Probiotics พบในอาหารใดบ้าง
สุขภาพที่ดีเริ่มมาจากลำไส้ที่ดี แล้วการมีลำไส้ที่ดีก็ต้องประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ดีไม่แพ้กัน แล้วอะไรคือจุลินทรีย์ที่ดีกันล่ะ
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนรู้จัก ‘Probiotics’ หรือ ‘โพรไบโอติกส์’ แบคทีเรียเชื้อดี ที่ทำให้คุณหมดห่วงเรื่องท้องเสีย ท้องผูก อาหารไม่ย่อย และอาจไปไกลถึงขั้นมะเร็ง
Probiotics คืออะไร?
หลายคนคงคุ้นหูกับเจ้าโพรไบโอติกส์กันผ่านสื่อต่างๆ มาบ้างแน่ๆ เลยใช่มั้ยคะ แต่คุณเข้าใจในกระบวนการทำงานต่อร่างกายและประโยชน์ที่สำคัญของโพรไบโอติกส์กันมากน้อยแค่ไหนกันบ้าง หากคุณได้อ่าน ปวดท้องบ่อย ท้องเสียประจำ อาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นลำไส้อักเสบ จะเข้าใจว่าลำไส้ของเราสำคัญขนาดไหน ซึ่งโพรไบโอติกส์สำคัญมากพอๆ ขนาดนั้นด้วยเช่นกันค่ะ
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ดี
ที่มีคุณสมบัติพิเศษคอยบาลานซ์ความเป็นกรดเบสในร่างกายของเรา
แต่จริงๆ แล้วเจ้าสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ เหล่านี้มีบทบาทมหาศาล
กับร่างกายของเรามากกว่าที่เราคิดเยอะเลยค่ะ
ซึ่งภายในร่างกายของเราทุกคนจะมีจุลินทรีย์เยอะมากค่ะ เป็น 100 ล้านล้านตัว ถ้าเปรียบเทียบกับเซลล์ในร่างกายที่ว่าเยอะแล้วแต่ก็มีแค่ 10 ล้านล้านเซลล์เท่านั้นค่ะ
เจ้าจุลินทรีย์จะอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ และตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเราค่ะ เช่นในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ แล้วจุลินทรีย์ดีเหล่านี้เองค่ะที่จะคอยกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่ดีออกไป จึงช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพใหญ่ๆ ของคนไทยได้ด้วยค่ะ อย่างเช่นภูมิแพ้ อาการอักเสบ รวมถึงมะเร็ง
แล้วจะเป็นยังไงถ้าจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายเราไม่เพียงพอ?
Probiotics สำคัญ! แต่ใครกันที่เหมาะบ้าง
Probiotics เหมาะกับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ผู้ที่มีปัญหากับลำไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง
ผู้ที่ขับถ่ายยาก ขับถ่ายไม่เป็นเวลา
ผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำ
ประโยชน์น่าอัศจรรย์ของเหล่า Probiotics
โรคทางเดินอาหารในเด็กทารก : การให้เด็กทารกได้ดื่มนมแม่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าในนมแม่จะมีจุลินทรีย์ชนิดดี BIfidobacterium (บิฟิโดแบคทีเรียม) ที่จะช่วยเสริมภูมิต้านทานในบริเวณลำไส้ให้แข็งแรงต้านทานต่อโรคทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงการเกิดอาการท้องเสียรุนแรง
ป้องกันโรคทางเดินอาหาร : โพรไบโอติกส์มีส่วนช่วยอย่างมากในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ ส่งผลให้ลดการเกิดโรคลำไส้อักเสบได้ เพราะเมื่อมีเชื้อโรคไม่ว่าจะเกิดจากการรับประทานอาหารหรืออะไรก็แล้วแต่ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้แล้วหากโพรไบโอติกส์ไม่เพียงพอ ผนังลำไส้ไม่สมบูรณ์อยู่แล้ว เชื้อโรคก็จะสามารถแทรกซึมและเกิดการอักเสบเป็นที่มาของอาการได้
ยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : จุลินทรีย์ที่ไม่ดีดำรงอยู่ในร่างกายเราได้เพราะมีอาหารที่คอยหล่อเลี้ยง และโพรไบโอติกส์จะเป็นตัวที่เข้าไปแย่งอาหารของเหล่าจุลินทรีย์ไม่ดีนั้นค่ะ ทั้งยังผลิตกรดอะซิติกและแลคติกขึ้นมาเพื่อบาลานซ์ลำไส้ให้มีจุลินทรีย์อยู่อย่างเหมาะสม
ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจและโรคทางเดินปัสสาวะ : โพรไบโอติกส์สามารถทำลายเยื้อหุ้มเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เซลล์เกิดการสูญเสียน้ำและอาหาร ยับยั้งไม่ให้แบคทีเรียนั้นก่อโรคในร่างกายได้ จึงสามารถป้องกันทั้งการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ด้วย
เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมอาหาร : ในโพรไบโอติกส์จะผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารได้ ทำให้โปรตีนและไขมันมีขนาดที่เล็กลง อย่าง เอนไซม์ไลเปส ที่ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซรอล เอนไซม์โปติเอส ช่วยย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง จึงทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการดูดซึมอาหารได้เป็นอย่างดี
