top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ทำความรู้จักสารสื่อประสาท คืออะไร



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




กลัว ตื่นเต้น หิว กินเก่ง สมาธิสั้น ซึมเศร้า เมาง่าย  ร่างกายเราสั่งการได้อย่างไร?



ที่รู้สึกกลัว ตื่นเต้น หิว กินเก่ง สมาธิสั้น ซึมเศร้า เมาง่าย เพราะการสารสื่อประสาทในสมองส่งสัญญาณการทำงานออกมาให้ร่างกายได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็น อะดรีนาลีน โดพามีน เซโรโทนิน กาบา เหล่าชื่อคุ้นหู แต่ในสมองของเรามีสารเคมีอะไรอีกบ้าง พร้อมวิธีการทำงานที่แสนสำคัญและไม่ควรบกพร่อง



รู้จักการทำงานของ สารสื่อประสาท


สารสื่อประสาท (Neurotransmitters) คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง มีลักษณะเป็นสายเชื่อมโยงระหว่างรอยต่อของช่องว่าง ที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) ซึ่งจะอยู่ที่ส่วนปลายของแอกซอน (Axon) ไปยังส่วนต้นของการรับสัญญาณ ที่เรียกว่า เดนไดรต์ (Dendrite) หรือประตูไอออน (Ion Channels) ที่จะนำพาสัญญาณประสาทผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปเชื่อมโยงได้กัน ทั้งจากเซลล์ประสาทและเซลล์ประสาท หรือ เซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อในตัวถัดไป และถูกจัดเก็บในถุงเก็บสารสื่อประสาท ที่เรียกว่า เวสสิเคิล (Vesicle) เมื่อมีการกระตุ้นโดยสัญญาณประสาทก็จะเกิดการส่งกระแสประสาทต่อกันไปเรื่อยๆ จนครบวงจรคำสั่ง

ทั้งนี้หากสารสื่อประสาทที่นำส่งสัญญาณแล้วยังคงมีค้างอยู่บริเวณรอยต่อ Axon ตัวก่อนหน้า กับ Dendrite ตัวหลัง แต่เพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แล้วจะถูกเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยถูกบรรจุไว้ที่ Vesicle หรือ เพื่อรอการส่งสัญญาณอีกครั้ง หรือนำเข้ากระบวนการเมทาบอลิซึมโดยเอนไซม์ แต่กระบวนการนี้จะไม่ถูกนำกลับมาใช้ได้อีก



ลักษณะการทำงานขอสารสื่อประสาท



สารสื่อประสาทที่สำคัญ มีอะไรบ้าง และส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย



Acetylcholine ดีต่อการเคลื่อนไหว และกล้ามเนื้อ


Acetylcholine หรือ แอซิติลโคลิน คือ สารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ รวมไปถึงความจำ สมาธิ สำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้

แอซิติลโคลิน เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่โดยอัตโนมัติ พบได้ในสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย หากมีการทำงานบกพร่อง แอซิติลโคลินสูงหรือต่ำเกินไป จะนำไปสู่โรคต่างได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน อัมพาตชั่วคราว

รับประทานอาหารกลุ่มไขมันดีและโคลีน จาก เนื้อสัตว์ ไข่ อะโวคาโด น้ำมันมะกอก นม กะหล่ำปลี บร็อคโคลี เป็นต้น จะช่วยเสริมสร้างระดับแอซิติลโคลีนในระดับต่ำได้



Glutamate เสริมสร้างการจดจำ


Glutamate หรือ กลูตาเมต เป็นสารสื่อประสาทที่กระตุ้นการทำงานของสมอง ส่งสัญญาณหลักของระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจดจำ (memory) และเสริมสร้างการเรียนรู้

หากระดับกลูตาเมตรทำงานผิดปกติ หลั่งมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อสมอง ทำลายระบบประสาท เกิดโรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคอัลไซเมอร์ โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน โรค ALS ร่วมไปถึงกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

กลูตาเมต ยังสามารถพบได้ตามธรรมชาติ ที่เป็นกรดอะมิโน เช่น มะเขือเทศ ชีส เห็ด สาหร่าย ถั่วเหลือง และเป็นที่รู้จักมากในผงชูรส



GABA ช่วยการนอนหลับ คลายวิตกกังวล


GABA หรือ กาบา สารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาท เพื่อให้เซลล์ประสาททำงานอย่างสมดุล จึงสำคัญต่อภาวะทางอารมณ์ ลดความตึงเครียด พบอยู่ได้ทั่วไปในสมอง

หากระดับของกาบาต่ำ จะส่งผลต่อความรู้สึกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ส่งผลให้เกิดโรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคซึมเศร้า สามารถเพิ่มระดับของกาบาได้ด้วยอาหาร เช่น ข้าวกล้องงอก เต้าหู้ เมลอน มะเขือเทศ ช็อกโกแลต กิมจิ ฟักทอง

นอกจากนี้กาบา ยังช่วยลดปัญหาการบกพร่องของสารสื่อประสาทอื่นๆ ได้ เช่น สาเหตุจากการเกิดโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ป้องการเกิดมะเร็ง



Dopamine สารแห่งความรัก


Dopamine หรือ โดปามีน เป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหว การสร้างความสุข ความพึงพอใจ ความรัก ถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน และสมองส่วน Hypothalamus และถูกกักเก็บไว้ที่สมองและไขสันหลัง เมื่อโดปามีนถูกหลั่งจากสมองสูงขึ้น จะส่งผลทางด้านอารมณ์ ให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิจดจ่อ และไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว แต่หากมากเกินไปจะส่งผลต่อโรคจิตเภท หากระดับโดปามีนต่ำลง หรือหยุดทำงาน จะส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด โมโห เซื่องซึม อาจนำไปสู่โรคพาร์กินสัน โรคซึมเศร้า

