การมีสุขภาพร่างกายที่ดีแบบองค์รวม ประกอบขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง แร่ธาตุ คือปัจจัยหนึ่งที่สำคัญหากขาดไปเอฟเฟกต์ทางสุขภาพก็จะปรากฏให้คุณเห็นได้อย่างชัดเจน วิธีง่ายๆในการดูแร่ธาตุลองสำรวจบริเวณเล็บมือของคุณว่ามีดอกเล็บเป็นขีดๆ อยู่หรือไม่? ช่วงนี้ผมร่วงเป็นกระจุกเกินไปหรือเปล่า อาการสั่นขาแบบอยู่ไม่สุข ต้องเขย่าอยู่ตลอดเวลา
อาการเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการขาดแร่ธาตุนั่นเองค่ะ แต่หากขาดแร่ธาตุบางชนิดก็อาจไม่มีผลลัพธ์ให้คุณได้รู้ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาคุณสร้างความเข้าใจแบบย่อยง่ายในเรื่องราวของ ‘แร่ธาตุ’ ที่แสนจะจำเป็น พร้อมแนะนำวิธีสำรวจแร่ธาตุในร่างกายแบบง่ายๆ ไม่เจ็บตัว สะดวก รวดเร็วไม่ถึง 3 นาที ก็รู้ผล
นวัตกรรมใหม่ล่าสุดด้วยเทคโนโลยี Spectrophotometry จากยุโรป
สามารถรู้ผลลัพธ์ของแร่ธาตุในร่างกายของคุณได้อย่างครบถ้วน
เพียงการตรวจด้วยจุด 4 จุดบนฝ่ามือ ง่าย สะดวก พร้อมวางแผนสุขภาพที่ดี
แบบล่วงหน้าโดยไม่ต้องรอให้เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับคุณก่อน
แร่ธาตุ คือ
แร่ธาตุ คือ สารที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสิ่งมีชีวิตค่ะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น สารประกอบอนินทรีย์ ซึ่งสารกลุ่มนี้จะได้รับมาจากการบริโภคพืชและเนื้อสัตว์เท่านั้นค่ะ เรียกง่ายๆ ว่า แร่ธาตุ ก็เป็นสารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้กลไกการทำงานของเซลล์และอวัยวะทำงานได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง
แต่แร่ธาตุก็มีความจำเป็นที่แตกต่างกันด้วยนะคะ ต้องได้รับในสัดส่วนที่พอดีไม่มากเกิน หรือน้อยเกินไปจนทำให้ร่างกายเราพังลง มารู้จักแร่ธาตุกันให้มากขึ้นดีกว่าว่ามีอะไร และแร่ธาตุชนิดไหนช่วยอะไรกันบ้าง
แร่ธาตุ มีอะไรบ้าง
แร่ธาตุหลัก
Calcium (แคลเซียม)
จำเป็นในการสร้างกระดูก ฟัน ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การหดตัวของเลือด ระบบประสาท และการหลั่งของฮอร์โมน
อายุ 19-70 ปี ควรได้รับ 1000-1200 มก.
มีผลงานวิจัยที่แคลเซียมสามารถลดความเสี่ยงต่อการพัฒนาเนื้องอกของมะเร็งต่อมลูกหมาก (Grau MV et al, J Natl Cancer Inst., 2007)
แต่การบริโภคแคลเซียมที่มากเกินกว่า 1000 มก./วัน ก็ส่งผลให้เสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งเช่นกัน จากผลการศึกษาที่เชื่อมโยงกับข้อมูลโภชนาการแห่งชาติ NHANES ระหว่างปี 1999 ถึง พ.ศ. 2010 ของคนสหรัฐอเมริกาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป (Chen F et al, พงศาวดารของ Int Med., 2019)
Phosphorous (ฟอสฟอรัส)
จำเป็นต่อกระดูก ฟัน DNA RNA
สำหรับผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 700-1000 มก.
ในการทดลองของหนูที่ได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงพบการเติบโตของเนื้องอกในปอด (Jin H et al, Am J จากการแพทย์ระบบทางเดินหายใจและที่สำคัญ, 2008)
Potassium (โพแทสเซียม)
จำเป็นต่อการทำงานของไตและหัวใจให้เป็นปกติ การส่งสัญญาณประสาท และควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ
ควรได้รับ 1600-2000 มก
หากมีโพแทสเซียมมากเกินไปส่งผลให้เกิดอาการบวมและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
Magnesium (แมกนีเซียม)
จำเป็นต่อระบบเผาผลาญ การผลิตพลังงาน การสังเคราะห์ DNA RNA โปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระ การทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ควบคุมน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต
ผู้ชาย ควรได้รับ 400-420 มก.
ผู้หญิง ควรได้รับ 310-320 มก.
