top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

เช็ก! เป็นสิวฮอร์โมน เกิดขึ้นซ้ำๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




ติดหวาน เครียดบ่อย สิวอุดตันเกิดซ้ำๆ คุณกำลังเจอปัญหาสิวฮอร์โมน!!


สิวที่เป็นอยู่ประจำ ทั้งหน้าแก้ม รอบปาก คาง T-zone สิวเก่ายังไม่ทันยุบสิวใหม่เริ่มบุกอีกแล้ว อาการเหล่านี้อาจเป็นสิวฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ประจำเดือน ยาคุมกำเนิด และฮอร์โมนอะไรอีกบ้าง



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนทำความเข้าใจ เรื่องสิวฮอร์โมน ที่ไม่ได้เกิดแค่ช่วงวัยรุ่น



สิวฮอร์โมน คืออะไร


สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) คือ การที่ร่างกายทำงานไม่สมดุลทำให้การหลั่งฮอร์โมนแปรปรวน ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนแอนโดรเจนในเพศชายและเพศหญิง ที่สูงขึ้นส่งผลให้กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน เกิดน้ำมันบนผิวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรียกว่า ซีบัม (Sebum) เป็นผลให้แบคทีเรียเพิ่มขึ้นไปด้วย

ฮอร์โมนยังส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงของรูขุมขนให้ขยายเปิดกว้างขึ้น เมื่อเซลล์ผิวที่ตายแล้ว บวกไขมันส่วนเกินและแบคทีเรีย P.acne ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงทำให้ง่ายต่อการอุดตันในรูขุมขน และกลายเป็นสิวในที่สุด



สิวแบบไหน เรียกสิวฮอร์โมน


1. สิวอุดตัน (Comedones) คือสิวที่มีตุ่มนูน เม็ดเล็กๆ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่

  • สิวอุดตันไม่มีหัว เกิดจากต่อมไขมันที่ผลิตใต้ผิวหนังเกิดฮอร์โมนถูกกระตุ้น จนเกิดการอุดตันในรูขุมขน

  • สิวอุดตันหัวปิด หรือสิวหัวขาว มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็กน้อย เกิดจากต่อมไขมันที่อุดตันสะสมในรูขุมขน

  • สิวอุดตันหัวดำ มีลักษณะตุ่มนูน หัวสีดำอยู่ตรงกลาง เกิดจากการผลัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เกิดสะสมอุดตันในรูขุมขน


2. สิวอักเสบ (Inflammatory acne)

  • สิวตุ่มนูนแดง (Papule) ขนาดเล็ก ไม่มีหนอง

  • สิวหัวหนอง (Pustule) มีสีแดง ที่หัวมีหนอง

  • สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule) ตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่ แข็งเป็นก้อน ไม่มีหัวสิวและหนองและไม่สามารถบีบได้ เพราะเกิดในชั้นใต้ผิวที่ค่อนข้างลึก



ปัจจัยใดบ้าง ที่ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวนจนเกิดสิว

  • ระหว่างการมีประจำเดือน ทั้งก่อนและเป็นประจำเดือน

  • ผู้ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS

  • ภาวะ Hyperandrogenism

  • ภาวะเครียด

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยกว่า 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

  • พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดี เช่น ชอบทานอาหารที่มีไขมัน ติดหวาน

  • ระหว่างการตั้งครรภ์

  • หลังจากหยุดทานยาคุมกำเนิด

  • สิวกรรมพันธุ์

สิวที่เกิดจากฮอร์โมน มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ ในช่วงเวลาเดิม บริเวณรอบริมฝีปาก คาง แนวสันกราม ลำคอ ช่วง T-zone แผ่นหลัง หน้าอก



วิธีการรักษา สิวฮอร์โมน


1. ควรเข้าพบแพทย์ เพราะปัญหาของฮอร์โมนไม่สมดุลต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรค PCOS, ซีสต์ในรังไข่

สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ผ่านการตรวจ Hormone Balance พร้อมวิธีการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Anti-Aging โดยเฉพาะ


2. หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล แป้ง โปรตีน ไขมัน เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอนุมูลอิสระ เร่งการเกิดสิวต่อผิวมากขึ้น และทำให้ร่างกายอักเสบ


3. ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 2.7 ลิตร/วัน ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายรักษาสมดุล ขับเหงื่อหรือสิ่งสกปรกออกจากรูขุมขนได้ดี ช่วยในเรื่องการขับถ่าย ขจัดสารพิษ ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา ตกค้างในลำไส้ ที่เป็นตัวการของสิว และยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน


4. ออกกำลังกายเบาๆ เช่น คาร์ดิโอ โยคะ จ๊อกกิ้ง เดินเร็ว อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เพื่อช่วยให้ร่างกายเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนแห่งความสุข คลายความเครียด


5. งดการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีความเข้มข้น เหนียวเหนอะหนะในช่วงที่เป็นประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่รูขุมนเปิดกว้าง ง่ายต่อการอุดตันในรูขุมขน


6. พักผ่อนอย่างเพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูขณะนอนหลับ ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนความเครียด ลดการกระตุ้นให้เกิดสิว และสร้างสมดุลฮอร์โมน


7. รักษาสิวด้วยการทายาที่มีวิตามินเอ (Retinoids) ที่ช่วยลดการอักเสบ ลดการอุดตันของสิว แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแห้ง และไวต่อแสง จึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนใช้


8. การฉีดสิว เพื่อช่วยลดการอักเสบของสิว ชนิดเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ที่เป็นตัวยาประเภทสเตียรอยด์ จึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์และฉีดในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดหลุมสิวได้


สิวที่เกิดเรื้อรังน่ากังวล เพราะอาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายเตือน

การตรวจเชิงลึกผ่าน Acne Solution Clear Skin Package เพื่อแก้ไขปัญหาสิวที่ต้นตอของปัญหาผิวคุณ เพราะสาเหตุของสิวเรื้อรังที่แก้ไม่หาย อาจเกิดได้จาก

  • ฮอร์โมนเพศชายสูง ผิดปกติ จนขาดความสมดุล อาจเสี่ยง PCOS : รังไข่มีซีสต์ และการหลั่งของฮอร์โมน DHEAs ที่เป็นฮอร์โมนเพศชาย กระตุ้นให้สิวเกิดง่ายขึ้น

  • กระบวนการย่อยอาหารมีปัญหา เช่น เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นสารพิษ รสจัด แพ้อาหาร เป็นประจำ อาจเกิดลำไส้รั่วดูดซึมแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อร่างกายได้รับจึงพยายามขับสารพิษออกผ่านทางรูขุมขน จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ที่เนื่องมาจากขาดวิตามินที่จำเป็น หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ


รายการตรวจ Acne Solution Clear Skin Package

Urine Organic Acid Test : การตรวจกรดอินทรีย์ในปัสสาวะ รวม 60 รายการ เพื่อตรวจดูระบบลำไส้ การย่อย การดูดซึมอาหาร และการ Detox ของเสียที่สะสมในร่างกาย รวมถึงสมดุลของแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์

Hormone : ตรวจระดับฮอร์โมน 6 รายการ ผ่านระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ฮอรืโมนความเครียด (Hormone Cortisol) ฮอร์โมนตั้งต้นของร่างกาย (DHEAs) ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ฮอร์ดมนเพศหญิง (Estradiol,Progesterone)

Vitamin & Minerals : ตรวจระดับวิตามินในร่างกาย 2 รายการ ผ่าน Zinc Vitamin D3 ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดสารต้านอนุมูลอิสระ

Inflammation : ระดับการอักเสบ 3 รายการ ผ่าน hs-CRP การอักเสบในร่างกายเพื่อดูระบบไหลเวียนของเลือด, Homocysteine ระดับการอักเสบในหลอดเลือด, ESR ค่าการอักเสบของร่างกาย


bottom of page