เล่นมือถือก่อนนอน ส่งผลอะไรกับเมลาโทนิน
check list พฤติกรรมคุณมีปัญหาเมลาโทนินในสมอง
ภาวะการนอนไม่หลับ อดนอน นอนหลับยาก
ประโยชน์ของ เมลาโทนิน แก้ปัญหาภาวะนอนไม่หลับ
ฤดูหนาว (แม้จะน้อยนิด) เวียนมาอีกครั้งแล้วนะคะ คงเป็นฤดูโปรดของหลายๆ คน หรือบางคนก็อาจจะรู้สึกเหงามากขึ้นกว่าเดิม ความจริงแล้วคุณไม่ได้คิดไปเอง ฤดูหนาวส่งผลให้เราซึมเศร้าและเหงาขึ้นเป็นเท่าตัว
คุณอาจจะนอนดึกขึ้นเรื่อยๆ การนอนตี 2 ตี 3 จึงกลายมาเป็นเวลานอนปกติที่ไม่ปกติ ปัญหาการนอนที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ชีวิตยาก ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับระบบนาฬิการ่างกายผ่านฮอร์โมน 'เมลาโทนิน' กันค่ะ
เมลาโทนิน คือ?
ร่างกายของเราดำเนินไปได้เพราะเกิดจากฮอร์โมนต่างๆ และอาการง่วงนอนก็เป็นส่วนหนึ่ง ทำไมเราต้องหลับในช่วงเวลากลางคืน ทำไมถึงเป็นช่วงกลางวันไม่ได้ ก็เป็นเพราะฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) นั่นเอง
เมลาโทนิน ถูกสร้างมาจากต่อมไร้ท่อไพเนียล (Pineal gland) ในสมอง เป็นเสมือนนาฬิกาที่ร่างกายตั้งปลุกเสมอๆ เมื่อพระอาทิตย์ตกดินเมลาโทนินจะเริ่มทำงาน ทุกๆ วันช่วงเวลา 3 ทุ่ม เมลาโทนินจะถูกหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เรารู้สึกง่วง เมลาโทนินจะมากที่สุดในช่วงเวลาก่อนตี 2 จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงจนหายไปเมื่อเวลา 9 โมงเช้า
พูดง่ายๆ ก็คือ เมลาโทนินเป็นเหมือนนาฬิกาชีวิต ที่ช่วยให้เราเข้านอนนั่นเองค่ะ

เล่นมือถือก่อนนอน ส่งผลอะไรกับเมลาโทนิน
อย่างที่ได้บอกไปว่าเมลาโทนินเสมือนถูกตั้งโปรแกรมไว้ในร่างกายเลยล่ะค่ะ เมื่อร่างกายรับรู้ได้ถึงความมืด สารเมลาโทนินก็จะเริ่มทำงาน แต่หากถูกรบกวนด้วยแสงสว่างไม่ว่าจะเป็นแสงจากโคมไฟ หรือแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือก็จะส่งผลต่อการหลั่งสารเมลาโทนินได้ เราจึงไม่รู้สึกง่วงนอน และถูกกินเวลาการพักผ่อน นานเข้าเวลาในการนอนก็ถูกเปลี่ยนจนเกิดปัญหาที่หลายคนเป็นกันเยอะมาก และพบเจอได้ทุกช่วงวัย
check list
พฤติกรรมคุณมีปัญหาเมลาโทนินในสมอง
นอนหลับตั้งแต่ตี 2 เป็นต้นไป
นอนหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับ
ตั้งใจจะนอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม แต่หลับจริงตี 4
มีอาการอ่อนเพลีย ง่วง ไม่สดชื่นเวลากลางวัน
ตกดึกรู้สึกซึมเศร้า เหงา
ภาวะการนอนไม่หลับ อดนอน นอนหลับยาก
คุณกำลังมองข้ามปัญหานี้และเวลาตี 2 เป็นต้นไปคือพฤติกรรมการนอนทุกวันของคุณอยู่หรือเปล่า? ปัญหาเรื่องการนอนหลับเป็นปัญหาที่พบบ่อยถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ถ้าคุณหลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นเร็วกว่าปกติ สมาธิลดลงอย่างมาก กลางวันมีอาการตื่นนอนรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลียตลอดวัน ส่งผลให้ชีวิตประจำวันดำเนินไปอย่างยากลำบาก

ประโยชน์ของ เมลาโทนิน แก้ปัญหาภาวะนอนไม่หลับ
เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาเรื่องภาวะนอนหลับยาก นอนไม่หลับ เกิดจากสารเมลาโทนินที่มีลดน้อยลง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับผลิตภัณฑ์เมลาโทนินจะช่วยรักษาอาการได้
บรรเทาอาการ Jet lag ผู้ที่อ่อนเพลียจากการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน
ช่วยผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเฉพาะฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder)
แก้ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมลาโทนินจะมีปริมาณน้อยลงมากในผู้สูงอายุ
ช่วยในการรักษาปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยเรื่องการนอนหลับ สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องทำงานเป็นกะ วงจรการนอนหลับต่างจากคนทั่วไป
รักษาความผิดปกติของการนอนหลับในผู้ที่ตาบอดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายจะไม่มีการรับรู้ต่อแสง
อยากเพิ่มเมลาโทนินทำอย่างไร?
เนื่องจากเมลาโทนินไม่ใช่ทั้งยาและอาหารเสริม ดังนั้นหากคุณรู้ถึงปัญหาของตัวเองแล้วว่าต้องการใช้เมลาโทนินจึงไม่สามารถหารับประทานเองได้แบบทั่วไป เพราะในประเทศไทยยังต้องมีการควบคุมผ่านแพทย์ หรือ เภสัชกรที่เชี่ยวชาญเท่านั้น
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำและทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เนื่องจากร่างกายที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก จึงมุ่งเน้นให้การรักษาแบบตรงจุด แก้ที่ต้นเหตุโดยเฉพาะ และสามารถเข้ารับบริการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเฉพาะบุคคล สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าร่างกายคุณกำลังขาดและต้องการวิตามินในส่วนไหนมากที่สุด