Insomnia
นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย
หากคุณรู้สึกว่ามีปัญหาเรื่องการเข้านอน เข้านอนยากกว่าจะหลับได้ ตื่นนอนเช้ากว่าเวลาตื่นปกติ รู้สึกอ่อนล้าผิดปกติ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ตื่นมาแล้วก็ยังเพลีย หรือมีปัญหาตื่นนอนกลางดึก ตื่นมาแล้วกลับไปเข้านอนต่อไม่ได้ หรือหลับได้แค่ตื้นๆ ตื่นมาหลายๆครั้ง อาการทั้งหลายเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณกำลังมีปัญหาการนอนที่ผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะอ่อนล้า หรืออาจมาจากภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา
การนอนนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายเป็นอันมาก ในระหว่างที่คุณนอนหลับ ร่างกายจะได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ต่อสู้กับเชื้อโรคและการเจ็บป่วยอื่นๆ เปรียบได้กับการ shut down คอมพิวเตอร์ ดังนั้นหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ก็เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยได้พักเลย คุณจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ร่างกายทำงานไม่ปกติ สมองเบลอ ภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพอายุขัยของคุณในที่สุด
ล้างสารพิษหลอดเลือดด้วยคีเลชั่น
คีเลชั่น Chelation คือการให้สารน้ำทางหลอดเลือด (น้ำเกลือ) สารประกอบทางเคมีที่ให้เป็นประเภทกรดอะมิโนที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่หลักในการเข้าไปจับสารโลหะหนักในกระแสเลือด เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี เซเลเนียม ทองแดง สารหนู โครเมียม หรือแม้แต่แคลเซียมส่วนเกิน โดยจะขจัดสารโลหะหนักเหล่านี้ออกผ่านระบบปัสสาวะ
Treatment แนวทางการรักษา
อาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับที่เกิดขึ้นทั่วไปซึ่งไม่มีความรุนแรง ป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เริ่มด้วยการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเร็ว เดินระยะสั้น หรือเดินในน้ำ
- รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการย่างพอเหมาะ ไม่ควรข้ามมื้ออาหารโดยเฉพาะมื้อเช้า
ดื่มน้ำอย่างพอเหมาะ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
- หากเกิดปัญหาทางอารมณ์ ควรเผชิญหน้าและแก้ไข้ปัญหา ไม่ควรเพิกเฉยและหนีปัญหา
- หาทางจัดการกับความเครียด ทำงานในปริมาณที่เหมาะสม
- หาเวลาว่างทำกิจกรรมเพื่อให้ผ่อนคลาย เช่น การเล่นโยคะ
- หลีกเลี่ยงการบริโถคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้ไม่มากก็น้อย หากคุณปรับ lifestyle แล้วแต่ยังมีอาการอยู่ ควรได้รับการรักษาตามที่แพทย์แนะนำ เพราะหากไม่ได้รับการรักษา อาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสภาพจิตใจมากขึ้นได้
สาเหตุ
ภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง อาจเกิดจากนิสัยการนอนที่ไม่ดี หรือเกิดจากอาการแสดงของโรคเรื้อรังบางชนิด อาการที่เป็นคือ อาการเหนื่อยมากผิดปกติ รู้สึกไม่มีพลังงาน จนประสิทธิภาพในการทำงานของคุณลดลง
ภาวะอ่อนล้าสามารถเกิดจาก lifestyle เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดี สูบบุหรี่ นอนไม่พอ เครียด รวมไปถึงออกกำลังกายไม่พอหรือไม่ออกกำลังกาย อาจเป็นผลกระทบจากการใช้ยา หรือวิธีบำบัดรักษาโรค หรือเป็นสัญญาณของภาวะทางสุขภาพความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า กระวนกระวาย วิตกจริต อาจส่งผลให้เกิดภาวะอ่อนล้าได้เช่นกัน อีกสาเหตุที่คุณอาจไม่รู้คือ ความเครียดทางร่างกาย เช่น การติดเชื้อรุนแรง การผ่าตัดใหญ่ โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะอ่อนล้าได้เช่นกัน
อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความรู้สึกเหนื่อยล้า ขาดแรงจูงใจหรือขาดพลังงาน ภาวะนอนไม่หลับ อ่อนล้าอ่อนเพลีย อาจจะเกิดเป็นช่วงสั้นๆ หรือยาวต่อเนื่องเรื้อรังมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปจนเป็นปี บางคนก็มีปัญหานอนไม่หลับเป็นๆหายๆ เป็นช่วง ๆ ปัญหาการนอนนี้นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ความสามารถในการทำงานของคุณแล้วยังส่งผลต่ออารมณ์ โรคเรื้อรัง และคุณภาพชีวิตอีกด้วย
หากพบว่าอาการอ่อนเพลียไม่สามารถดีขึ้นได้ด้วยการพักผ่อน หรือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือสงสัยว่ามีสาเหตุมาจากสุขภาพร่างกายหรือจิตใจที่อ่อนแอ คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้การนอนหลับของคุณกลับมาได้เป็นปกติอีกครั้ง