top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

ตรวจ DNA คู่มือจัดการสุขภาพเชิงป้องกัน สำหรับคุณโดยเฉพาะ มั่นใจ ไม่ต้องกังวล เพราะรู้ก่อน ป้องกันโรค



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ



DNA คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อโรคทางพันธุกรรม


“คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน แม้แต่ฝาแฝดออกมาจากไข่ใบเดียวกัน ยังแตกต่างกัน” เคยสังเกตไหมคะว่า ทำไมเรา และพ่อแม่ มีองค์ประกอบ อวัยวะที่เหมือนกันแต่ หน้าตา สีผิว สีผม ถึงไม่เหมือนกัน บางครั้ง อาหารที่พ่อแม่ทานได้ดี ทำไมคุณถึงแพ้ ย่อยยาก หุ่นในฝันแต่การออกกำลังกายที่เราชอบ หรือปั้นกล้ามเนื้อให้เป๊ะก็ไม่เทียบเท่า บางครั้ง ผิวพรรณก็แตกต่างจากพ่อแม่อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะสภาพผิว ความหย่อนคล้อย หรือความชุ่มชื้น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Lifestyle หรือการใช้ชีวิตนี้ เป็นรายละเอียดที่ รหัสทางพันธุกรรมหรือ DNA มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกกำหนดมาแบบที่คุณเลือกไม่ได้


คุณอาจได้รับรหัสทางพันธุกรรมที่บ่งบอกว่าคุณจะมีสุขภาพดี ห่างไกลโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรม เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน DNA บอกได้!



DNA คืออะไร


DNA หรือสารพันธุกรรม เป็นกรดนิวคลิอิก ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม มีความสามารถในการสร้างและจำลองตัวเองได้ จึงสามารถสร้าง DNA ที่เหมือนเดิมได้ เช่น จากพ่อและแม่สู่ลูก


ดีเอ็นเอสามารถถูกถอดรหัส เพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid; RNA) อาร์เอ็นเอที่ได้นี้จะทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโน ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ และเป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี หรือเอนไซม์ (enzyme) ในสิ่งมีชีวิต ด้วยหน้าที่ทั้ง 2 ประการของดีเอ็นเอ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถสืบทอดลักษณะประจำพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้

โครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบไปด้วย สายพอลินิวคลิโอไทด์ ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของนิวคลิโอไทด์หลายๆ หน่วย ด้วยพันธะ ฟอสโฟไดเอสเตอร์ โดยเกิดจากสายพอลินิวคลิโอไทด์จำนวน ๒ สายเรียงตัวขนานกันในทิศทางตรงกันข้าม เข้าคู่และพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน ที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (doublehelix) การเข้าคู่หรือเข้าจับกันของสายพอลินิวคลิโอไทด์ทั้ง 2 สาย เกิดจากการเข้าคู่กัน ระหว่างเบสพิวรีน และเบสไพริมิดีน ด้วยพันธะไฮโดรเจน โดย A ทำการสร้างพันธะจำนวน ๒ พันธะเข้าจับกับ T (A = T) และ G ทำการสร้างพันธะ จำนวน 3 พันธะ เข้าจับกับ C โดยมีน้ำตาล และหมู่ฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นแกนอยู่ด้านนอกของโมเลกุล

Ref: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


แต่ความพิเศษของ DNA ไม่ใช่แค่เพียงส่งต่อยีนโครโมโซม 23 คู่ ผ่านรูปร่าง หน้าตา สีผิว ความสูง อย่างที่เราเห็นจากลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่กระบวนการในร่างกาย ความผิดปกติของโรคของพ่อและแม่อย่างละครึ่งก็ส่งผลสูู่ลูกด้วยเช่นกัน




แตกต่างกันเพราะ DNA เกี่ยวพัน


DNA แตกต่างและไม่หายไป


บนโลกนี้ไม่มีใครที่เหมือนกัน เพราะทุกคนมี ‘แบบพิมพ์เขียว’’ ของตัวเองซึ่งคือ ‘รหัสพันธุกรรม’ หรือ ‘DNA’ ที่จะเหมือนรหัสลับไขความเป็นตัวเรา ร่างกายของคนเรา ประกอบไปด้วยเซลล์ประมาณ 60 ล้านล้านเซลล์ โดยทุกเซลล์จะมีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA สำหรับเก็บรหัสที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตซึ่งถ่ายทอดมาจากพ่อ แม่ และส่งต่อไปยังลูกหลานรุ่นต่อไปได้


DNA ไม่เพียงแต่กำหนดลักษณะภายนอกที่ทำให้เราแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น สีผิว และรูปร่าง แต่ DNA ยังเป็นสิ่งที่กำหนดว่าร่างกายของเรา จะมีการทำงานอย่างไรรวมถึงส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพ ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลอีกด้วย



DNA เกี่ยวข้องอย่างไรกับการดูแลสุขภาพ


เมื่อ DNA จดจำและถูกส่งต่อ จึงสามารถนำยีนมาวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้ถึงโอกาสและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ค่ะ และความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะความผิดปกติบางชนิดก็ไม่สามารถพบได้ในรุ่นพ่อและแม่

เพราะการไม่เจ็บป่วย คือ ลาภอันประเสิรฐ แต่คุณจะหลีกเลี่ยงโรคร้ายได้อย่างไร เมื่อไม่สามารถควบคุมมลภาวะทางอากาศ ส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ทราบแหล่งที่มาได้ การตรวจรหัส DNA จึงไม่ใช่แค่เพียงการตรวจผลเลือดเท่านั้นในยุคนี้ แต่ยังเข้ามาช่วยการวางแผนชีวิตของคุณอย่างปลอดภัยได้แบบองค์รวม


