คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ
...
สายดื่มหนัก รักของทอด ของหวานเลิฟเวอร์ เมื่อรับประทานบ่อย ๆ เสี่ยงไขมันสูง ยิ่งเมื่ออายุเยอะการเผาผลาญไขมันยิ่งทำได้ไม่ดี จนอาจเกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยเป็นสัญญาณเตือน
ตับ อวัยวะสำคัญที่ไม่ควรถูกทิ้งไว้ให้ป่วย
ตับ อวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญในการผลิตพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังเป็นส่วนสำคัญต่อระบบการเผาผลาญของเสีย กำจัดผ่านทางน้ำดีลงสู่ลำไส้จากนั้นก็จะปะปนกับอุจจาระออกมาจากร่างกาย
ลองจินตนาการดูว่า หากตับของคุณพัง และไม่สามารถฟื้นฟูได้ทันมีของเสียและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายตกค้างอยู่ภายในร่างกาย ของเสียที่ถูกสะสมอยู่เรื่อย ๆ ไม่ได้ถูกกำจัดออก อาจส่งผลให้ร่างกายป่วยได้ง่าย ๆ
ไขมันพอกตับเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อตับกักเก็บพลังงานสำรองให้แก่ร่างกายเรื่อย ๆ แต่ร่างกายไม่ได้ใช้งาน ทำให้เกิดการสะสมของไขมัน Trglyceride ในเซลล์ตับ ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) เมื่อเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบ และส่งผลให้เกิดโรคตับแข็งได้ในอนาคต และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังอื่น ๆ อีกด้วย
ไขมัน Triglyceride เป็นพลังงานสำรองที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำตาลที่มากว่าร่างกายต้องการ ดังนั้นหากคุณมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสหวานจัด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ของมัน ของทอด หรือน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จึงทำให้เสี่ยงเกิดภาวะไขมันพอกตับเพิ่มมากขึ้น
น้ำตาล เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ที่ตับไม่ชอบ
ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นจากตับอ่อน มีความสำคัญในการคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยิ่งเมื่อรับประทาน นม เนย ชีส กะทิ อาหารฟาสต์ฟู้ดบ่อย ๆ จะส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ น้ำตาลที่มากเกินนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของไขมันเพื่อรอการถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่อเกิดภาวะดื้ออินซูลินขึ้น จึงส่งผลให้ตับมีการสะสมของไขมันเพิ่มมากขึ้น
4 ระยะของการเกิดโรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver)
ระยะแรก : เกิดการสะสมไขมันอยู่ในเนื้อตับ
ระยะที่สอง : มีการสะสมไขมันจนตับเริ่มเกิดการอักเสบ หากมีการอักเสบเกินกว่า 6 เดือน จะยิ่งทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่สาม : ตับเกิดการอักเสบรุนแรง ทำให้เกิดพังผืดในตับ และเซลล์ตับถูกทำลายไปบางส่วน
ระยะที่สี่ : เซลล์ตับถูกลายขั้นรุนแรงจนตับไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เกิดภาวะตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด
อย่าทิ้งไว้จนปวดตับ เพราะอาจรักษาไม่ทัน รักษาเชิงป้องกันได้ผ่านโปรแกรมตรวจไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับ ไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัด นอกจากการเข้ารับการตรวจการทำงานของตับโดยเฉพาะ โดยคุณสามารถประเมินความเสี่ยงได้ดังนี้
1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนัก
2. มีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่ามาตรฐาน (ดัชนีมวลกาย หรือ BMI 25-30)
3. ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
4. มีพฤติกรรมรับประทานอาหารหวานจัด ของมัน ของทอด ที่เป็นแหล่งสะสมของไขมันร้าย LDL หรือไตรกลีเซอไรด์สูง
5. ไม่ออกกำลังกาย
6. มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย ไม่มีแรง มึนงง สมาธิลดน้อยลง
7. ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
Comments