นสารก่อมะเร็งชั้นดี อีกทั้งยังทำลายฮอร์โมนและระบบประสาทต่างๆในร่างกายอีกด้วย
ภาชนะกระดาษ มักพบสารพิษ พีฟาส (PFAS) มากที่สุดก็ในบรรจุภัณฑ์กระดาษที่มีการเคลือบกระดาษเพื่อป้องกันความมัน และป้องกันน้ำในการบรรจุอาหารฟาสต์ฟู้ด รวมทั้งแก้วกระดาษที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม หรือ กระทะเคลือบสารกันติด นอกจากนี้ยังมีร้านสะดวกซื้อ รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ก็นิยมใช้กระดาษห่ออาหาร รวมถึงแก้วกระดาษที่มีส่วนผสมของสารป้องกันความมัน และการเปียกน้ำ มาใช้ในร้านค้าของตนเองกันอย่างแพร่หลาย
ภาชนะอลูมิเนียม เช่น กระทะ จาน ชาม ช้อนส้อม เตาปิ้งย่างหมูกระทะ มักเกิดการหลุดของสารตะกั่ว สังกะสี ปรอท โครเมี่ยม สารหนู หรืออะลูมิเนียม จากความร้อนและการทำความสะอาดที่รุนแรง เช่นการขัดถูด้วยฟรอยด์ เมื่อเราใช้ภาชนะที่ใช้งานมานาน จนอาจเห็นบางส่วนเปลี่ยนสภาพ เช่น ผิวเคลือบหลุด หรือก้นหม้อเป็นสีดำ สารพิษพวกนี้จะแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ มีผลต่อระบบประสาทและเสี่ยงก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ ภาชนะที่เสี่ยงโลหะหนัก ลองเลือกใช้ภาชนะที่มีกระบวนการผลิตมาอย่างถูกต้องหรือมีมาตรฐานการผลิตรองรับ ไม่ใช่ซ้ำหากพบว่ามีการสึกกร่อน หลีกเลี่ยงใส่อาหารร้อนจัด หรือเลือกใช้ภาชนะที่ทำจากแก้ว ก็จะช่วยลดภาวะเสี่ยงของโรคต่างๆได้อีกทางหนึ่ง

หรือใครสนใจอยากตรวจหาสารพิษในร่างกาย ไธรฟ์ คลินิก มีโปรแกรมช่วยตรวจสารพิษโลหะหนักอย่าง Oligoscan เพื่อตรวจเช็กจำนวนโลหะหนักในร่างกายได้มากถึง 14 ชนิด เช่น ดีบุก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู ปรอท เป็นต้น และยังตรวจวัดระดับวิตามินในร่างกายได้ถึง 20 รายการ การตรวจนี้ยังช่วยให้สามารถวางแผนการมีสุขภาพที่ดีของคุณได้ด้วย เพราะสามารถตรวจวัดหาแร่ธาตุในร่างกายของคุณได้อย่างครบถ้วน เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ขาดสารอาหารแต่เจาะลึกให้แน่นอนว่าควรเพิ่มและลดสารอาหารประเภทไหนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Nursing assignment help.
Best research paper.
Pay someone to take my online class.
Academic writing assignment help.
Websites to buy essays online.