อาการนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงวัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ แต่ท่านสามารถป้องกันได้จากการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในช่วงเวลาเย็นหรือก่อนเข้านอน หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังพบว่าปัญหาการนอนหลับยากยังไม่หายไป อาจต้องรับประทานวิตามินหรือฮอร์โมนเพื่อไปเสริมให้การนอนหลับง่ายยิ่งขึ้น โดยฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อให้รู้สึกง่วงนอน คือ เมลาโทนิน (Melatonin)
เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร?
เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ในสมอง สารเมลาโทนินเปรียบเสมือนผู้คุมระฆังบอกเวลา โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นให้หลั่งเมลาโทนินเข้าสู่กระแสเลือด โดยร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนินออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดินทำให้เรารู้สึกง่วงนอนและระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะคงอยู่ในกระแสเลือด ติดต่อกันถึง 12 ชั่วโมง ก่อนที่ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะลดลงตอนเช้า
ประโยชน์ของเมลาโทนิน
รักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา (Delayed Sleep Phase Syndrome) เช่น มีความผิดปกติด้านการนอนหลับ หรือไม่สามารถนอนหลับได้ก่อนเวลา 2.00 น. โดยหากเสริมฮอร์โมนเมลาโทนินและปรับเวลาการนอนให้เหมาะสมจะสามารถช่วยรักษาอาการดังกล่างได้อย่างดี
รักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้บ่อยที่สุด ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยเมลาโทนิน และยังช่วยให้การนอนหลับของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
บรรเทาอาการเจ็ตแล็ก (Jet Lag) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนของเขตเวลาได้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศจะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สบายตัว ซึ่งการใช้เมลาโทนินจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
โดยปกติเมลาโทนินในรูปแบบอาหารเสริมควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมคือ 1.5-3 มิลลิกรัม/ครั้ง และไม่ควรใช้เกิน 5 มิลลิกรัม/ครั้ง เพราะอาจทำให้ส่งผลเสียตามมาดังนี้
รู้สึกปวดหัว มึนหัว
มีอาการง่วงระหว่างวัน
ปวดท้อง
วิตกกังวล
หงุดหงิดง่าย
ภาวะซึมเศร้าระยะสั้น
เมื่อคุณมีภาวะนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก อาจมีผลมาจากความเครียดสะสม ความวิตกกังวล การเสริมเมลาโทนินจะช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับของคุณได้ หากเสริมเมลาโทนิน (Melatonin) แล้วยังไม่สามารถนอนหลับได้ คุณอาจจะต้องตรวจเช็กระดับฮอร์โมน ถ้าเกิดความเครียดสะสมมากๆจนนอนไม่หลับอาจจะเป็นเพราะต่อมหมวกไตล้า จากการที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ดิซอล (Cortisol) ออกมาสู้กับความเครียดเยอะจนเกินไป ทั้งนี้หากคุณเริ่มมีอาการนอนไม่หลับคุณสามารถเข้ามาตรวจฮอร์โมนเพื่อเช็กระดับฮอร์โมนในร่างกาย หากมีความผิดปกติหรือไม่สมดุลแพทย์จะแนะนำ และออกแบบวิธีการรักษาที่เหมาะกับตัวคุณ
Package 𝐓𝐨𝐭𝐚𝐥 𝐇𝐨𝐫𝐦𝐨𝐧𝐞 ตรวจ 17 รายการ ราคา 17,190 บาท
Comments