การศึกษาผู้ชายและผู้หญิง ในอายุ 50-76 ปี การเพิ่มขึ้นและลดปริมาณของแมกนีเซียม อาจเป็นประโยชน์ต่อการลดมะเร็งตับอ่อนได้ในอนาคต (Dibaba D et al, Br J Cancer, 2015)
Sodium (โซเดียม)
จำเป็นต่อทุกระบบในร่างกาย สร้างสมดุลของน้ำในร่างกาย ดูดซึมสารอาหารไปยังเซลล์ ควบคุมการทำงานของหัวใจให้เป็นปกติ ส่งผ่านสัญญาณประสาทความรู้สึก
ควรได้รับไม่เกิน 2300 มก
หากได้รับมากเกินไปจะเกิดอาการบวมน้ำ ก่อให้เกิดไตเสื่อม ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
Sulphor (กำมะถัน)
จำเป็นต่อสุขภาพผม ผิวพรรณ และเล็บ รักษาสมดุลออกซิเจน ช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรีย ช่วยการทำงานของข้อต่อ
หากได้รับไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดผิวแห้ง ผมแห้ง แสบคัน เล็บไม่แข็งแรง
Chloride (คลอไรด์)
จำเป็นต่อการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายและภายนอกเซลล์ รักษาความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร
หากได้รับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
แร่ธาตุรอง
Trace mineral คือแร่ธาตุที่ต้องการไม่เกิน 100 มก./วัน
Iron เหล็ก : ช่วยสร้างออกซิเจนในเซลล์ และช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
Zinc สังกะสี : ส่วนช่วยในการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ ปรับสมดุลฮอร์โมน
Selenium ซีลีเนียม : เสริมสร้างภูมิต้านทาน สารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
Manganese แมงกานิส : สำคัญต่อกระดูก ตับ หัวใจ ต่อมพิทูอิตารี ช่วยผลิตพลังงานที่จำเป็นต่อกระดูกและฟัน
Copper ทองแดง : ส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ในระบบหายใจ การเจริญเติบโตของกระดูก
Iodine ไอโอดีน : สำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ควบคุมระบบเผาผลาญในร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก ช่วยพัฒนาสมอง
Chromium โครเมียม : สำคัญต่อการเผาผลาญน้ำตาล ลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคเบาหวาน กระดูกเปราะ คามดันโลหิตสูง
Cobalt โคบอลท์ : กระตุ้นการสร้างน้ำย่อย สร้างเม็ดเลือดแดง
Fluoride ฟลูออไรด์ : ช่วยป้องกันฟันผุ และความแข็งแรงของฟัน
Molybdenum โมลิบดินัม : สำคัญต่อการสร้าง DNA RNA ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
Vanadium วานาเดียม : จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้สารอาหารเข้าสู่เซลล์ได้ดี ป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
แร่ธาตุ จึงเป็นสารที่สำคัญและเราไม่ควรให้ร่างกายปล่อยผ่านไปได้ แต่การจะต้องมานั่งคำนวณ หรือเช็กลิสต์ว่าอะไรบ้างในแต่ละเดือนที่เราขาดแร่ธาตุชนิดไหนไป มันก็คงจะยากและไม่สามารถทราบได้ง่ายๆ นอกจากร่างกายคุณจะแสดงออกมาให้เห็น แต่นั่นก็คงต้องใช้เวลาฟื้นฟูอยู่นานพอควรเลยล่ะค่ะ
อาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ
ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี มีแมกนีเซียม สังกะสี แมกนีเซียม ทองแดง ซีลีเนียม ฟอสฟอรัสมากที่สุด
หอย เช่น หอยนางรม หอยกาบ หอยแมลงภู่ มีซีลิเนียม สังกะสี ทองแดง และธาตุเหล็กพบมากที่สุด
ผักตระกูลกะหล่ำ มีซัลเฟอร์ แมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส แคลเซียมมากที่สุด
เครื่องในสัตว์ มีซีลีเนียม สังกะสี ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส มากที่สุด
ไข่ มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส สังกะสี ซีลีเนียม มากที่สุด
โกโก้ มีแมกนีเซียม และทองแดง
อะโวคาโด มีแมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง โพแทสเซียมมากที่สุด
ตระกูลเบอร์รี่ เป็นแหล่งรวมโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแมงกานีส
โยเกิร์ตและชีส มีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ซีลีเนียม
ปลาซาดีน มีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซีลีเนียมมากที่สุด
มันหวาน มันฝรั่ง มีไฟเบอร์ สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ เป็นต้น
กล้วย มะม่วง เสาวรส ฝรั่ง ขนุน สับปะรด มีโพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง และแมกนีเซียมมากที่สุด
ผักใบเขียว มีแมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็กมากที่สุด
Commenti