
ปัญหาหลักๆที่ผู้หญิงหลายๆคนมักพบเจออยู่บ่อยๆก็คือ ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนมาไม่ปกติ และยังมีอีกหลายคนที่ไม่เอะใจกับความผิดปกตินี้ อาจคิดว่าไม่ส่งผลอันตรายใดใด แต่จริงๆแล้วการที่ประจำเดือนขาดอาจบ่งบอกได้ถึงโรคต่างๆโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาด ประจำเดือนขาดควรทำอย่างไร

ประจำเดือนขาด คืออะไร
ประจำเดือนขาด (Amenorrhea) คือ ภาวะที่เลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่ปกติ เนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมน และภายในมดลูก หากประจำเดือนขาดเป็นระยะเวลา 3 เดือนเราจะเรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนขาดไป 1 - 3 เดือน เราจะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาด
การตั้งครรภ์ เพราะเป็นสาเหตุหลัก หากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และเคยมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนน่าที่ประจำเดือนจะขาด สามารถตรวจเบื้องต้นได้โดยใช้ที่ตรวจครรภ์ตรวจจากปัสสาวะ หรือไปพบแพทย์เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนที่สุด
ความเครียดและอารมณ์สวิง อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือขาดหายไปได้ทีละหลายๆเดือน เพราะความเครียดมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนคอติซอล (Chotisal) ซึ่งหากมีมากเกินเกณฑ์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ ประจำเดือนเคลื่อนได้
การใช้ยาคุมกำเนิด อาจทำให้ประจำเดือนมามาก มาน้อย หรือไม่มาเลยก็เป็นได้ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติประจำเดือนมาน้อย หรือมาไม่สม่ำเสมอ หรือฮอร์โมนแกว่งอยู่แล้ว ในยาคุมกำเนิดบางชนิดมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพียงอย่างเดียว เช่น ยาคุมแบบฉีด ห่วงอนามัย เป็นต้น ที่สำคัญเมื่อใช้ยาคุมเป็นเวลานานยังเสี่ยงเกิดมะเร็งได้อีกด้วย
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หากทานยาอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งตัวยามีผลต้านฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด เช่น ยาซึมเศร้า ยาต้านอาการทางจิต ยารักษาไทรอยด์ ยากันชัก ยาเคมีบำบัด ยาความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน ผลต่อประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้
เริ่มเข้าสู่วัยทอง เมื่อเข้าสู่วัยทองประจำเดือนจะหยุดมาแบบถาวร เพราะฮอร์โมนเอสโตเจน(Estrogen) จะลดน้อยลงจนหยุดผลิตทำให้ประจำเดือนเริ่มขาดช่วง และหมดประจำเดือนไปในที่สุด ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
ออกกำลังกายหนักจนเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดภาวะความเครียด (Body Stress) ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ร่างกายต้องใช้พลังงานสูงในการเผาผลาญ จึงใช้วิตามินแร่ธาตุ ไขมัน สูงกว่าปกติจากการหักโหมออกกำลังกาย
โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ในร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(Progesterone) แอนโดเจน(Androgen) และอินซูลิน(Insulin) ไม่สมดุล ส่งผลให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติจนประจำเดือนมาน้อยหรือไม่มาเลย อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ปวดท้องน้อย
ฮอร์โมนไม่สมดุล แน่นอนว่าเมื่อฮอร์โมนไม่สามารถผลิตได้อย่างปกติ จึงส่งผลให้การทำงานในส่วนของการตกไข่ การทำงานมดลูกรวน ซึ่งอาจเป็นต่อเนื่องที่เกิดจากเนื้องอกในต่อมใต้สมองหรือต่อมไทรอยด์

ประจำเดือนขาดควรทำอย่างไร
หากคุณกำลังอยู่ในช่วงประจำเดือนมาๆหายๆหรือขาดไปเป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร เป็นความผิดปกติจากส่วนไหน คุณสามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กระดับฮอร์โมนหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้
ซึ่ง ไธรฟ์ คลินิก ของแนะนำแพคเกจ Thrive Hormone Check up เป็นแพคเกจที่ครอบคลุม เพราะนอกจากจะตรวจหาความสมดุลของฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุของประจำเดือนมาไม่ปกติแล้ว ยังสามารถตรวจหาเหตุของอาการนอนไม่หลับ สุขภาพผิว สุขภาพภายในร่างกาย ปัญหาทางด้านอารมณ์ อีกด้วย