เสริมสร้างภูมิต้านทาน : โพรไบโอติกส์จะกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายอย่างสมดุล
ลดระดับคอเลสเตอรอล : โพรไบโอติกส์ชนิดแลคโตบาซิลลัส จะช่วยย่อยพร้อมทั้งยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลภายในลำไส้ และขับเอาคอเลสเตอรอลออกมาพร้อมการขับถ่าย
ลดอาการข้างเคียงจากยาปฏิชีวะนะ : ผลข้างเคียงของการทานยาปฏิชีวะนะที่เป็นยาฆ่าเชื้อโรคเข้าไป จะทำให้เกิดอาการท้องเสียร่วมด้วย เนื่องจากยาปฏิชีวะนะจะกำจัดทั้งจุลินทรีย์ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ออกไป การเพิ่มโพรไบโอติกส์ชนิดนี้จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงเหล่านั้นได้
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง : โพรไบโอติกส์ชนิดดีจะช่วยยับยั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคเซลล์ไม่ให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ พร้อมทั้งลดการสะสมของเสียในลำไส้ที่ไม่ก่อให้เกิดให้ผนังลำไส้อักเสบ
Probiotics & Prebiotics เหมือนหรือต่าง ทดแทนกันได้ไหม?
โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์อย่างดีที่เราได้เข้าใจกัน
ส่วนพรีไบโอติกส์ที่ชื่อคล้ายกันนี้แน่นอนว่าต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่แล้วค่ะ
ซึ่งเจ้าจุลินทรีย์พรีไบโอติกส์นั้นเป็นอาหารของเหล่าโพรไบโอติกส์นั่นเอง
Probiotics พบในอาหาร
กิมจิ
มิโซะ
โยเกิร์ต
คอทเทจชีส
พาร์เมซานชีส
ดาร์กช็อคโกแลต
พรีไบโอติกส์ เป็นสิ่งไม่มีชีวิตจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยทั้งการย่อยหรือดูดซึมอาหาร
ถ้าปราศจากการถูกย่อยสลายโดยโพรไบโอติกส์มาก่อน
ซึ่งประโยชน์ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของโพรไบโอติกส์ได้เป็นอย่างดีด้วย
Prebiotics พบในอาหาร
หัวหอม
กระเทียม
ถั่วเหลือง
ถั่วแดง
ผัก
ผลไม้
แล้วทำไมเราถึงต้องมี Prebiotics นั่นก็เป็นเพราะ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์เยอะ ก็จะช่วยให้โพรไบโอติกส์ทำงานได้ดีขึ้นไปด้วยนั่นเอง
เชื้อจุลินทรีย์ที่ดี Vs เชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี มีดีและเสียอย่างไรต่อร่างกายของเราบ้าง
เชื้อจุลินทรีย์ที่ดี
ช่วยย่อยอาหาร
ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน
เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมอาหาร
ปกป้องโรคที่เกิดจากการบกพร่องของลำไส้
สร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย
เชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี
เกิดจากการทานอาหารที่ไม่ดี
ความเครียด
พักผ่อนไม่เพียงพอ
เป็นสารตั้งต้นในการก่อให้เกิดมะเร็ง
ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดี
อาการป่วยที่เกิดจากท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย นานเข้าก็ก่อให้เกิดโรคทางลำไส้ และกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สำคัญมาก และเราไม่ควรปล่อยให้ร่างกายมีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีเพื่อจะก่อให้เกิดโรคที่ยากจะแก้ค่ะ
อาการท้องเสียบ่อย กินยาทุกครั้งที่เป็น หรือความน่ารำคาญใจ
ที่ไปเที่ยวพักผ่อนก็ต้องคอยมองหาห้องน้ำอยู่ตลอดเวลา ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก
สามารถแนะนำแนวทางการรักษา พร้อมวิเคราะห์จุลินทรีย์ทั้งดีและไม่ดีในลำไส้
เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที และยับยั้งภาวะที่อาจเป็นหนักขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ผ่านการตรวจ Urine Organic Profile Test
ตรวจ Urine Organic Profile Test เหมาะกับ
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการเผาผลาญ
ผู้ที่ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษได้
กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง หรือ Adrenal fatigue
ผ้ที่น้ำหนักขึ้น ลง แบบไม่มีสาเหตุ
ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่ายเป็นประจำ
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ป่วยง่าย หรือ ป่วยบ่อย
ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ รวมถึงอาการทางจิต ระบบประสาทต่างๆ
Comentários