top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

โรคกลัวขั้นรุนแรง (Phobia) คืออะไร? มีอาการอย่างไรบ้าง?



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...



กลัวรู กลัวที่แคบ กลัววันจันทร์ Phobia โรคกลัวขั้นรุนแรง ที่ห้ามไม่ได้



"ไม่ชอบเลยห้องแคบๆ ไม่มีหน้าต่าง รู้สึก มึนหัว กังวล อึดอัดมากๆ นอนไม่ได้" ความกลัวที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสาเหตุ จากโรคโฟเบียมีอะไรอีกบ้าง พร้อมเช็กตนเองเข้าข่ายความเสี่ยงโรคโฟเบีย หรือไม่?




ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาคุณทำความรู้จักโรคกลัว ที่เกิดขึ้นได้กับทุกสิ่ง ทุกสถานที่ แม้แต่ขาดโทรศัพท์มือถือ


ความกลัว เป็นเรื่องธรรมดาและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะเป็นสัญชาตญาณหนึ่งของความรู้สึกที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คิดว่าจะมาทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ร่างกายจึงตอบสนองต่อความกลัวอัตโนมัติจากระบบประสาทส่วนหน้า เช่น Hypothalamus, Hippocampus, Thalamus, Sensory Cortex, Amygdala ที่ควบคุมระบบประสาทสัมผัส และตอบสนองเตรียมพร้อมสู้จากความกลัว

ความกลัว สามารถนำไปสู่ความไม่สบายใจ ขาดความมั่นใจในตัวเอง และรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น กลัวสัตว์ร้าย กลัวความสูง กลัวความมืด แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและดีขึ้น แต่หากในกรณีรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้ส่งผลในเกิดโรคโฟเบีย ที่คนไทยเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ



โรคกลัว โรคโฟเบีย คืออะไร?


โรคกลัว (Phobia Disorder) คือ การกลัวขั้นรุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ อย่างชัดเจน เช่น กลัวเลือด กลัวสัตว์ กลัวรู กลัวสุนัข กลัวแบตโทรศัพท์มือถือหมด (Nomophobia) ซึ่งเป็นความกลัวเฉพาะอย่าง และสามารถกลัวได้มากกว่า 1 ชนิด อาจเกิดขึ้นจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และบางอย่างอาจดูไม่สมเหตุสมผล แต่เป็นสิ่งเร้าที่ส่งผลกระทบต่อความกลัว ส่งผลให้เกิดโรคเหล่านี้ตามมา

  • โรคกล้วเจ้านาย (Boss Phobia)

  • โรคกลัวการลงโทษ (Peniaphobia)

  • โรคกลัวที่ทำงาน (Workplace Phobia)

  • โรคกลัวความล้มเหลว (Atychiphobia)

  • โรคกลัวการตัดสินใจ (Decidophobia)


แม้จะเป็นโรคที่ไม่ได้ดูน่ากลัวและไม่ได้เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป แต่ภาวะเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการหวาดกลัวรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิต แค่เพียงเอ่ยถึง หรือเห็นสภาพแวดล้อมใกล้เคียงก็ส่งผลต่ออาการของโรคได้



สาเหตุของโรคกลัว (Phobia) เกิดจากอะไร


นอกจากความกลัวที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว สภาพแวดล้อม การเลี้ยง พันธุกรรม พฤติกรรมของคนใกล้ชิดก็สามารถส่งผลกระทบต่อตัวเองได้ นอกจากนี้การรับข้อมูลข่าวสารที่กระทบกระเทือนจิตใจรุนแรง ก็ส่งผลต่อความกังวลและเกิดความกลัวขึ้นเมื่อพบเจอเหตุการณ์ใกล้เคียง เช่น เสพข่าวเครื่องบินตกจนไม่กล้าขึ้นเครื่องบิน, เดินทางคนเดียวตอนกลางคืนไม่ได้ เพราะกลัวโจรปล้น เป็นต้น อีกเหตุผลที่เกิดขึ้นจากสารสื่อประสาทในร่างกาย ทำงานตอบสนองผิดปกติ ทำงานไม่สมดุล ส่งผลต่อกระบวนการรับรู้ผิดเพี้ยน



กลัวจนตัวชา หน้ามืด หมดสติ ควบคุมตัวเองไม่ได้  สัญญาณเตือน โรค phobia



เช็ก! อาการเมื่อเกิดโรคโฟเบีย

  • กล้ามเนื้อตึงทั่วร่างกาย

  • ตัวชาวูบ

  • ปวดศีรษะ

  • ใจสั่น หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง

  • มือสั่น ปากสั่น เหงื่อออก

  • ควบคุมตัวเองไม่ได้

  • อาจนำไปสู่ภาวะหมดสติ



โรคกลัวมีอะไรบ้าง ?

