top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

Adrenal Fatigue หรือ ภาวะต่อมหมวกไตล้า



ภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ โดยมากมักจะถูกมองข้ามไป เป็นโรคร้ายที่ถูกลืม ทำให้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าโดยส่วนมากเกิดขึ้นช้า อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นแค่อาการที่แสดงให้เห็นก่อนจะเกิดโรคเท่านั้น ยังไม่มีโรคหรือสิ่งร้ายแรงอะไร จึงทำให้หลายๆ คนไม่ได้ทำความเข้าใจและไม่รู้จัก แต่อาการของภาวะนี้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรง ไม่มีแรง ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา การตรวจวินิจฉัยภาวะนี้ ต้องตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ



ฮอร์โมน 2 ตัว ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด คือ คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งการตรวจสุขภาพทั่วไปอาจไม่ครอบคลุมฮอร์โมน 2 ตัวนี้


ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) เป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่หุ้มอยู่บริเวณขั้วไตทั้งสองข้าง โดยเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดในร่างกาย เช่น

  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเครียดโดยปกติแล้วร่างกายจะสร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมามากในตอนเช้า เพื่อทำให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาในระหว่างวัน โดยฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

  • ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนเพศทั้งหญิงและชายต่อไป (Pre-sex hormones) เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน, เทสโทสเตอโรน โดยมีหน้าที่กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลัง และ DHEA เป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกาย (Boost energy) เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ (Muscle building) ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย (Premature skin aging) และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (Sexual drive)

  • ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกาย ความเครียดส่งผลอย่างไรกับต่อมหมวกไต


ต่อมหมวกไตล้า เกิดจาก


เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมน(สามารถตรวจดูที่ช่วยขจัดและต่อสู้กับ ความเครียด เพื่อให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุล แต่ถ้าร่างกายมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง หรือออกกำลังกายเกินพอดี จนต้องผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาเพื่อจัดการความเครียดจะส่งผลทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว ถ้าร่างกายมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่องหรือมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้


โดยนอกจากความเครียดทางจิตใจแล้วความเครียดทางร่างกายอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้เช่นกัน ความเครียดทางร่างกายอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนอนดึก การไม่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ การรับประทานของหวานหรือน้ำตาลมากเกินไป


บุคคลที่อาจเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ส่วนมากมีอาการ อย่างน้อย 5 ข้อตามรายการด้านล่าง


• ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า

• อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน

• ง่วงแต่นอนไม่หลับ

• มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)

• อยากของหวาน, ของเค็ม

• ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ

• ปวดประจำเดือนบ่อย

• เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ

• ท้องอืด อาหารไม่ย่อย

• ท้องผูก

• เครียด ซึมเศร้า

• คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง

• รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้กินน้ำตาล

• ผิวแห้งและแพ้ง่าย


ออกกำลังกายแบบหนักปานกลางเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่อมหมวกไตล้า



ต่อมหมวกไตล้า รักษา


คำแนะนำสำหรับบุคลคนที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า

• นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชัวโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม

• รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ แต่หลัง 10.00 น. ระดับCortisol จะลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย)

• รับประทานมื้อเล็กๆและบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง1-2 มื้อ

• ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate intensity exercise) การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น

• หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว

• อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น

Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine

(สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6



โดยปกติการรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า ให้ฮอร์โมนต่างๆกลบมาสู่ภาวะสมดุล อาจใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็จะส่งเสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพขึ้น และไม่ต้องกลับเข้าสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้าได้อีก

bottom of page