top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ทำไมถึงเรียก “ช็อกโกแลตซีสต์’’ โรคนี้อันตรายอย่างไร



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...



ปวดท้องหนักแทบทนไม่ไหว เพราะซีสต์ในรังไข่



ปวดท้องประจำเดือนหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องนอนพักไปยาว ๆ บางครั้งสาเหตุการปวดท้องประจำเดือนอาจไม่ใช่เพียงแค่เพราะมดลูกบีบตัว แต่อาจเป็นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ จนอาจเกิดเป็นโรค “ช็อกโกแลตซีสต์”




โรคช็อกโกแลตซีสต์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อมีเลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับแทนที่จะไหลออกผ่านทางช่องคลอด แต่กลับขึ้นไปสู่รังไข่ เกิดเป็นการสะสมคั่งค้างของเลือดเก่าจนเป็นก้อนและฝังตัวกับมดลูก ลักษณะและสีของก้อนเลือดนี้จะมีสีคล้ายช็อกโกแลต จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของโรคช็อกโกแลตซีสต์


ช็อกโกแลตซีสต์ ยังมีอีกชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)” เพราะประจำเดือนจะเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกค่อย ๆ หนาตัวขึ้นจากฮอร์โมนเพศหญิงอย่าง Estrogen และ Progesterone เมื่อไม่เกิดการปฏิสนธิขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกสร้างขึ้นก็จะ ๆ ค่อยหลุดลอกออกมาพร้อมประจำเดือน แต่หากเลือดประจำเดือนเกิดความผิดปกติไหลย้อนไปที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อนำไข่ ลำไส้ ช่องคลอด รังไข่ บริเวณชั้นในมดลูก ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบบริเวณนั้น ๆ แต่ในส่วนใหญ่จะพบบริเวณรังไข่ เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต จึงพบโรคนี้ได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ ช่วงอายุประมาณ 30-50 ปี



ตำแหน่งของการเกิดโรคช็อกโกแลตซีสต์ในมดลูก



อาการของโรคช็อกโกแลตซีสต์


  • ปวดท้องเวลามีประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และปวดมากขึ้นทุก ๆ เดือน บริเวณตั้งแต่สะดือไปจนถึงอุ้งเชิงกราน

  • มีอาการปวดใกล้ท่อปัสสาวะ จึงทำให้มีการปัสสาวะร่วมด้วย

  • ขับถ่ายปนเลือด

  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ

  • มีอาการเหนื่อย เพลียง่าย หน้ามืด เป็นลม เพราะเลือดออกมาก

  • ลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องเสีย


	ช็อกโกแลตซีสต์ อาจนำไปสู่ภาวะเลือดออกผิดปกติในมดลูก และภาวะมีบุตรยากได้ด้วย 


วิธีการรักษาช็อกโกแลตซีสต์

หากมีลักษณะอาการปวดท้องประจำเดือนเรื้อรัง หรือไม่เคยมีอาการปวดท้องมาก่อน แล้วจู่ ๆ มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขั้นต้องหยุดงาน ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ และอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี ให้สงสัยว่าคุณอาจมีเกณฑ์เสี่ยงเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์ รีบปรึกษาแพทย์ทันที โดยวิธีการรักษาของแพทย์จะขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล เช่น การผ่าตัด การใช้ยาปรับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ



สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ Thrive Wellness Clinic













bottom of page