top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

เตาปิ้งย่างที่ Hang out สุดป๊อบของเหล่า celeb เซลล์มะเร็ง

เตาปิ้งย่างที่ Hang out สุดป๊อบของเหล่า celeb เซลล์มะเร็ง
เตาปิ้งย่างที่ Hang out สุดป๊อบของเหล่า celeb เซลล์มะเร็ง


ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อนะคะ
อาหารปิ้งย่างเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูง มีรสชาติและกลิ่นที่ใครๆ
ก็ปฎิเสธได้ยากค่ะ แม้แต่เซลล์มะเร็ง
ก็มายืนรอเกาะไปกับอาหารปิ้งย่างที่เรากินเข้าไปสะสมในร่างกายเราด้วยค่ะ
 



อาหารปิ้งย่างเป็นภัยต่อร่างกายอย่างไร


การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หรือ อาหารรมควันเป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตรายหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

  • สารไนโตรซามีน (nitrosamines) ที่พบในปลาหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง และอาหารที่ใส่สารไนเตรต ซึ่งเป็นสารกันบูด เช่น แหนม ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น

  • สารพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง

  • สารพีเอเอช หรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAH : Polycyclic aromatic hydrocarbon) เป็นสารเริ่มต้นของสารกลายพันธุ์ (Premutagen) และสารเริ่มต้นของสารก่อมะเร็ง (Precarcinogen) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่ควันไฟไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม



สารพิษเหล่านี้ เกิดขึ้นขณะการปิ้งย่างอาหาร ไขมันหรือน้ำมันที่หยดลงบนเตาไฟ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ และก่อให้เกิดสาร PAH ลอยขึ้นมาพร้อมเขม่าควันเกาะไปที่ผิวของอาหาร และแน่นอนพบในปริมาณมากเมื่อคุณปิ้งย่างจนเกรียม (ส่วนที่ไหม้ดำ) หากรับประทานเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง



สารพิษ PAH เป็นสารประเภทเดียวกับที่เกิดในควันไฟ ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากโรงงาน และควันอื่นๆ ได้รับการพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่าสามารถก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง



ภาชนะและวัสดุที่ใช้ปิ้งย่างก็มีผล

 


สำหรับผู้ที่ชื่นชอบไปร้านหมูกระทะควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะในการปิ้ง ย่าง แบบลดหรือป้องกันน้ำมันหยดลงบนเตาไฟได้ เช่น เตาไฟฟ้าหรือเตาไร้ควัน เพราะสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน กรณีใช้เตาถ่านธรรมดาควรใช้ถ่านที่อัดเป็นก้อน ไม่ควรใช้ถ่านป่นละเอียด หรืออาจใช้ฟืนที่เป็นไม้เนื้อแข็งแทน เพราะการเผาไหม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และหากพบว่ามีส่วนที่ไหม้เกรียม ห้ามรับประทานให้ตัดทิ้งทันที



สำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารปิ้งย่าง ขอแนะนำให้เลือกร้านที่ได้มาตรฐานทั้งอุปกรณ์ และวัตถุดิบ ไม่ปิ้งจนไหม้เกรียม เลือกทานตามโอกาสที่เหมาะสม ไม่ถี่จนเกินไปนะคะ เพราะการรับสารพิษเข้าไปบ่อยๆ สารพิษจะสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น จนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ “ปิ้งย่างไม่บ่อย มะเร็งไม่มาค่ะ”

bottom of page