top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

อยากมีลูก อยากตั้งครรภ์ต้องรู้จักฮอร์โมน AMH Hormone

ฮอร์โมน AMH Hormone คืออะไร

“AMH Hormone” ฮอร์โมนที่บอกปริมาณไข่ของคุณผู้หญิง

ฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone) หรือเรียกสั้นๆว่า AMH คือฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ เป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้


ความเสี่ยงภาวะมีบุตรยากของผู้หญิงที่อายุ 30 ปี

“การตรวจฮอร์โมน ช่วยประเมินความสำเร็จในการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ AMH Hormone”


ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น โอกาสการตั้งครรภ์ยิ่งลดน้อยลง ผู้หญิงเริ่มมีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งพบได้มากขึ้นในคนที่อายุน้อยลง โดยมีปัจจัยร่วมได้จากหลายสาเหตุ จากทั้งฝ่ายหญิงและชาย ซึ่งสาเหตุสำคัญแรกสุดคืออายุ ยิ่งมีอายุมาก เพราะปริมาณไข่และคุณภาพของไข่ลดลง ปัจจัยอื่นๆ คือ Lifestyle ความอ้วน ความเครียดจากการทำงาน คุณภาพการนอน การออกกำลัง โรคประจำตัวบางอย่าง การสูบบุหรี่จัด การดื่มแอลกอฮอร์ หรือพบสารพิษโลหะหนักสะสมในร่างกาย


อยากมีลูก อยากตั้งครรภ์ต้องรู้จักฮอร์โมน AMH Hormone จะมีค่าสูงในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงแรกเกิดจะมีไข่ในรังไข่ประมาณ 1-2 ล้านฟอง เมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ไข่ก็เหลือเพียง 3-4 แสนฟอง และลดลงเรื่อยๆ จนหมดไปเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (Menopause) ค่า AMH ก็จะสะท้อนจำนวนไข่ของคุณผู้หญิง


การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH “ปริมาณของไข่ และคุณภาพของไข่”

โดยฮอร์โมนนี้ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ที่หุ้มไข่เอาไว้ ยิ่งจำนวนไข่ในรังไข่มีมากเท่าไหร่ ปริมาณฮอร์โมน AMH ที่ได้จากผลตรวจเลือดก็จะยิ่งมากเท่านั้น

อย่างไรก็ตามแนะนำ การตรวจนับจำนวนถุงไข่ในรังไข่ หรือ AFC (Antral Follicle Count)

โดยการตรวจนี้จะเป็นการอัลตราซาวด์เพื่อนับดูจำนวนฟองไข่จากรังไข่ และฟองไข่ในรังไข่นี้เป็นสิ่งที่ช่วยประเมินจำนวนเซลล์ไข่ที่มีได้เพื่อประเมินโอกาสการตั้งครรภ์ และยังช่วยให้แพทย์แนะนำแนวทางเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้กับคุณผู้หญิงได้มากขึ้น Preventive Medicine จะดูค่าความสัมพันธ์ของ AMH Hormone ร่วมกับผลตรวจอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนไทรอย์ รวมถึงรอบเดือนของแต่ละบุคคล

การตรวจฮอร์โมน AMH Hormone ช่วยประเมินความสำเร็จในการตั้งครรภ์

ตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH สามารถวิเคราะห์ผลได้ดังต่อไปนี้

  • AMH มากกว่า 4 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนสูง สามารถบอกถึงสุขภาพภายในของฝ่ายหญิงได้ว่า อาจเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (Polycystic ovary syndrome)

  • AMH อยู่ในช่วง 1 – 4 ng/ml เป็นค่าฮอร์โมนปกติ

  • AMH อยู่ในช่วง 0.3 – 1 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนที่ค่อนข้างต่ำ สามารถบอกถึงสุขภาพภายในของฝ่ายหญิงได้ว่า มีจำนวนไข่อยู่ค่อนข้างน้อย เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก

  • AMH น้อยกว่า 0.3 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนต่ำ สมารถบอกถึงสุขภาพภายในของฝ่ายหญิงได้ว่า ตอนนี้จำนวนไข่เหลืออยู่จำนวนน้อยมากแล้ว เสี่ยงต่อภาวะบุตรยากสูง หากต้องการมีบุตรควรรีบปรึกษาแพทย์

โดยสรุป ยิ่งค่า AMH สูง คุณผู้หญิงก็มีโอกาสเก็บไข่ได้ในปริมาณที่มากกว่าคุณผู้หญิงที่มีค่า AMH ต่ำ แต่ในทางเดียวกันค่า AMH ที่สูงเกินไปก็อาจบ่งบอกได้ถึงการเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS ซึ่งคุณผู้หญิงที่มีภาวะนี้อาจมีไข่จำนวนมากแต่เป็นไข่ที่ไม่มีประสิทธิภาพก็ได้ ฉะนั้นการตรวจ AMH จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการฝากไข่ แต่คุณผู้หญิงก็ควรได้รับการตรวจอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของไข่

หมายเหตุ : ฮอร์โมน AMH ไม่ได้สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน สามารถตรวจตอนไหนก็ได้


ใครควรตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH

  • ผู้ที่ต้องการตรวจว่ามีไข่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์หรือไม่

  • ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และพยายามตั้งครรภ์มากกว่า 12 เดือน

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และพยายามตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน

  • ผู้ที่ต้องการฝากไข่ เพื่อวางแผนการมีบุตรในอนาคต

  • ผู้ที่ผ่านการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการผ่าตัดรังไข่

  • ผู้ที่มีความจำเป็นต้องรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือต้องผ่าตัดรังไข่ในระยะอันใกล้

เลือก Package Family Planning Check UP ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Anti-Aging ที่ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก และรับคำปรึกษาเพื่อการวางแผนครอบครัว และแผนการมีบุตร อย่างปลอดภัย สามารถดูแลร่วมกับแผนการฝากไข่ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว



หลังจากการตรวจแล้วสามารถเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ฟื้นฟูได้ตรงจุดก่อนทำ ICSI เพื่อผลลัพธ์ตรงใจ ปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินการวางแผนเพื่อเตรียมตัวมีบุตรด้วย "Organ Praeparation Cell Therapy"

Organ Praeparation Cell Therapy เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ฟื้นฟูได้ตรงจุด

Comentários


bottom of page