  1. โรคกลัวเฉพาะเจาะจง (Specific phobia) ลักษณะการกลัวที่พบได้บ่อย กลัวเป็นเฉพาะอย่าง แต่สามารถกลัวได้มากกว่า 1 ชนิด เช่น กลัวงู กลัวแมลงสาบ กลัวผีเสื้อ กลัวเลือด กลัวเข็มฉีดยา กลัวความสูง กลัวความมืด กลัวที่แคบ เป็นต้น

  2. โรคกลัวสถานการณ์ (Agoraphobia) มีความรู้สึกกลัว ไม่ปลอดภัย เมื่ออยู่ในสถานการณ์อันตรายและไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้ หรือต้องอยู่ในสถานที่ที่ไม่สบายใจ เช่น การเดินทางคนเดียว การปลีกตนเองออกจากลุ่มคน เป็นต้น

  3. โรคกลัวการเข้าสังคม (Social phobia) มีความรู้สึกกลัว ประหม่า เมื่อตนเองกำลังตกเป็นเป้าสายตา หรือถูกให้ความสนใจจากผู้อื่น เพราะกังวลว่าตนเองจะทำตัวน่าอายต่อสาธารณะ เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การพูดคุยกับคนแปลกหน้า หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็นต้น


กลัวการเข้าสังคม เก็บตัว โดเดี่ยว จนกระทบคนรอบข้าง มีแนวโน้มป่วยเพิ่ม!


โรคโฟเบีย ยังส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง ทั้ง เพื่อน ครอบครัว คนรัก และอาจขาดทักษะการเข้าสังคม จนกลายเป็นคนเก็บตัว รู้สึกโดเดี่ยว กังวลไปก่อนต่อเหตุการณ์นั้นๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคโฟเบีย จึงมีแนวโน้มของการเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ร่วมด้วย และอาจนำไปสู่ภาวะการฆ่าตัวตายได้ เพราะความเครียดที่ถูกสะสม จัดการปัญหาชีวิตไม่ได้ นอนพักผ่อนไม่เต็มที่ ขาดสารอาหาร นำไปสุ่อาการทรุดตัวจนป่วยเป็นโรคเรื้อรังในที่สุด



โรคกลัว (phobia) ดูแลตนเองและรักษาได้อย่างไรบ้าง?


หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความกลัว หากเกิดภาวะกลัวขั้นรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมร่างกายตนเองได้ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตแพทย์ เพื่อเรียนรู้วิธีรับมือกับความกลัว ทั้งด้านความคิด พฤติกรรม

โรคกลัว (Phobia) จะต้องถูกวินิจฉัยโดยแพทย์เท่านั้น และต้องไม่เกิดจากปัจจัยของโรคทางสุขภาพกาย หากสาเหตุเกิดจากสารสื่อประสาทบกพร่อง จะได้รับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันสั่งจ่ายยาเพื่อแก้สารสื่อประสาทในสมองให้ทำงานอย่างสมดุล ช่วยปรับกระบวนการคิด บล็อกร่างกายไม่ให้บกพร่อง เพราะสารสื่อประสาทในร่างกาย จะทำหน้าที่เสมือนกลไกการสื่อสารที่ถูกส่งต่อ ป้อนข้อมูลไปยังระบบต่างๆ (คล้ายเกมกระซิบส่งสาร) เมื่อเกิดบกพร่องก็จะทำให้การทำงานผิดเพี้ยนไป รับมือกับความกลัวผิดพลาด



สามารถรับคำปรึกษาพร้อมการรักษาแพทย์ทางเลือกด้าน Anti-Aging ได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก สามารถรักษาร่วมยาแผนปัจจุบันได้ค่ะ

โดยการรักษาที่ ไธรฟ์ เวลเนส จะเน้นการฟื้นฟู เสริมสร้างกระบวนการทางร่างกายด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ใช้ยา เนื่องจากยาจะเป็นการทำงานที่เข้าไปบล็อกกลไกของร่างกาย ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายเซราโทนินให้ลดลง

การรักษาลักษณะนี้จึงเป็นการเข้าไปช่วยการทำงานของระบบประสาท ลำไส้ ระดับฮอร์โมน พร้อมหาสาเหตุผ่านการตรวจเชิงลึกในระดับ Cell ที่ได้รับจาก IV Drip Vitamin หรือ Amino Acid เช่น Kidmin เหมาะสำหรับผู้ที่ดูดซึมสารอาหารไม่ได้ ร่างกายอ่อนแอผิดปกติ










bottom of page