top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

เปลี่ยนจาก Booster เข็ม 4 มาเพิ่ม Quercetin ต้านไวรัสกัน!




ใครชอบทาน หอมแดง ชาเขียวเย็น แอปเปิ้ล บ้างคะ เคยสังเกตไหมว่าเราไม่ค่อยป่วยง่าย ป่วยบ่อย หรือเมื่อป่วยเนี่ยโบราณบอกว่าให้เรากินหอมแดง ดมหอมแดงเยอะๆ บางทีเหตุผลนี้ก็มีอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ เพราะ Quercetin ที่มีอยู่มาก ช่วยต้านการอักเสบ ต้านไวรัส นั่นเอง


ฟังดูอาจไม่คุ้นชินกับสารชนิดนี้ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก จึงสรุปย่อยความสำคัญที่เราต้องเติม Quercetin ให้ร่างกายกันค่ะ และสารพัดประโยชน์ที่ส่งถึงแม้ป่วยเป็นมะเร็ง



Quercetin คืออะไร

Quercetin (เควอซิติน) คือ ไฟโตนิวเทรียนท์สีเหลือง ที่จัดอยู่ในกลุ่มพฤกษาเคมี Flavonoid เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พบมากในผัก ผลไม้หลากสี






ประโยชน์ของ Quercetin

  • ต้านการอักเสบ

  • ป้องกันแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส

  • เพิ่มภูมิต้านทาน

  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

  • ป้องกันอาการแพ้

  • ป้องกันการแข็งตัวของเลือด และลิ่มเลือดในหลอดเลือด

  • ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในหลอดเลือด

  • ลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมัน LDL

  • ชะลอผิวและริ้วรอย บล็อกการสูญเสีย NAD+

  • ลดระดับกรดยูริก

  • ยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง, เซลล์เต้านมที่ผิดปกติ




อาการและโรคเหล่านี้ Quercetin ช่วยได้

  • โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง

  • คอลเลสเตอรอลสูง

  • โรคหัวใจและปัญหาการไหลเวียนโลหิต

  • โรคเบาหวาน

  • ต้อกระจก

  • ไข้ละอองฟาง

  • แผลในกระเพาะอาหาร

  • โรคจิตเภท

  • การอักเสบ

  • โรคหอบหืด

  • โรคเกาต์

  • อาการเพลียเรื้อรัง

  • ป้องกันโรคมะเร็ง และการติดเชื้อเรื้อรังของต่อมลูกหมาก


ผลข้างเคียงเมื่อมีเควอซิตินสูง

  • อาการชาที่แขนและขา

  • ปวดหัว

  • เมื่อใช้ทางหลอดเลือดดำแบบไม่ควบคุมปริมาณมีอาการ เช่น หน้าแดงและเหงื่อออก คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก ไตเสียหาย

  • อาจรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์


ข้อควรระวังเมื่อทานหอมแดง หัวหอม อย่าทานร่วมกับยาเหล่านี้

เพราะสารเควอซิตินอาจมีปฏิกิริยากับยาที่รับประทานจึงต้องระวังเมื่อคุณต้องทานยา

  • ยาปฏิชีวนะ

  • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

  • ยา ciprofloxacin

  • ยา enoxacin

  • เควอซิตินอาจลดความเร็วที่ตับย่อยยาบางชนิด เช่น celecoxib, diclofenac, fluvastatin, glipizide, ibuprofen, irbesartan

แต่สำหรับผู้ที่ต้องรับประทานยาบ่อยๆ ควรหมั่นปรึกษาแพทย์เพื่อระวังไม่เกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตราย เพราะร่างกายเราแตกต่างกัน รับปริมาณสารได้ไม่เท่ากัน การเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์จช่วยให้มื้ออาหารในทุกวันไร้ความเสี่ยง



สารเควอซิติน นับเป็นสารที่เราบริโภคง่าย ใกล้ตัว ยิ่งกับอาหารไทยเราเองที่มีส่วนประกอบอย่างหอมแดงแทบจะทุกเมนูอาหาร ดังนั้นเมื่อเริ่มรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว คล้ายตะเป็นหวัด ลองเลือกรับประทานอาหารกลุ่มเควอซิตินกันดูนะคะ




Thrive IV Drip Quercetin Plus+

สำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ กังวลว่าจะไม่ได้รับเควอซิติน ตอนนี้ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีสูตร IV DRIP ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์เพิ่มเควอซิติน ประโยชน์ที่ปังทั้งผิวพรรณ ทั้งสุขภาพ แล้วค่ะ






bottom of page