ปัจจุบันมียาในตลาดจำนวนมาก ยาหลายชนิดมีฤทธิ์ซ้ำและก้ำกึ่งกัน เช่น ยาลดไข้สามารถแก้ปวดได้ ยาละลายลิ่มเลือดก็แก้ปวดได้ด้วย การกินยามากอาจทำให้เกิดปัญหายาเป็นพิษ มักพบในคนที่ใช้ยาเยอะ หรือมียาประจำตัวอยู่แล้ว
การกินยายิ่งมาก ยิ่งเสี่ยงมาก ยาตัวนึงอาจรักษาอาการเฉพาะเจาะจงหนึ่ง แต่ก็มีผลข้างเคียงกับอวัยวะอื่นได้ การกินยามากๆ และติดต่อกันเป็นเวลานาน ย่อมมีผลให้เกิดการสะสมของพิษในร่างกาย แทนที่จะกินเพื่อรักษากลับเป็นทำลาย ทำให้สมดุลร่างกายเสีย และเป็นพิษต่อตับไตโดยตรง
การทานยามากเกินความจำเป็น ทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้อย่างไร
ปกติร่างกายจะหลั่งสารเพื่อต่อต้านเชื้อโรคและพิษ แต่เมื่อเรากินยา เพื่อกดไม่ให้ร่างกายหลั่งสารมาต้าน จึงทำให้สมดุลในร่างกายเปลี่ยนไป เช่น ยาแก้แพ้กับยาแก้หวัด เป็นยาที่ถูกจ่ายบ่อยมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ยาแก้แพ้บางชนิดไม่ใช่ยาแก้หวัด และยาแก้หวัดบางชนิดก็ไม่อาจแก้แพ้ได้ หากเป็นหวัดไปหาคุณหมอขอให้บอกว่าคุณใช้ยาตัวใดอยู่บ้าง เพื่อป้องกันการจ่ายยาซ้ำ อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ยา 2 ชนิดนี้ไม่ใช่ยาตัวเดียวกันเลย แต่ถูกจับมาเรียกจนคุ้นเคย ทั้งที่จริงยาแก้อักเสบมีอยู่กว้างมากและฆ่าเชื้อไม่ได้ ส่วนยาฆ่าเชื้อนั้นก็ใช่ว่าจะแก้อักเสบได้เสมอไป ถ้าใช้ยาฆ่าเชื้อนานไปจะเสี่ยงเชื้อดื้อยา มากขึ้นด้วย ยาคลายเครียดกับยานอนหลับ ยากลุ่มคลายเครียดอาจมีฤทธิ์ง่วงก็จริงแต่ไม่ใช่ยาช่วยให้หลับ ยาคลายเครียดมีฤทธิ์ไปต่อสารเคมีในสมองทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ การกินคู่กันจะยิ่งอันตรายมากขึ้น
“ยิ่งเราทานยาไม่ถูกต้อง เชื้อโรคก็จะดื้อยา ต่อไปเราก็ต้องเพิ่มยาให้แรงขึ้น
จนในที่สุดก็ถึงทางตัน ไม่มียาตัวไหนเอาอยู่”
ถ้าไม่กินยาแล้วจะทำอย่างไร
วิตามินเป็นอีกตัวช่วยที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆนั้น อยู่ในผัก ผลไม้ อาหารต่างๆที่เรารับประทานเข้าไป ดังนั้นการดูแลสุขภาพต่างหากสำคัญที่สุด
Comments