โดปามีน สามารถพบได้ในอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ นม ปลา ธัญพืช ถั่วเหลือง เป็นต้น และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ประมาณ 60-8- กรัม/วัน



Serotonin สารแห่งความสุขและการนอนหลับ


Serotonin หรือ เซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้ พัฒนาความคิด ความสุข เซโรโทนินจะถูกสร้างขึ้นจากสมองและลำไส้ ดังนั้น เมื่อเกิดความผิดปกติภายในลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา จึงแสดงอาการทางอารมณ์ ความรู้สึกได้ด้วย

หากระดับเซโรโทนินต่ำ จึงส่งผลในทางตรงกันข้าม คือ นำไปสู่อาการเศร้า กังวลใจ ไมเกรน นอนหลับยาก ก้าวร้าว และอาจรุนแรงถึงแนวโน้มการฆ่าตัวตาย นำไปสู่โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น

เซโรโทนิน สามารถพบได้ในกรดอะมิโนจำเป็น (สังเคราะห์ผ่าน Tryptophan) จาก นม ธัญพืช แครอท ข้าว ขนมปัง ซึ่งจะช่วยให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย สงบ สารสื่อประสาทชนิดนี้จึงถูกจัดอยู่ในประเภทยับยั้งและปรับสภาวะด้านอารมณ์



Endorphin สารระงับความเจ็บปวด


Endorphin หรือ เอนโดฟิน เป็นสารสื่อประสาทถูกสร้างขึ้นจากระบบประสาทส่วนกลางและต่อมใต้สมอง จึงส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร Endorphin มาจากคำว่า Endogenous หมายถึง ภายในร่างกาย และ Morphine หมายถึง สารบรรเทาอาการความเจ็บปวด รวมด้วยกัน

สารสื่อประสาทประเภทนี้ จึงหลั่งออกมาเพื่อจัดการอารมณ์ที่เป็นปัญหาทางร่างกาย ตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความเครียด เพื่อให้ร่างกายมีความสุข ผ่อนคลาย อิ่มอกอิ่มใจ หายเครียด และยังตอบสนองต่อความอยากอาหาร หลั่งฮอร์โมนเพศ เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้น

หากเอนโดฟินหลั่งผิดปกติ จะส่งผลด้านความจำ การนอนหลับ ที่ถูกกระตุ้นจาก ความเครียดสะสม การอดอาหาร สภาพแวดล้อม มลภาวะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นิโคติน สารเสพติด คาเฟอีน และยา และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงุดง่าย พฤติกรรมก้าวร้าว ปวดเมื่อย นอนไม่หลับ ไม่เชื่อมั่นในตนเอง น้ำหนักเกินมาตรฐาน

ร่างกายสามารถหลั่งสารเอนโดฟินตามธรรมชาติได้ จากการออกกำลังกาย การสัมผัสแสงแดด การมีเพศสัมพันธ์ การหัวเราะ การนวด นั่งสมาธิ การดมกลิ่นหอมๆ การสร้างสรรค์งานศิลปะ หรือรับประทานดาร์กช็อกโกแลต พริก เป็นต้น



วิธีดูแลตัวเองหากมีภาวะสารสื่อประสาทบกพร่อง


สารสื่อประสาทไม่สมดุล ที่บกพร่องจากระดับวิตามินและแร่ธาตุ


สารสื่อประสาทก็เหมือนกับกลไกการทำงานของอวัยวะ แต่ส่งผลทางด้านสภาวะอารมณ์ สุขภาพจิตใจเป็นหลัก ซึ่งการที่สารสื่อประสาทบกพร่องและนำไปสู่โรคทางจิตเภท จะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เท่านั้น และต้องไม่มีปัญหาโรคทางกาย

การที่ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุ ก็เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารสื่อประสาทบกพร่องด้วยเช่นกัน เพราะกลไกทางร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานจาก Vitamin B12, Vitamin B6 และ Magnesium เพื่อเสริมสร้างสารสื่อประสาท ยกตัวอย่างเช่น

อาการ Depress = ระดับ Serotonin ต่ำ

อาการวิตกกังวล = ระดับ GABA, Serotonin ต่ำ

โรคจิตเภท = ระดับ Dopamine สูง


สามารถรับคำปรึกษาพร้อมการรักษาแพทย์ทางเลือกด้าน Anti-Aging ได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก


Mental Health


โดยการรักษาที่ ไธรฟ์ เวลเนส จะเน้นการฟื้นฟู เสริมสร้างกระบวนการทางร่างกายด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ใช้ยา เนื่องจากยาจะเป็นการทำงานที่เข้าไปบล็อกกลไกของร่างกาย ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายเซราโทนินให้ลดลง

การรักษาลักษณะนี้จึงเป็นการเข้าไปช่วยการทำงานของระบบประสาท ลำไส้ ระดับฮอร์โมน พร้อมหาสาเหตุผ่านการตรวจเชิงลึกในระดับ Cell ที่ได้รับจาก IV Drip Vitamin หรือ Amino Acid เช่น Kidmin เหมาะสำหรับผู้ที่ดูดซึมสารอาหารไม่ได้ ร่างกายอ่อนแอผิดปกติ











bottom of page