3 องค์ประกอบการเกิดโรคทางร่างกาย


DNA ผลลัพธ์เพื่อการดูแลเชิงป้องกันแบบเฉพาะบุคคล Personalized Health Service


การตรวจรหัส DNA เป็นรหัสพันธุกรรมที่สามารถระบุได้ถึงทุกความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเฉพาะคุณเท่านั้นที่ส่งต่อจากพ่อและแม่ ด้วยความแม่นยำ มากกว่า 99% วิเคราะห์ด้วยแลบระดับโลก มาตรฐานอเมริกา วิเคราะห์ DNA กว่า 700,000 ตำแหน่งในมากกว่า 23,000 ยีน คำนวณด้วยอัลกอริทึมตามเชื้อชาติ สามารถตรวจเพื่อวางแผนสุขภาพเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้


  • ความต้องการของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่ควรเสริม

  • ความไวของร่างกายต่ออาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต แอลกอฮอล์ กลูเตน คาเฟอีน รสชาติอาหาร ไขมันอิ่มตัว

  • ความไวต่อการติดเชื้อ เช่น โควิด-19 งูสวัด วัณโรค เริม ปอดอักเสบ ไวรัสตับอักเสบ

  • การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกาย

  • สมรรถภาพทางร่างกาย เช่น อัตราการเผาผลาญ ความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ การฟื้นฟูร่างกาย ความอ้วน ตะคริว ความยืดหยุ่นทางร่างกาย

  • ความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคมะเร็ง ตาบอดสี

  • การตอบสนองต่อยา เช่น ขนาดยาที่เหมาะสม Side effect จากยา รายชื่อยาที่เกิดอาการแพ้

  • ความไวต่อมลภาวะ เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่มือสอง มลพิษจากการจราจร โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจาก Pm2.5 โรคหอบหืดจากมลภาวะ

  • คุณลักษณะเฉพาะบุคคล เช่น การจัดการความเครียด ความต่อความรู้สึกเจ็บ การหลับลึก กลิ่นตัว การเคลื่อนไหวขณะหลับ ความไวต่อรสขม

  • สุขภาพผิวพรรณ เช่น การเป็นแแผลคีลอยด์ ความเสี่ยงต่อการเกิดสิว ผิวแห้งขาดน้ำ ผิวแตกลาย ผื่นแพ้ ฯลฯ

  • สุขภาพทางเพศ เช่น สมรรถภาพทางเพศ ต่อมลูกหมากโต ชอคโกแลตซีสต์



ความเสี่ยงโรคร้าย ที่ตรวจได้จาก DNA
ความเสี่ยงโรคร้าย ที่ตรวจได้จาก DNA


วิเคราะห์ DNA เห็นผลได้อย่างไร

DNA เปรียบเหมือนคลังเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อมา มีลักษณะเกลียวคู่คล้ายบันไดที่บิดตัวทางขวา ขั้นของบันไดนี้เองจะเกิดการจับคู่กันเกิดขึ้นของไนโตรเจนเบส

ภายใน 1 เซลล์ของร่างกาย จะมีการจับคู่ของไนโตรเจนเบสกว่า 3 พันล้านคู่ ซึ่งคนเราทุกคนมีลำดับเบสบนสาย DNA เพียง 0.1% ที่ส่งผลให้คนเราแตกต่างกัน มีผลงานค้นคว้าวิจัยพบว่าต่างทั้งทางร่างกาย สุขภาพ รูปร่าง ผิวพรรณ ความคิด ความถนัด ความเสี่ยงของการเกิดโรค เรียกว่า ‘สนิปส์’ หรือ SNPs (Single nucleotide polymorphism)



รู้จักและเข้าใจตัวเองได้ด้วยการตรวจ DNA Health & Life


Package DNA Coding Health & Life เป็นรูปแบบการใช้เทคนิคการตรวจ DNA ด้วยการนำตัวอย่างเซลล์จากน้ำลาย มาสกัดสารพันธุกรรมเพื่อให้ได้ DNA หลังจากนั้นจะทำการตรวจวิเคราะห์ความแปรผันทางพันธุกรรมของยีน


เมื่อได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จะเป็นรูปเล่มที่อธิบายผลการทดสอบความแปรผันของยีน ในหนังสือรายงานผลจะมีคำอธิบายที่อ่านทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมทั้งคำแนะนำง่ายๆ ให้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ผลสามรถนำไปประเมินความสัมพันธ์ความต้องการสารอาหาร ความไวต่ออาหาร การลดน้ำหนักที่เหมาะสม และการออกกําลังกายได้






การตรวจ DNA Health & Life เหมาะกับใคร


  • ผู้ที่มีประวัติสมาชิกครอบครัวเป็นโรคมะเร็งในอายุต่ำกว่า 50 ปี

  • ผู้ที่มีประวัติสมาชิกครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน หลอดเลือดสมองในขณะยังอายุน้อย

  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งหรือเนื้องอกที่เกิดขึ้นแล้ว

  • ผู้สนใจตรวจสุขภาพเพื่อวางแผนครอบครัว

  • ผู้ที่มีปัญหาด้านการลดน้ำหนักและการออกกำลังกาย

  • บุคคลทั่วไปที่สนใจตรวจหาความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพื่อจัดการป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่ยังสุขภาพดี ไม่เกิดโรค



ป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคจากพันธุกรรม


พร้อมเข้ารับบริการจากการเก็บตัวอย่างน้ำลาย ไม่เจ็บตัว มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิกค่ะ







Comments


bottom of page