top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

เรื่องใกล้ตัวที่น่ากลัวของสารปรอท



เรื่องใกล้ตัวที่น่ากลัวของสารปรอท
เรื่องใกล้ตัวที่น่ากลัวของสารปรอท


คลิกเลือกเนื้อหาที่สนใจ

......




‘ปรอท’ ไม่ได้พบแค่ในผู้ที่อุดฟันอมัลกัม หรือทำงานใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่อยู่รอบตัวคุณมากกว่าที่คิด ทั้งอยู่ในปลาที่คุณทาน เครื่องสำอางที่คุณแต่ง หรือเวลาที่คุณเป็นไข้



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พารู้จักอันตราย และการรู้เท่าทันเรื่องรอบตัวที่มีปรอท ให้คุณสำรวจร่างกายก่อนจะทรุดหนัก




ปรอท คืออะไร เป็นแบบไหน


เคยสังเกตแท่งปรอทวัดไข้กันไหมคะ ว่าตรงกลางบอกอุณหภูมิจะมีเป็นไส้ของเหลวสีเทาๆ ขาวๆ เงินๆ อยู่ ตรงส่วนนี้เองคือ ปรอทค่ะ ด้วยคุณสมบัติของปรอทเป็นของเหลวและสามารถเป็นของแข็งได้เมื่อแข็งตัวคล้ายกับโลหะทั่วๆ ไป และไม่เกาะติดกับวัสดุ ปรอทจึงถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตคุณในหลายๆ ด้าน แต่ก็แฝงอันตรายมาพร้อมด้วยเหมือนกันค่ะ


และเคยสังเกตกันไหมคะว่าปรอทจะต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทเสมอๆ นั่นเพราะว่าปรอทสามารถถูกดูดซึมได้ง่ายมากๆ ผ่านการหายใจ และเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็สามารถดูดซึมเข้าสู่ระบบสมองและระบบประสาทได้อย่างรวดเร็ว หากตกค้างนานๆ ก็จะกลายเป็นพิษกับร่างกายของคุณค่ะ




อันตรายจากปรอทพบได้ในไหนบ้าง


  • ยาขับปัสสาวะ และยาถ่าย

  • อาหารทะเล แต่ในปลาทะเลชนิดใหญ่จะพบมากกว่า เช่น ฉลาม ปลากระโทงดาบ ปลาอินทรี ปลาไทล์ เป็นต้น

  • ปรอทผสมกับโลหะเพื่อใช้สำหรับการอุดฟัน (ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มยกเลิกการใช้งานแล้ว)

  • ส่วนผสมของสีใช้ทาภายในบ้าน

  • ใช้ทาไม้กันมอดและเพื่อให้ของใช้แวววาว

  • เป็นส่วนประกอบกับขี้ผึ้งสำหรับขัดพื้นบ้าน ขัดเฟอร์นิเจอร์ ทาเครื่องหนังสัตว์ ขัดทารองเท้าหนัง ป้องกันเชื้อรา และกลิ่นอับ

  • เป็นส่วนผสมในยาฆ่าแมลง และฆ่าเชื้อรา

  • ถ่านไฟฉาย

  • อุตสาหกรรมผลิตทองคำ

  • ปรอทอัลคิล ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราในเมล็ดธัญพืช

  • พลาสติก

  • หลอดไฟ

  • เครื่องวัดความดันโลหิต

  • กระจกเงา

  • ในอุตสาหกรรมผลิตหมวกสักหลาด

  • ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น สวิตช์อัตโนมัติในตู้เย็นและกระแสไฟฟ้าตรง

  • ใช้ทำสีแดงในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

  • สารประกอบของปรอท ถูกนำมาผลิตยารักษาโรค



สารปรอทในถ่านไฟฉาย
สารปรอทในถ่านไฟฉาย

อาการแสดงออกเมื่อรับสารปรอท


ผลกระทบระยะสั้น

  • ปอดถูกทำลาย

  • ไอ เจ็บคอ

  • หายใจไม่ทั่วท้อง

  • เจ็บหน้าอก

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

  • ระดับความดันโลหิต หรืออัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น

  • ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน

  • รู้สึกถึงรสโลหะในปาก

  • ปวดศีรษะ

  • ชาตามร่างกาย

  • มีผื่นแดง

  • ผิวหน้าดำ

  • ผิวบาง

  • เป็นฝ้า

  • ระคายเคืองตา

  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น การได้ยิน


ผลกระทบในระยะยาว

  • ตับและไตอักเสบ

  • สมองและไตถูกทำลาย

  • โลหิตจาง

  • ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • วิตกกังวล รู้สึกประหม่า หงุดหงิด

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย สั่น ชา

  • การมองเห็น การได้ยินเปลี่ยน

  • หากหนักมากอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว



สารปรอท เรียกได้ว่าแทรกซึมอยู่ในทุกอณูของของใช้หรือแม้แต่อาหารที่เราชอบทานเลยล่ะค่ะ ซึ่งก็ไม่สามารถบ่งบอกได้แน่ชัดเลยว่าเราจะได้รับปรอทมาตั้งแต่เด็กมากขนาดไหน นอกจากผ่านการตรวจ Oligoscan ที่สามารถแสดงค่าการสะสมย้อนหลังไป 10 ปีได้ หรือแม้แต่การใช้ถ่ายไฟฉายหรือปรอทวัดไข้ใกล้ตัวที่ก็ไม่รู้ว่าสารปรอทข้างในแอบรั่วตอนไหน กระจายภายในห้องที่เก็บไว้หรือเปล่า คุณจึงจำเป็นต้องหาสาเหตุที่แน่ชัด หลังจากเช็กแล้วสามารถทำคีเลชั่นเพื่อขจัดปรอทออกจากเลือดได้ที่ ไธรฟ์ คลินิก (อ่านเพิ่มเติมเรื่องคีเลชั่นได้ที่นี่)





bottom of page