Check list สำรวจ 13 อารมณ์คุณแม่หลังคลอด
ดีใจ ปลื้มใจ
มีเรื่องน่าตื่นเต้นให้พบเจอทุกวันหลังคลอด
เหนื่อย หมดแรง นอนน้อย แต่สนุก มีความสุข
เศร้า ซึม
หงุดหงิด อ่อนไหวง่าย
ร้องไห้กับเรื่องไม่มีเหตุผล
รู้สึกไม่มีคนเข้าใจ
รู้สึกไม่มีความผูกพันกับลูก
นอนไม่หลับ
เบื่ออาหาร
ไม่มีสมาธิ รู้สึกตัดสินใจลำบาก
กังวลว่าจะเลี้ยงลูกได้ไหม
หมดแพชชั่น
เหล่าคุณแม่มี Check list เกิน 5 ข้อหรือเปล่าคะ
หากใช่ คุณอาจกำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่รู้ตัว
Thrive Short Note
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)
เศร้า ดิ่ง เครียดง่าย ร้องไห้บ่อย สับสน เบื่อหน่าย ท้อแท้ นอนไม่หลับ กินไม่ลง โดดเดี่ยว
กลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นกับเรื่องลูก
เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอย่างรวดเร็วหลังคลอดลูก
Effect ต่อ อารมณ์ ความคิด ร่างกาย
อาการคล้าย PMDD อาการเศร้าก่อนเป็นเมนส์
ไม่มียารักษา
อาการดีขึ้นได้แต่ต้องใช้เวลาให้ร่างกายปรับฮอร์โมนสักพัก
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากต้องเจอกับอาการแพ้ท้อง เดินเหินลำบากแล้ว ภาวะหลังคลอดก็เป็นอีกช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับคุณแม่หลายๆ คนเลยค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งพบเจอเหตุการณ์พิเศษนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต ดังนั้นการจะต้องเข้าใจซึ่งกระบวนการตั้งครรภ์ทุกอย่างไว้ก่อน รับรู้ในบทบาทการเป็นคุณแม่ (ที่คุณพ่อ หรือเพื่อนๆ ของคุณแม่หลังคลอดทราบ) ไว้ก็เป็นเรื่องที่ดี ให้การเผชิญเรื่องที่น่าตื่นเต้นนี้ ได้รับมือและเตรียมการณ์ในช่วงเวลาที่แสนมีค่าไปพร้อมกัน
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนทำความเข้าใจในเรื่องของฮอร์โมนที่คุณไม่อาจห้ามได้หากเกิดขึ้นในคุณแม่หลังคลอด ภาวะซึมเศร้าที่คล้ายๆ กับอารมณ์ก่อนการเป็นประจำเดือน อาการเศร้า หงุดหงิด ร้องไห้บ่อยที่ไม่ควรโทษตัวเอง ไธรฟ์จะพาคุณไปรับมือเมื่อคุณต้องรับบทคุณแม่หลังคลอด หรือเพื่อเคียงข้างกับคนรักที่ต้องอยู่ในภาวะซึมเศร้าเช่นนี้
ซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร? เป็นแบบไหน? ชวนเข้าใจไปพร้อมกัน!
ซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อาการ Baby Blues คือ ภาวะที่เกิดอารมณ์เศร้า ดิ่ง เครียดง่าย ร้องไห้บ่อย สับสน เบื่อหน่าย ท้อแท้ นอนไม่หลับ กินไม่ลง คิดแง่ลบในเรื่องที่เกี่ยวกับลูกและตามมาด้วยความรู้สึกผิด ซึ่งอาการนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Estrogen อย่างรวดเร็ว บวกกับความกังวลใจและความรับผิดชอบหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อย่าคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรมองข้ามไปได้และไม่อาจเกิดขึ้นกับคุณเลยนะคะ เพราะกว่า 50-80% ของคุณแม่เพิ่งคลอดพบเจออาการนี้หลังผ่านไป 2-5 วันค่ะ และจากงานวิจัยกว่า 80 ประเทศทั่วโลกที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature พบว่าเกิดอาการ Baby Blues มากกว่า 1 ใน 6 คน ซึ่งยังส่งผลต่อทำให้คุณแม่อาจเกิดอาการจิตเวชอื่นๆ ตามมาได้หากไม่พร้อมถึงการรับมือล่วงหน้า
อารมณ์ดี คิด Positive ก็เสี่ยงเป็นซึมเศร้าหลังคลอดได้นะ…
หากนึกภาพไม่ออกว่าหลังจากที่เฝ้ารอลูกน้อยมาตลอด 9 เดือน จะทำให้คุณนั้นเศร้าและเกิดอาการเหล่านี้ได้อย่างไรอยู่ใช่ไหมล่ะคะ? ซึ่งคุณแม่หรือครอบครัวอีกหลายๆ คน ก็คงไม่ได้รับมือล่วงหน้า
แต่คุณไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นมาในใจคุณตอนไหน ลองจินตนาการถึงอารมณ์ก่อนเป็นเมนส์ดูก็ได้ค่ะ PMDD คือ ภาวะที่ใกล้เคียงนั้น ซึ่งถ้าสาวๆ คนไหนพบเจออยู่บ่อยๆ ก็พอจะรู้ได้เลยว่า คุณห้ามให้มันเกิดไม่ได้เลย แม้จะรู้ตัวเองก็ตาม
เพราะแค่คิดว่า…คงไม่เกิดขึ้นจริง
จนพอเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินนี้ขึ้น รับมือไม่ทัน คนที่รักรอบข้างไม่เข้าใจในภาวะนี้ แก้ไขปัญหาอย่างไม่ถูกจุด พาความซึมเศร้านี้ให้แย่ลงเพราะด้วยอารมณ์ที่เข้ามาเกี่ยว ทำให้นำไปสู่การสูญเสียครั้งใหญ่ เหตุการณ์นี้มีให้เห็นและเกิดขึ้นจริงในทุกปีจนมีการจัดตั้งมูลนิธิขึ้นในหลายประเทศรวมถึงในไทยเช่นกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือป้องกันปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจังเลยล่ะค่ะ
ป้องกันอย่างไรกับ Baby Blues ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่
เข้าใจ : อันดับแรกเลยคือต้องทำความเข้าใจกับภาวะซึมเศร้านี้ก่อนค่ะ ว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นของกลไกในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้คุณวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
รับมือ : รับมือ และเตรียมพร้อมกับอาการที่อาจเกิดขึ้นไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งด้านอารมณ์และด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย หรือการตรวจเช็คร่างกาย เช็คฮอร์โมน เพื่อคาดการณ์ภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นหลังคลอดจะได้ไม่ตื่นตกใจเมื่อเกิดขึ้นจริง
สังเกตุ : คอยสังเกตุและประเมินอาการด้านอารมณ์ พฤติกรรมตัวเองอยู่เสมอๆ
มีเวลาให้ตัวเอง : หาเวลาพักระหว่างวัน มีเวลาให้คุณพักผ่อนเล็กน้อยเพื่อชาร์จพลังเพื่อรับมือกับเจ้าตัวน้อย
หาที่พึ่ง : ระบายความรู้สึก ความอึดอัดให้คนใกล้ชิดฟังบ้าง
ปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ : หากไม่สบายใจที่จะพูดให้คนใกล้ชิดฟัง การเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดก็เป็นอีกทางเรื่องที่ตรงจุด และคุณหมอยังช่วยหาสาเหตุทางด้านสุขภาพได้อีกด้วย
Thrive Hormone Check up แพ็กเกจการตรวจเพื่อหาความสมดุลฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปโดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ สุขภาพผิว คุณภาพการนอน เพราะการมีฮอร์โมนที่สมดุลไม่ใช่แค่ปรับด้านอารมณ์เท่านั้นแต่สำคัญมากพอๆ กับเรื่องสมองที่ส่งผลไปยังการทำงานในอวัยวะต่างๆ
Thrive Hormone Check up เหมาะกับใคร?
ผู้ที่ต้องการทราบความสมดุลของฮอร์โมน
ผู้ที่วางแผนการตั้งครรภ์
ผู้ที่คิดว่าตัวเองมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพผิวแห้ง มีริ้วรอย
ทำให้คุณได้ทราบถึง
ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ระดับฮอร์โมนควบคุมการตกไข่
ระดับโปรตีนขนส่งฮอร์โมนเพศ
และอีกกว่า 10 รายการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน
การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมน
ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
ตรวจช่วงวันที่ 18-25 นับจากวันที่มีรอบเดือน
รอผลตรวจ 5-7 วัน
นัดหมายเข้าฟังผล พร้อมรับคำแนะนำจากคุณหมอ 1 ชั่วโมง
Comments