top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

PMS อาการก่อนเป็นประจำเดือน คืออะไร


PMS อาการก่อนเป็นประจำเดือน

โดยปกติผู้หญิงที่มีประจำเดือนมักจะมีอาการก่อนที่ประจำเดือนจะมาอย่างน้อย 2-3 วัน ซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่คงที่ เราจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า PMS (Premenstrual Syndrome) และอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อประจำเดือนมาประมาณ 3 วัน



PMS (Premenstrual Syndrome) คืออะไร


PMS (Premenstrual Syndrome) หรือ อาการก่อนเป็นประจำเดือน คือ อาการที่มักเกิดขึ้นก่อนประจำเดือนมา ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) ในช่วงก่อนมีประจำเดือน โดยอาการเหล่านี้มักจะมีผลกระทบและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของสาวๆหลายคน เพราะอาการของ PMS จะส่งผลทางด้านร่างกายและทางด้านอารมณ์เป็นส่วนมาก



PMS อาการก่อนเป็นประจำเดือน

อาการที่พบได้บ่อยของ PMS

อาการทางด้านร่างกาย

  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

  • ปวดท้องน้อย

  • เจ็บเต้านม

  • ท้องผูกหรือท้องเสีย

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

  • มีสิวขึ้น

  • ปวดหลัง

อาการทางด้านอารมณ์

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย

  • รู้สึกเครียด ไม่มีสมาธิ

  • รู้สึกซึมเศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็กน้อย

  • รู้สึกวิตกกังวล

  • รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ หรือเบื่ออาหาร

  • นอนไม่หลับ


PMS อาการก่อนเป็นประจำเดือน

สาเหตุของ PMS นอกจากจะเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างที่มีการตกไข่เพราะระดับฮอร์โมนเพิ่มมากว่าปกติแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆร่วมด้วยดังนี้


ปัจจัยภายใน

  • การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ลดต่ำลง จะส่งผลต่อทางด้านอารมณ์และกระตุ้นให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้


ปัจจัยภายนอก

  • ตัวเราเองหรือคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวและภาวะผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea), โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder), ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression), ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder), ภาวะวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder), โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคไบโพลาร์ (Bipolar)

  • คนในครอบครัวมีประวัติของ PMS

  • พฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสจัดและอาหารแปรรูป ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย และการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการ PMS รุนแรงขึ้น


วิธีป้องกันการเกิดอาการของ PMS

  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียมและใยอาหาร เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ นม และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล ไขมันสูง และรับประทานอาหารโดยการแบ่งเป็นมื้อย่อยๆในแต่ละวัน เพื่อลดอาการท้องอืด

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและอาการซึมเศร้า เช่น เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

  • ลดความเครียด เช่น การเล่นโยคะ การนวดผ่อนคลาย หากิจกรรมที่มีความสนใจทำ


อาการของ PMS มักจะหายได้เองหลังจากมีประจำเดือน หากมีอาการปวดท้อง หงุดหงิด ยังถือว่าเป็นอาการที่ยังปกติไม่ถึงขั้นรุนแรง แต่ถ้าหากส่งผลให้เกิดความเครียดรุนแรง หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนจะแนะนำและวางแผนในการรักษา


bottom of page